สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

หูดหงอนไก่(Genital warts/Condyloma acuminate)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นหูที่เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ อาจติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ หรือผู้ที่ไม่รู้จักรักษาความสะอาด หรือมีสุขนิสัยที่ไม่ดี ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ มักจะเป็นหลายๆ แห่ง และมีอาการเรื้อรัง คือ ในผู้ป่วยเอดส์ หูดชนิดนี้จะมีระยะฟักตัวประมาณ 1-6 เดือน

อาการ
ผู้ป่วยจะมีหูดขึ้นเป็นติ่งเนื้องอกอ่อนๆ สีชมพูที่อวัยวะเพศ และลุกลามอย่างรวดเร็วจนมีลักณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ จึงเรียกกันว่า โรคหงอนไก่

ตรงบริเวณที่อับชื้นและอุ่นมักพบหูดชนิดนี้เกิดขึ้น และมักพบบริเวณรอบๆ ปลายองคชาตในผู้ชาย ที่เกิดตรงปลายท่อปัสสาวะพบได้เป็นส่วนน้อย ส่วนที่พบในผู้หญิงมักจะเป็นที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือปากมดลูก และอาจเกิดการลุกลามเข้าไปในท่อปัสสาวะ ทวารหนัก หรือง่ามขาได้หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา

หูดหงอนไก่อาจเจริญงอกงามและแพร่กระจายรวดเร็วในหญิงระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีอาการตกขาว อาจทำให้เด็กคลอดลำบากจากหงอนไก่ที่โตขวางทางคลอด หรืออาจทำให้เกิดหูดในกล่องเสียงเป็นเหตุให้เด็กออกเสียงหรือหายใจไม่ได้หากเชื้อเข้าไปในปากหรือคอเด็กขณะคลอด

การรักษา
ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหากไม่แน่ใจหรือสงสัย เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยแยกโรคออกจากสาเหตุของซิฟิลิส และมะเร็งในระยะแรก ถ้าการตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็นหูดหงอนไก่ควรให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

-ให้ทาด้วยยา โพโดฟิลลิน ชนิด 25% โดยใช้วาสลินทาปิดเนื้อดีรอบๆ ไว้ก่อนแล้วจึงทายา ควรล้างยาออกหลังจากทาอยู่นาน 4-6 ชั่วโมง และให้ทาซ้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย และควรเปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาอื่นถ้าเกิน 1-2 เดือนแล้วยังไม่หาย ในหญิงตั้งครรภ์ หรือหงอนไก่ที่ขึ้นบริเวณปากมดลูกหรือในท่อปัสสาวะ ห้ามใช้การรักษาด้วยวิธีนี้

-ก่อนนอนให้ทาด้วยครีมอิมิควิมด ชนิด 5% ใช้ทาวันเว้นวัน นาน 16 สัปดาห์ ในหญิงตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคที่บริเวณปากมดลูกหรือภายในช่องคลอดห้ามใช้วิธีนี้

-ในหญิงตั้งครรภ์ก็สามารถใช้ยานี้ได้ด้วยเช่นกัน คือ ให้ทาด้วย กรดไตรคลอโรอะซิติก ชนิด 50-70 %

-ใช้จี้ด้วยไฟฟ้าหรือไนโตรเจนเหลว

-การรักษาด้วยแสงเลเซอร์

-ในรายที่เป็นหงอนไก่ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ แพทย์มักจะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด

ข้อแนะนำ
1. ควรให้แพทย์ตรวจสามีหรือภรรยาของผู้ที่มีหงอนไก่และให้การรักษาไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างกัน

2. ควรส่งตรวจเลือดดูว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ถ้าพบว่ามีหงอนไก่ขึ้นหลายแห่ง หรือเป็นๆ หายๆ บ่อย

3. อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากขึ้นในผู้หญิงที่เป็นหงอนไก่ที่บริเวณปากมดลูก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเอดส์หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่หรือกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ จึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ และควรตรวจหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกปีละครั้งเป็นอย่างน้อย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า