สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาเจียนเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

อาเจียน

อาเจียน (Vomiting)
เมื่อผู้ป่วยมาหาด้วยเรื่องอาเจียน    ต้องแยกให้ได้ก่อนว่าเป็นอาเจียน
(vomiting) จริงหรือ เป็นอาการแหวะหรือขย้อน (regurgitation)

อาเจียน (vomiting) ต้องมีการบีบรัดอย่างแรง ทำให้ gastric con¬tents ไหลออกมา มักมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนแหวะ (regurgitation) จะเป็นหลังอาหารร่วมกับการเรอ และมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย

สาเหตุ
อาเจียนเป็นอาการแสดงที่ไม่จำเพาะของโรคของทุกระบบในร่างกาย จึงเป็นการยากที่จะให้สาเหตุไว้ได้ครบถ้วน ถ้าแบ่งตามระบบใหญ่ๆ จะได้ดังนี้

1. ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร

1.1 การอุดตัน

1.1.1 congenital ได้แก่ intestinal atresia, hypertrophic pyloric stenosis เป็นต้น

1.1.2 acguired ได้แก่    parasitic infection (ascaris), หลังการผ่าตัดในช่องท้อง, duodenal ulcer, intussusception, strangulated hernia เป็นต้น

1.2 โรคติดเชื้อ ได้แก่ acute gastroenteritis, food poisoning, hepatitis เป็นต้น

1.3 การอักเสบ ได้แก่ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน peritonitis เป็นต้น

1.4 gastroesophageal reflux ทารกจะมีอาการหลังมื้อนม หรืออาหาร โดยเฉพาะเวลาจับเรอหรือจับนอนลง ส่วนมากจะแหวะ (regurgitate) แต่บางรายมีอาการอาเจียนพุ่งได้ อาการดีขึ้นเมื่ออายุได้ 12-15 เดือน รายที่เป็นมากได้อาหารไม่เพียงพอ จะมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย อาการแทรกซ้อนที่พบได้แก่ อาการปวดท้อง และอาเจียนเป็นเลือดจาก reflux esopha¬gitis

2. ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ URI with postnasal drip and pharyngeal mucus (มีอาการตอนตื่นนอนเช้า) , อาเจียนหลังไออย่างรุนแรง เช่น โรคไอกรน, otitis media, labyrinthitis (มีอาการเวียนศีรษะร่วม) เป็นต้น

3. ระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ acute pyelonephritis, obstruc¬tive anomalies and hydronephrosis, ภาวะไตวาย, renal hypertension เป็นต้น

4. ระบบประสาท ได้แก่ increased intracranial pressure (tumor, edema, hematoma), โรคติดเชื้อ, ชัก, hydrocephalus ทั้งหมดมีอาการอาเจียนพุ่งโดยไม่มีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ยกเว้นในกรณีโรคติดเชื้อ

5. โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และความผิดปกติของเมตาบอลิสม ได้แก่ diabetic ketoacidosis, adrenal insufficiency เป็นต้น

6. ด้านจิตใจ ได้แก่ emotional disturbance, cyclic vomiting, rumination เป็นต้น

7. miscellaneous : sepsis, drugs and poisons (chronic lead poisoning), DHF, Reye’s syndrome, refractive disorders, motion sickness, poor feeding technique, food allergy เป็นต้น

ถ้าแบ่งตามอายุได้ดังนี้
กลุ่มทารกมักเป็นจาก congenital obstruction และ improper feeding technique, rumination เป็นปัญหาที่เกิดในวัยนี้เป็นผลจากความผิดปกติของความสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารก โดยจะมีอาการออกมาในรูปของการดูดปาก, ดูดนิ้วตัวเองจนขย้อนแล้วจะเคี้ยว และกลืนลงไปอีก

กลุ่มเด็กวัยก่อนเรียนมักเกิดจากโรคติดเชื้อชนิดเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร

กลุ่มเด็กวัยเรียน และวัยรุ่น นอกจากโรคติดเชื้อดังในกลุ่มวัยก่อนเรียนแล้ว ควรนึกถึงปัญหาทางด้านอารมณ์ และจิตใจ cyclic vomiting มาด้วยอาการอาเจียนอย่างรุนแรงโดยไม่พบสาเหตุ อาจร่วมกับปวดหัว ปวดท้อง และมีไข้ อาการมักเริ่มก่อนอายุ 6 ปี เป็นๆ หายๆ อาการจะหายทันทีเมื่อได้น้ำเกลือทางเส้น และหายไปเมื่อเรา puberty มักได้ประวัติไมเกรนในครอบครัว และหลายคนเป็นไมเกรนเมื่อโตขึ้น

ประวัติ
ควรซักเกี่ยวกับข้อมูลดังนี้

1. onset เป็นทันทีทันใดหรือค่อยๆ เป็น เป็นๆ หายๆ หรือไม่
2. ปริมาณและลักษณะ มีสีเขียวของน้ำดี (bilious) หรือเป็นก้อนนม (milk curd)
3. เวลาที่เป็น เวลาไหนของวัน
4. มีอาการอะไรร่วมด้วย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร และนอกระบบ เช่น ปวดท้อง ท้องร่วง ท้องผูก คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เป็นไข้ เป็นต้น
5. ประวัติครอบครัว และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาที่โรงเรียนด้วย
6. มีประวัติอดีตเคยผ่าตัดในช่องท้องหรือไม่

ตรวจร่างกาย เน้นที่การตรวจหน้าท้อง สังเกตว่ามี visible peristalsis หรือไม่  การตรวจหาไส้เลื่อน การวัดความดันโลหิต และการตรวจทางระบบประสาทถึงอาการแสดงของ increased intracranial pressure

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การส่งตรวจต้องแล้วแต่สาเหตุที่สงสัย โดยอาศัยข้อมูลจากประวัติ และการตรวจร่างกาย ในกรณีที่สงสัย gastroesophageal reflux การส่งตรวจที่ทำได้ที่คลินิก ผู้ป่วยนอกคือ upper GI series โดยต้องบ่งแก่รังสีแพทย์ว่าสงสัยอะไร

การรักษา
ต้องระลึกไว้เสมอว่า “อาเจียน” เป็นเพียงอาการเท่านั้น และเป็นอาการ ของโรคได้ทุกระบบในร่างกาย จึงต้องไม่รักษาเฉพาะอาการอาเจียนโดยไม่ค้นหาสาเหตุก่อน

1.รักษาตามสาเหตุ

2. รักษาตามอาการ

2.1 ให้อาหารอ่อนหรืออาหารเหลว หรือสารละลายอีเล็คโตรลัยท์หรือ อาจจะให้น้ำอัดลมได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงที่มีสีแดงหรือดำ เพราะจะ เข้าใจผิดว่าอาเจียนเป็นเลือดได้ และน้ำอัดลมที่มีฟองมาก มีผล ระคายเคืองต่อกระเพาะได้

2.2 ยาแก้อาเจียน (antiemetic drugs) มักใช้น้อยมากในเด็ก ที่ใช้กันอยู่คือ phenothiazine derivative ได้แก่ prome¬thazine (PhenerganR) ขนาด 1 มก./กก./วัน, metoclopamide (PlasilR) ขนาด 0.3-0.5 มก./กก./วัน แต่ต้องระวังผลข้างเคียงคือ dyskinesis และ irritability

3. รักษาทางด้านจิตใจ นับว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในกรณีมีสาเหตุมาจากทางด้านจิตใจ

สำหรับ gastroesophageal reflux ที่เป็นไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วย นอกได้ โดยแนะนำให้มารดาจับเด็กนั่งหรือครึ่งนั่งครึ่งนอน (ใช้ infant seat ถ้ามี) 45-60 นาทีหลังให้นม และให้อาหารที่ข้น โดยการผสม cereal (เช่น แป้ง) 1 ช้อนโต๊ะ ต่อนม 1 ออนซ์ แต่ถ้ามีภาวะ
ทุพโภชนาการปอดอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ควรรับไว้ในโรงพยาบาล

ข้อบ่งชี้ในการรับตัวไว้ในโรงพยาบาล
เมื่อไม่สามารถรับประทานอาหารได้เลย หรือมีภาวะขาดน้ำ หรือมีน้ำหนักลดอย่างชัดเจน, เมื่อมีข้อบ่งชี้ของโรคที่เป็นสาเหตุ และในกรณีที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้จาก การตรวจที่คลินิกผู้ป่วยนอก

ที่มา:ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า