สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงู

ประเทศไทยเป็นประเทศที่พบงูชนิดต่าง ๆ มากมายหลายชนิดมีชุกชุมอยู่ทุกภาค บางชนิดมีอันตรายโดยตรงต่อมนุษย์ บางชนิดกลับมีประโยชน์ เช่น งูทางมะพร้าว (Elaphe radiata) ซึ่งเป็นงูไม่มีพิษชอบกินหนูจึงเป็นผู้ช่วยของมนุษย์ตัวฉกาจที่ช่วยจำกัดหนู ซึ่งเป็นศัตรูทำลายพืชไร่ ส่วนงูที่มีพิษเป็น อันตรายทำให้ผู้ถูกกัดถึงตายได้ก็มี เช่น งูเห่ามีนิสัยดุ พบชุกชุมแทบทุกภาค ของประเทศ มีถิ่นอาศัยอยู่ใกล้หรือปะปนกับทำเลอาศัยของคน โอกาสที่จะ ถูกงูชนิดนี้กัดย่อมมีได้ งูเห่าบางชนิดพ่นพิษได้ ถ้าพ่นพิษเข้าตาอาจทำให้ตา เสียได้เป็นการเพิ่มอันตรายขึ้นอีกทางหนึ่ง งูเขียวหางไหม้ เป็นงูอีกกลุ่มหนึ่งที่มีผู้ถูกกัดมาก พบทุกภาคของประเทศไทย มีนิสัยดุจะฉกกัดทันทีที่เข้าชิดตัว มันแม้จะจัดอยู่ในกลุ่มงูพิษอ่อนแต่ก็มีรายงานทำให้ผู้ถูกกัดถึงแก่ความตายได้ งูแมวเซาเป็นงูพิษที่มีอันตรายร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ถูกกัดมีอาการทางระบบโลหิต และทำให้ไตพิการ งูกะปะนอกจากจะทำให้เกิดอาการทางระบบโลหิตแล้ว บางรายทำให้นิ้วมือนิ้วเท้าตายหลุดไปได้ ส่วนงูทะเลทำให้ผู้ถูกกัดเกิดไตพิการถึงแก่ความตายได้เช่นกัน

จุดประสงค์หลักที่จะให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมได้รู้จักชนิดของงูพิษที่มีถิ่นอาศัยในประเทศไทย เพื่อช่วยการวินิจฉัยผู้ป่วยถูกงูกัด การปฐมพยาบาลและ การรักษา

ในแง่อันตรายที่เกิดจากสัตว์ประเภทงูที่ทำให้ถึงแก่เสียชีวิตนั้นเกือบทั้ง สิ้นมาจากการถูกงูพิษกัด ส่วนผู้ที่ถูกงูไม่มีพิษกัด จะมีเพียงบาดแผลรอยฟันเนื่องจากงูไม่มีพิษส่วนมากมีขนาดเล็ก ฟันเล็ก ทำให้ผู้ถูกกัดมีเพียงรอยเจาะและรอยขีดข่วนของฟันเล็ก ๆ เท่านั้น เว้นแต่จะเป็นงูบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ เช่น งูเหลือม งูหลาม ซึ่งมีหัวใหญ่ ฟันใหญ่ ผู้ถูกกัดมักตกใจจะกระชากกลับ ไปทางตรงข้ามกับลักษณะฟันงูซึ่งโค้งเขา ทำให้เป็นบาดแผลใหญ่ได้ ในกรณี ที่ต้องเสียชีวิตจากงูไม่มีพิษขนาดใหญ่รัดตาย เท่าที่บันทึกเป็นหลักฐานไว้มี เพียงรายเดียว คือ เจ้าหน้าที่สวนงูแห่งหนึ่งถูกงูเหลือมรัดขาดใจ โดยเจ้าหน้าที่

ผู้นั้นจะนำอาหารไปให้มันกิน พอถือเข้าใกล้งู จากธรรมชาติของงูที่ไม่ค่อยสน ใจใช้สายตาของมันพิจารณาอะไรมากนัก เมื่อได้กลิ่นอาหารและเห็นการ เคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าต้องการฉกรัดเพื่อให้เหยื่อตายก่อนจึงจะกิน ในกรณีนี้งู รัดพันเอาตัวเจ้าหน้าที่ผู้นั้นเข้าไว้ด้วย เนื่องจากงูมีขนาดใหญ่ เจ้าหน้าที่ผู้นั้น อาจไม่แข็งแรง ไม่มีความรู้เรื่องนิสัยงูและวิธีแก้ไข หรือถึงคราวเคราะห์ร้าย จึงถูกงูรัดตัวและบริเวณคอจนถึงแก่ความตาย นอกนั้นก็มีแต่เรื่องเล่าลือว่า งูกินคน แต่หาหลักฐานยืนยันไม่ได้

งูเป็นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) Class : Reptilia, Subclass:Synaptosauria, Order : Squamata, Suborder : Serpentes จากรูปลักษณะภายนอกงูมีร่างเป็นหลอดกลมเรียวยาวส่วนใหญ่ทางหางมักจะเรียวเล็กลง ไม่มีระยางค์หรือขา งูไม่มีเปลือกตา (Eyelids) ที่เปิดปิดได้ งูไม่มีช่องหูเปิด (External ear-opening) ผิวนอกร่างห่อหุ้มด้วยผิวหนังมีเกล็ด

จากรูปลักษณะทั้งตัวของงูแล้ว ลักษณะความแตกต่าง จำนวนของเกล็ด เป็นหลักในการจำแนกชนิดของงูด้วย ซึ่งจะใช้พิจารณาจากเกล็ดหัว (ภาพที่ 4) เช่นเกล็ดบนหัวของงูในวงศ์ Elapidae จะมีขนาดใหญ่ และในวงศ์เดียวกับงูเห่า (Naja) จะมีเกล็ดกระหม่อม (Parietals) แคบกว่าของงูสามเหลี่ยม (Bungarus) เกล็ดหางตา (Posterior oculars) ของงูเห่า(Naja) จะแบ่งออก เป็น 3 ชิ้น ส่วนของงูสามเหลี่ยม (Bungarus) มีเพียง 2 ชิ้น เกล็ดบนหัวของงูวงศ์ Crotalidae คือสกุลงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) จะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ

เกล็ดตัว (Body scales) ซึ่งแยกออกเป็นกล็ดหลักและเกล็ดท้อง (Belly) มีวิธีนับเพื่อใช้ในการจำแนกกลุ่ม (ภาพที่ 2) นอกจากนั้นยังมีลักษณะต่าง ๆ ของเกล็ด เช่น เกล็ดของงูเห่า (Naja) เป็นเกล็ดเรียบ (Smooth scales) เกล็ดงูหางแฮ่ม กาญจน์ (T.kanburiensis) เป็นชนิดเกล็ดสัน (Keel scales) เกล็ดงูงวงช้าง (A.javankw) เป็นเกล็ดตุ่มเล็ก ๆ แบบของเกล็ดใต้หาง (Subcaudal) ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ประกอบด้วย เช่น เกล็ดใต้หางของงูสามเหลี่ยม (B.fasciatus) เป็นแบบเหมือนกับเกล็ดท้อง (Belly type) เกล็ดใต้หางของงูแมวเซา (V.russellii) เป็นแบบซิกแซก (Zigzag type) (ภาพที่ 6)

งูที่มีถิ่นอาศัยในประเทศไทยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ งูเหลือม (Python reliculalus) เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีสถิติยาวถึง 11 เมตร (พบในอินโดเนเซียปี ค.ศ.1974) งูพิษที่ยาวที่สุดในโลกคืองูจงอาง (Ophiophagus hannah) ยาว 5.65 เมตร (London Zoo 1948) ส่วนงูที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ งูดิน (Typhlops sp.)

งูไม่มีเปลือกตา (Eyelids) ที่เคลื่อนไหวได้ จึงทำให้งูทุกชนิดลืมตา ตลอดเวลา หลับตาไม่ได้ ตาของงูจะนูนออกมาก ทำให้มีองศาในการเห็นมากงูหลายชนิดแม้เข้าทางด้านหลังงูก็จะเห็น ตาของงูมีเกล็ดครอบทับอยู่ เกล็ด ครอบตานี้จะขาวขุ่นพร้อม ๆ กับการมีคราบแก่ ในขณะนั้นงูจะมองไม่เห็นและเป็นเวลาที่งูขดตัวนอนนิ่งไม่ไปไหน จากนั้นครอบตาก็จะเกราะตัวออกและลอกออกไปพร้อมกับคราบ (shed skin) เกล็ดครอบตานี้จะช่วยป้องกัน ในเมื่องูอยู่ในน้ำเช่นพวกงูน้ำ และช่วยป้องกันตากระทบกับสิ่งต่าง ๆ เมื่องูคุดอยู่ในดิน เช่น พวกงูดิน (Typhlops) สายตาของงูไม่ดีนัก มองเห็นไม่ได้ไกล นอกเสียจากจะเป็นงูประเภทที่ออกหากินกลางวัน เช่น งูสายม่าน (Ahaelulla) ส่วนมากงูจะใช้การสัมผัสสิ่งแวดล้อมตัวด้วยโสตทางอื่นมากกว่าการใช้ด้วยการมอง

งูไม่มีหูในการรับเสียง งูทุกชนิดไม่ปรากฏหูชั้นนอก (Pinna)ไม่มีช่องหูชั้นนอก (External ear canal) ไม่มีแก้วหู (Ear drum or Tympanic membrane) ไม่มีช่องหูชั้นกลาง (Tympanic cavity) และแม้หลอดเสียงสู่ประสาท (Eusta­chian lube) งูจึงไม่ได้ยินเสียงอะไร แต่ก็มีโสตประสาททางอื่นรับการสั่นสะ เทือนของเสียงนอกกายที่เกิดขึ้น อย่างน้อยหากการสั่นสะเทือนนั้นกระทบพื้น งูก็จะรับความสั่นสะเทือนนั้นทางเกล็ดท้อง

งูมีลิ้นเป็นสองแฉก สามารถแลบลิ้นได้ทั้ง ๆ ที่ปากหุบ เพราะมีช่องปลายปากระหว่างปากบนและปากล่าง การแลบลิ้นของงูเพื่อการสัมผัสกลิ่น โดยการผ่านสัมพันธ์กับ Jacobson’s organ.

โครงร่างของงูเป็นแบบกระดูกสันหลัง (Vertebral column) ตลอด ซึ่งมี จำนวนข้อตามแต่ชนิดของงู เราพอประมาณชิ้นของข้อกระดูกได้โดยการนับ เกล็ดท้อง (Ventral scale) เพราะแต่ละเกล็ดท้องมักจะตรงกับข้อของกระดูก

สันหลัง แต่ในรายงูทะเลอาจเป็นไปไม่ได้ เพราะงูทะเลหลายชนิดมีเกล็ดท้องไม่ตลอดทั้งตัว ทั้งนี้เพราะงูทะเลว่ายนํ้าเป็นส่วนใหญ่ ไม่ต้องมีเกล็ดท้องไว้ช่วยในการเลื้อย กระดูกสันหลังของงูจะมีส่วนกระดูกข้าง (Transverse process) ยาวในลักษณะซี่โครง (Ribs) ส่วนกระดูกข้างจะสั้นในส่วนหางยาวมากในส่วนลำตัวและบางชนิดกระดูกข้างส่วนคอจะยาวพิเศษ ซึ่งจะพบในงูชนิดที่แผ่แม่เบี้ยได้ เช่น งูเห่า (Naja) งูจงอาง (Ophiophagus Hannah) และไม่มี ส่วนของกลุ่มกระดูกไหล่ (Shoulder girdle) และกลุ่มของส่วนเชิงกราน (Pelviirdle) ในงูเหลือมงูหลาม (Python) บริเวณสองข้างทวารหนักจะมีเกล็ดติ่งแหลม (Spur) ข้างละอัน ไม่ใช่ส่วนของระยางค์ที่ปรากฏเหลืออยู่ หากแต่เป็นติ่งเกล็ดที่ใช้ประกอบการผสมพันธ์ (Courtship)

งูมีอวัยวะเพศสองอัน อยู่ในช่องที่โคนหาง และจะปล่อยออกเห็น ภายนอกขณะผสมพันธุ์โดยใช้อันหนึ่งอันใดเพียงอันเดียวเท่านั้นลักษณะของ อวัยวะเพศผู้ (Hemipenis) แตกต่างกันแต่ละชนิดของงู ดังนั้นจึงใช้พิจารณาลักษณะของอวัยวะเพศนี้ในการพิสูจน์ทราบชนิดงูได้ด้วย

การที่จะดูให้รู้ว่างูตัวใดตัวผู้ตัวใดตัวเมียจากการสังเกตจากรูปลักษณะภายนอกเท่านั้นเป็นการยาก เพราะงูในชนิดเดียวกันมักมีรูปร่างคล้ายกันทั้งตัวผู้ตัวเมียนอกจากจะพอเห็นได้ในบางชนิด ซึ่งต้องมีความชำนาญ คลุกคลีอยู่กับงูเป็นจำนวนมาก ๆ งูบางชนิดเช่น งูสิง (Plyas) งูลายสอ (Nat­ive) ตัวผู้มักตัวเรียวเล็กกว่าตัวเมีย หัวโตกว่า การที่จะสังเกตจากความแตกต่างของสีก็ยาก งูส่วนมากสีเหมือนกันทั้งตัวผู้ตัวเมีย เว้นแต่บางชนิด เช่น งูเขียวหางไหม้ข้างขาว (T.erythrums) ตัวผู้จะมีขีดขาวข้างตัว (Ventrolateral) ชัดเจน และเห็นเพียงจุดขาวหรือประขาวเป็นเเนวในตัวเมีย งูจงอางตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีส้มสดใต้คาง นอกจากนั้นอาจจะทราบจากกลิ่นโดยตัวผู้จะมีกลิ่นเฉพาะในบางชนิดจากต่อมใกล้ทวารหนัก จากเกล็ดหัวและจากจำนวนของเกล็ดใต้หาง งูตัวผู้อาจจะมีโคนหางใหญ่หรืออวบกว่าตัวเมีย เพราะบริเวณโคนหางเป็นที่อยู่ของอวัยวะเพศ แต่ถ้าเป็นไปได้หรือสามารถทำได้คือจับบีบโคนหางทางตรงบริเวณช่องเก็บอวัยวะเพศ หากตัวผู้อวัยวะเพศผู้ก็จะโผล่ออกมา หากเป็นตัวเมียก็จะเห็นช่อง Vagina บางโอกาสอาจใช้ของแหลมหรือปลายเข็มจิ้มให้งูสะดุ้งอวัยวะเพศก็จะโผล่ออกมาให้เห็น

การกินอาหารของงู งูไม่กัดฉีดกินอาหารเป็นชิ้น จะขยอกกลืนทั้งตัว เนื่องจากส่วนปลายของขากรรไกรล่าง (Symphysis of lower jaw) ของงู แยกออกจากกันเป็นอิสระไม่ติดกัน ดังนั้นงูจะขยายปากล่างออกได้มาก สามารถกลืนสัตว์อาหารตัวโต ๆ ได้ งูพิษหลายชนิด เช่น งูแมวเซา (V.russellii) จะใช้วิธีฉกกัดหรือปล่อยพิษเข้าสู่เหยื่อแล้วปล่อยให้เหยื่อซึ่งได้รับพิษไปตาย ซึ่งจากอำนาจพิษและบาดแผลรอยเขี้ยว เหยื่อจะไปตายไม่ไกลนัก แล้วจึงเลื้อยตามไปกินเหยื่อ ส่วนงูที่ไม่มีพิษ เช่น งูเหลือม (P.reticulatus) จะฉกกัดเหยื่อให้ติด และม้วนตัวเข้ารัดจนเหยื่อตายแล้วจึงเขมือบกินเหยื่อ โดยเริ่มจากทางหัวของเหยื่อก่อน ดังนั้นขาหรือปีกของเหยื่อจะหุบลู่สะดวกต่อการเขมือบกลืน

ชื่อเกล็ดหัวชองงู

R                  Rostral                                                       เกล็ดปลายปากบน

IN                 Imernasals                                              เกล็ดบนจมูก

PF                Prefrontals                                              เกล็ดนำหน้าผาก

F                   Frontal                                                      เกล็ดหน้าผาก

SO                Supraoculars                                          เกล็ดคิ้ว

PTO             Posterior oculars                                  เกล็ดหางตา

p                   Parietals                                                   เกล็ดกระหม่อม

AT               Anterior temporal                                เกล็ดขมับหน้า

PT                Posterior temporal                              เกล็ดขมับหลัง

PRO             Preoculars                                               เกล็ดหัวตา

AN               Anterior nasal                                        เกล็ดหน้าจมูก

PN                Posterior nasal                                      เกล็ดท้ายจมูก

UL               Upper labials                                           เกล็ดปากบน

LL                Lower labials                                          เกล็ดปากล่าง

D                  Dorsal shields                                         เกล็ดหลัง

V                  Ventral shields                                       เกล็ดท้อง

M                 Menial                                                        เกล็ดปลายปากล่าง

ACS             Anterior chin-shields                          เกล็ดคางหน้า

PCS             Posterior chin-shields                         เกล็ดคางหลัง

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า