สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

จิตศัลยกรรม

 (Psychosurgery)

ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๔๐-๑๙๔๙ ผู้ป่วยเป็นพันๆ รายได้รับการรักษาโดยการทำ leucotomy หรือการแยก white matter ด้วยเครื่องมือทู่ๆ ผ่านรูที่เจาะตรงขมับ เพื่อรักษา อาการวิตกกังวล อารมณ์เศร้า และอาการย้ำคิด แต่การกระทำนี้มักก่อให้เกิดความพิการตามมา เช่นเกิดโรคลมชัก เกิดการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพอย่างมากร่วมกับอารมณ์เฉยชา (apathy) หรือเกิดการขาดความยับยั้งชั่งใจ เพราะฉะนั้นในระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๕๙ จึงได้เลิกทำกัน จนกระทั่งเมื่อมีการดัดแปลงปรับปรุงการรักษาวิธีนี้ขึ้นมาใหม่ที่อันตรายน้อยกว่า ได้แก่วิธี Stere­otaxis จึงมีการนำวิธีทางศัลยกรรมมาใช้รักษาโรคทางจิตเวชใหม่

วิธีทำ วิธีที่ทำกันมี

๑. ตัดข้างใต้ medial third ของ orbital cortex

๒. Bimedial leucotomy ที่ fronto-thalamic bundle

๓. Cingulectomy ตัด anterior cingulate gyrus

๔. ทำให้เกิดรอยแผลโดยวิธี Stereotaxis ที่ subcaudate nucleus, amygdala, thalamus และ hypothalamus ทั้ง ๒ ข้าง

ข้อบ่งชี้ในการทำ

๑. อารมณ์ตึงเครียด ความวิตกกังวลอย่างรุนแรง อารมณ์เศร้าอย่างเรื้อรัง และอาการย้ำคิดจะได้ผลดีจากการทำศัลยกรรม

๒. ศัลยกรรมจะทำต่อเมื่อการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผลแล้ว แต่ก็ไม่ควรลังเลจนเกินไป

๓. ผู้ป่วยสูงอายุจะได้ผลดีกว่าผู้ป่วยที่อายุน้อยๆ

๔. โรค Temporal lobe epilepsy ที่ร่วมกับปัญหาทางพฤติกรรมอาจดีขึ้นจากศัลยกรรม

ความเสี่ยงในการทำ

ปัจจุบันการตายจากการผ่าตัดพบน้อย เพราะรอยแผลเล็ก รวมทั้งมีการเลือกผู้ป่วย

ผลการรักษา

ถ้าได้เลือกเฟ้นผู้ป่วยเป็นอย่างดี การรักษาจะได้ผลเป็นส่วนมาก     ที่ดีที่สุดคืออาการจะหายไปหมด แต่ถ้าการรักษาไม่ได้ผลขนาดที่กล่าวผู้ป่วยก็มักมีอาการดีขึ้น และอาจตอบสนอง ต่อการรักษาอย่างอื่นซึ่งเคยล้มเหลวมาแล้ว

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า