สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สัตว์กัด (animal bite)

สัตว์กัด
สัตว์กัดเป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยเฉพาะสุนัขกัด ในที่นี้จะไม่รวมถึงงูกัดและแมลงมีพิษกัดต่อย เพราะผู้ป่วยเหล่านั้นมักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล การรักษาผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดไม่ควรมุ่งแต่เรื่องบาดแผลเท่านั้น พึงระลึกไว้เสมอว่าสัตว์นั้นอาจนำโรคบางอย่างมาสู่คนได้ ที่ สำคัญและพบบ่อยคือ โรคพิษสุนัขบ้า (rabies)

เมื่อถูกสัตว์กัดหรือข่วน ปฏิบัติดังนี้
1. ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่หลายๆ ครั้งทันที แล้วล้างสบู่ออกให้หมด

2. เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือ 70% อัลกอฮอล์ หรือ zephiran 1 : 1,000

3. ไม่ควรเย็บแผลทันที ควรรอไว้ประมาณ 3-4 วัน ถ้าจำเป็นต้องเย็บแผล เช่น เลือดออกมากหรือเพื่อความสวยงามควรเย็บหลวมๆ และใส่ท่อระบายไว้

4. ถ้าแผลสกปรก ควรให้การป้องกันโรคบาดทะยักด้วย
5. การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
5.1 ซีรั่มมี 2 ชนิด คือ
5.1.1 Rabies immune glubulin (RIG) 20 ยูนิต/กก.
5.1.2 Antirabies serum 40 ยูนิต/กก.
แบ่งฉีดรอบแผลครึ่งหนึ่งและฉีดเข้ากล้ามครึ่งหนึ่ง เราจะใช้ซีรั่มในกรณีที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดบริเวณหน้า คอ ซึ่งใกล้ศีรษะมาก บริเวณมือ แขน โดยเฉพาะปลายนิ้วมือซึ่งมีเส้นประสาทจำนวนมาก และในรายที่แผลใหญ่เหวอะหวะซึ่งมีเชื้อไวรัสจำนวนมาก ระยะฟักตัวของโรคจะสั้น

การฉีดซีรั่มไม่ควรใช้กระบอกฉีดยาอันเดียวกับของวัคซีน และควรฉีดคนละตำแหน่งให้ห่างกัน (เช่น แขนคนละข้าง) และห้ามฉีดเข้าเส้นเลือด

การล้างแผลด้วยน้ำสบู่ และยาฆ่าเชื้อเมื่อถูกสัตว์กัดมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยลดปริมาณของเชื้อลงได้มาก

5.2 วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
ที่ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิดคือ
5.2.1 Semple Rabies Vaccine ทำจากสมองแกะ ของสภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม ราคาถูก แต่อาจแพ้ ทำให้เกิดอัมพาตได้ประมาณ 1 : 2,000 ใช้ครั้งละ 2 มล.

5.2.2 Suckling Mouse Brain Rabies Vaccine (SMBV) ทำจากสมองลูกหนูแรกเกิด ผลิตจากองค์การเภสัชกรรม ได้ผลดี ราคาถูก โอกาสแพ้ประมาณ 1 : 8,000 ใช้ครั้งละ 1 มล.

5.2.3 Duck Embryo Rabies Vaccine (DEV) ทำจากการเลี้ยงเชื้อในไข่เป็ด ต้องสั่งจากต่างประเทศ ราคาแพง โอกาสแพ้ทางระบบประสาทประมาณ 1 : 25,000 ใช้ครั้งละ 1 มล.

ทั้ง 3 ชนิดนี้มักมี local reaction เกือบทุกราย ใช้ฉีด subcutaneous ควรย้ายที่ฉีดรอบสะดือ เพื่อลด reaction เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ลดขนาดลงได้ครึ่งหนึ่ง ถ้าบาดแผลไม่รุนแรงและไม่ใช่ที่แขนหรือใบหน้าอาจฉีดทุกวันจนครบ 14 วัน แล้วฉีดกระตุ้น อีก 3 ครั้งในวันที่ 10, 20, 90 หลังจากเข็มสุดท้าย รวมเป็น 17 เข็ม ถ้าให้ร่วมกับ antirabies serum หรือ RIG ควรฉีด ทุกวันจนครบ 21 เข็ม แล้วกระตุ้นอีก 3 เข็มในวันที่ 10, 20, 90 หลังจากเข็มสุดท้าย รวมเป็น 24 เข็ม

5.2.4 Human Diploid Cell Vaccine (HDCV) ทำจากการเลี้ยงเชื้อใน human diploid cell กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีไม่ต้องฉีดบ่อย ราคาแพงมาก local reaction พบร้อยละ 15-25 ปวดแดง บวม คัน ส่วนปฏิกิริยาทั่วไป พบอาการปวดศีรษะร้อยละ 5-8 คลื่นไส้ร้อยละ 2-5

นอกจากนั้นอาจพบอาการปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ มึนงง ใช้ฉีด 6 เข็ม วันที่ 0, 3, 7, 14, 30, 90 ในอเมริกาฉีดเพียง 5 เข็มก็พอ เพราะคิดว่าไม่จำเป็นเนื่องจาก antibodies ขึ้นถึง 100% แล้ว

ถ้ามีบาดแผลกว้างหรือถูกกัดใบหน้า หรือแขน ควรให้ RIG (20 ยูนิต/กก.) ร่วมด้วย เพราะให้วัคซีนอย่างเดียวอาจป้องกันไม่ทัน

5.2.5 Purified Chick Embryo Cell Rabies Vac¬cine (PCEC) เป็นวัคซีนใหม่ ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง ลูกไก่ฟัก กระตุ้นแอนติบอดีย์ได้ดีกว่า semple vac¬cine, DEV, SMBV ชัดเจน ระดับแอนติบอดีย์อยู่ใน เกณฑ์ใกล้เคียงกับ HDCV แต่ต่ำกว่า ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ราคาถูกกว่า HDCV ขนาดและวิธีใช้เหมือนกัน ปลอดภัยกว่าวัคซีนที่ทำจากสมองสัตว์ จากการศึกษา พบอาการแทรกซ้อนคือ เจ็บ บวม แดง ต่อมน้ำเหลืองโตร้อยละ 8 มีไข้ ปวดศีรษะ ร้อยละ 3 ไม่พบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ผู้ที่แพ้โปรตีนสัตว์มักมีโอกาสแพ้วัคซีนชนิดนี้ได้

ในรายที่ฉีด SMBV, Semple Vaccine หรือ DEV แล้วเปลี่ยนมาเป็น HDCV หรือ PCEC ให้ฉีดดังนี้
health-0354 - Copy
Pre-exposure: ใช้ในรายที่มีโอกาสติดโรคได้สูง เช่น สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่จับสุนัขหรือคนที่สัมผัสกับผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า หรือสุนัขที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า แต่ไม่ได้ถูกกัด แต่กลัวจะเป็นโรค
health-0354 - Copy1111

คนที่เคยฉีดครบมาก่อนถ้าถูกสุนัขบ้ากัดอาจฉีดกระตุ้นโดย ถ้าใช้ HDCV, PCEC ให้ 2 เข็ม ในวันที่ 0 และ 3 หรือถ้าใช้ DEV ให้ 6 เข็ม ให้ทุกวัน 5 เข็ม แล้วฉีดเข็มที่ 6 ในวันที่ 20 หลังเข็มที่ 5

ที่มา:สมชาย  สุนทรโลหะนะกูล, พรพิมล  พฤกษ์ประเสริฐ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า