สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic rhinitis)

ภูมิแพ้
ผู้ป่วย allergic rhinitis จะมาพบแพทย์ด้วยอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล จาม คันจมูก บางรายมีอาการตาแดง คันตา คันในลำคอ โดยอาการเป็นเรื้อรัง มักมีอาการตอนตื่นนอนเช้า ถ้ามีอาการเฉพาะฤดูการเรียก seasonal allergic rhinitis ถ้ามีอาการตลอดทั้งปีเรียก perennial allergic rhinitis.

การวินิจฉัยโรค อาศัยหลักดังนี้
1. มีประวัติโรคภูมิแพ้ในตัวผู้ป่วยเองหรือในครอบครัว

2. มีอาการดังกล่าวข้างต้น

3. การตรวจพบเยื่อบุจมูกบวมมาก มีสีซีด หรือสีคล้ำๆ (bluish) มีน้ำมูกใสในรูจมูก นอกจากนั้นอาจตรวจพบลักษณะเฉพาะของโรคที่เรียกว่า “allergic facies” ได้แก่ allergic shiners, transverse nasal creases, allergic salute เป็นต้น

4. จำนวนอีโอสิโนฟิลในเลือดมักสูงกว่าปกติ แต่มักไม่เกินร้อยละ 10

5. จำนวนอีโอสิโนฟิลในน้ำมูกสูง มักพบสูงกว่าร้อยละ 30 บางรายอาจสูงถึงร้อยละ 70-80

6. ภาพรังสีของโพรงจมูก มักพบโพรงจมูกอักเสบ (sinusitis), เยื่อบุ ของโพรงจมูกหนา อาจพบ polyps ใน maxillary antrum หรือถ้ามีการติดเชื้อซ้ำอาจพบหนองในโพรงจมูกได้

7. การทดสอบหาสาเหตุ นอกจากการซักประวัติโดยละเอียดแล้ว การหาสาเหตุอาจทำได้โดยการทำ skin test

การรักษา
1. พยายามหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้

2. การรักษาด้วยยาเป็นการระงับอาการ ทำให้อาการคันจมูก, คัดจมูก และน้ำมูกไหลลดลง ยาที่ใช้ ได้แก่

2.1 Antihistamine เช่น
Chlorpheniramine ขนาด 0.35 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง
Brompheniramine ขนาด 0.5 มก./กก./วันแบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง

2.2 ในรายที่มีอาการคัดจมูกมาก อาจใช้ยาที่มี antihistamine และ decongestant อยู่รวมกัน เช่น triprolidine HCI และ pseudoephedrine (ActifedR) ขนาด 0.125 มก./กก./วัน ของ triprolidine แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้งหรือ brompheni¬ramine maleate, phenylephrine HCI และ phenyl¬propanolamine (DimetappR) ขนาด 0.5 มก./กก./วันของ brompheniramine แบ่งให้วันละ 3-4 ครั้ง

2.3 ในรายที่มีอาการมาก และไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยาดัง กล่าว อาจใช้ corticosteroids ชนิดออกฤทธิ์เฉพาะที่ ได้แก่ beclomethasone dipropionate (BeconaseR) พ่นเข้าในจมูก

2.4 Prophylactic drugs ใช้ในรายที่เป็นมาก และผู้ป่วยมีเศรษฐานะดี แต่อาจใช้ไม่ได้ผลทุกรายดังที่กล่าวแล้วในการรักษาโรคหืด ได้แก่ disodium cromoglycate (IntalR), ketotifen (ZaditenR)

2.5 ในรายที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น sinusitis ต้องรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม

3. การรักษาด้วย Immunotherapy ใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการมาก รักษาด้วยยาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น

ที่มา:อารียา  เทพชาตรี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า