สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคมะเร็งในประเทศไทยและสารก่อมะเร็งในสิ่งแวดล้อม

ที่มา:เพชรินทร์ ศรีวัฒนกุล

สถานการณ์และแนวโน้มของการเกิดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก เป็นสาเหตุการตายประมาณร้อยละ ๑๓ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่า ๖ ล้านคน ใน ปี ๒๕๓๗ มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่า ๑๘ ล้านคนและมีผู้ป่วยใหม่ประมาณ ๙ ล้านคนในทุกๆ ปี องค์การอนามัยโลกได้คาดการณไว้ว่าในปี ๒๕๖๓ ทั่วโลกจะมีคนตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่า ๑๑ ล้านคน และจะเกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนามากกว่า ๗ ล้านคนเนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานหลายปี ในการก่อให้เกิดโรค ในอนาคตประชาชนจะมีอายุ ยืนยาวขึ้น มีการควบคุมโรคติดต่อดีขึ้น ร่วมกับมี การควบคุมให้อัตราตายของทารกแรกคลอดและเด็กลดลง ทำให้โครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไป ร่วมกับมีสารก่อมะเร็งมากขึ้นในสิ่งแวดล้อม และมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มสุราและการบริโภคอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

โรคมะเร็งที่พบบ่อย ๖ อันดับแรกของโลกคือ มะเร็งปอด, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูกตามลำดับ ชนิดของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เนื่องจากปร่ะชาชนมีการเกิดโรคติดเชื้อต่างกัน ได้รับรังสีสารเคมี, มีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร, คุณสมบัติทางพันธุกรรม, การดำเนินชีวิต และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

การรักษาโรคมะเร็งที่ได้ผลจะทำให้อัตราตายจากโรคมะเร็งลดลง ในประเทศยุโรปมีเพียงมะเร็ง ๔ ชนิดในเพศชาย คือ มะเร็งอัณฑะ, กล่องเสียง, องคชาติ และโรคฮอด์จคิน เท่านั้นที่มีอัตราการอยู่รอด ๕ ปี เกินร้อยละ ๕๐ ในผู้หญิงมีมะเร็ง ๘ ชนิด คือ มะเร็งเต้านม, ปากมดลูก, ตัวมดลูก, โรคฮอด์จคิน, กล่องเสียง, ช่องปาก, ช่องคลอด, มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิย์มฟาติคเรื้อรัง ในประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราตายจากโรคมะเร็งระหว่างปี ๒๕๓๔-๒๕๓๗ ลดลงเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้น ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนาพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของอุบัติการและอัตราตายจากโรคมะเร็ง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินชีวิตตามแบบประเทศแถบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการสูบบุหรี่มากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

การป้องกันเป็นแนวทางที่ดีที่สุดที่จะลดอุบัติการและอัตราตายจากโรคมะเร็ง ทั้งในประเทศที่พัฒนาและในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ในประเทศไทย

โรคมะเร็งในประเทศไทย

การทำทะเบียนมะเร็งแบบ population – based cancer registry หรือทะเบียนมะเร็ง ประชากรคือการรวบรวมและจำแนกข้อมูลของผู้ป่วย โรคมะเร็งทั้งหมดในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง หรือในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สำคัญในการวางแผนและประเมินผลการดำเนินการป้องกันและ ควบคุมโรคมะเร็ง ทำให้ทราบถึงอัตราอุบัติการและอัตราตายของโรคมะเร็งในประชากรที่กำหนด และสามารถทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของการเกิด โรคมะเร็งกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ หรือกับประเทศต่างๆ ในโลก ถ้ามีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จะทราบแนวโน้มของอุบัติการและอัตราการอยู่รอด ของผู้ป่วยโรคมะเร็งในชุมชนนั้นๆ ทำให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในระหว่างกลุ่มอาชีพ, ศาสนา, ปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ และอื่นๆ โดยสามารถนำข้อมูลที่ได้นำมาวางแผน ในการศึกษาวิจัยแบบวิเคราะห์ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในชุมชน และนำผลการศึกษาที่ได้มาวางแผนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งในด้านการป้องกันปฐมภูมิ, ทุติยภูมิและตติยภูมิ, ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญ ในการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงาน ตามแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง และเป็นตัวชี้วัดถึงความสำคัญของปัญหาที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนของแต่ละท้องถิ่นให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

ตารางที่ ๑ อัตราอุบัติการปรับตามมาตรฐานอายุ (ASR) ต่อประชากรแสนคน

จำนวนผู้ป่วย

ASR

เพศชาย
เชียงใหม่

๓,๑๘๐

๑๔๘.๑

ลำปาง

๑,๘๓๔

๑๖๘.๓

ขอนแก่น

๓,๑๗๒

๑๗๓.๘

กทม.

๗,๒๙๒

๑๑๗.๙

สงขลา

๑,๓๕๓

๙๙.๐

เพศหญิง
เชียงใหม่

๓,๓๐๘

๑๕๖.๔

ลำปาง

๑,๖๘๑

๑๔๓.๖

ขอนแก่น

๒,๖๗๑

๑๒๗.๙

กทม.

๘,๒๘๓

๑๐๐.๕

สงขลา

๑,๒๒๕

๗๙.๐

ที่มา   Cancer in Thailand, Vol. II 1992-1994,

IARC Technical Report No. 34, Lyon, 1999.

ค่านิยม และพฤติกรรมของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นที่ไม่เหมือนกัน

ในปี ๒๕๓๕-๒๕๓๗ ได้มีรายงานสถิติการเกิดโรคมะเร็งใน ๕ จังหวัดของประเทศไทยที่มีการทำทะเบียนมะเร็งแบบ population-based cancer registry คือที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น กรุงเทพฯ และสงขลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราอุบัติการของโรคมะเร็ง (age-standardized incidence rates-ASR) พบน้อยที่สุดที่จังหวัดสงขลา ๙๙.๐ ต่อประชากรแสนคนในเพศชาย และ ๗๙.๐ ต่อประชากรแสนคนในเพศหญิง และพบมากที่สุด ๑๗๓.๘ ต่อประชากรแสนคนในเพศชายที่จังหวัดขอนแก่น ๑๕๖.๔ ต่อประชากรแสนคนในเพศหญิงที่จังหวัดเชียงใหม่ (ตารางที่ ๑) ซึ่งเมื่อนำมาหาค่าอุบัติการที่ควรจะเป็น (estimated incidence) ของโรคมะเร็งในประเทศไทยในปี ๒๕๓๖ มี ASR เป็น ๑๕๑.๓ ต่อประชากรแสนคนในเพศชาย และ ๑๒๓.๘ ต่อประชากรแสนคนในเพศหญิง และจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบใหม่ในปี ๒๕๓๖ เป็นเพศชาย ๓๒,๘๐๑ ราย และเพศหญิง ๓๐,๙๔๐ ราย ซึ่งมะเร็งที่พบใน ๑๐ อันดับแรกของประเทศไทยได้แสดงให้เห็นในรูปที่ ๑ และรูปที่ ๒

ในประเทศไทย ในเพศชายพบมะเร็งตับเป็นอันดับหนึ่ง (ASR=๓๗.๔), มะเร็งปอดเป็นอันดับที่สอง (ASR=๒๖.๕), มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นอันดับที่สาม (ASR=๑๐.๔), มะเร็งช่องปากเป็นอันดับที่สี่ (ASR=๕.๔) ส่วนในเพศหญิงพบมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับหนึ่ง (ASR=๒๐.๙), มะเร็งเต้านมเป็นอันดับที่สอง (ASR=๑๖.๓), มะเร็งตับเป็นอันดับที่สาม (ASR=๑๕.๕), มะเร็งปอดเป็นอันดับที่สี่ (ASR=๑๑.๑)

จำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่พบใหม่ทั้งหมดในปี ๒๕๓๖ ที่เป็นโรคมะเร็งตับ, ปอด, ปากมดลูก, เต้านม มีจำนวนถึง ๒๙,๖๖๑ ราย เป็นร้อยละ ๔๖.๕ ของ มะเร็งที่พบทั้งหมด

ในจังหวัดเชียงใหม่ พบมะเร็งปอดมากที่สุดในเพศชายและเพศหญิง มะเร็งตับพบเป็นอันดับสองในเพศชาย และมะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับ สองในเพศหญิง ซึ่งเป็นอุบัติการของโรคมะเร็งปากมดลูกที่สูงที่สุดใน ๕ จังหวัด (รูปที่ ๓)

ในจังหวัดลำปาง โรคมะเร็งชนิดที่พบบ่อยสิบอันดับแรกคล้ายกับของจังหวัดเชียงใหม่ และพบว่าอุบัติการของการเกิดโรคมะเร็งปอดในเพศชายสูงที่สุด (ASR เป็น ๕๔.๖ ต่อประชากรแสนคน) (รูปที่ ๔)

ในจังหวัดขอนแก่น โรคมะเร็งตับในเพศชาย พบเป็นอันดับหนึ่งมีประมาณร้อยละ ๕๐ ของโรคมะเร็งที่พบทั้งหมด และเป็นอันดับหนึ่งในเพศหญิงด้วย มีประมาณร้อยละ ๒๘ ของโรคมะเร็งที่พบทั้งหมด (รูปที่ ๕) ส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งตับที่พบในจังหวัดขอนแก่นเป็นมะเร็งท่อน้ำดีตับ

ในจังหวัดกรุงเทพมหานครในเพศชายพบโรคมะเร็งปอดเป็นอันดับหนึ่ง, มะเร็งลำไส้ใหญ่พบเป็นอันดับสอง, มะเร็งตับพบเป็นอันดับสาม ในเพศ หญิงพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นอันดับหนึ่ง มะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับสองและมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นอันดับสาม (รูปที่ ๖)

ในจังหวัดสงขลา ในเพศชายพบโรคมะเร็งปอด เป็นอันดับหนึ่ง มะเร็งช่องปากเป็นอันดับสอง และมะเร็งหลอดอาหารเป็นอันดับสาม ซึ่งพบว่าสูงที่สุด ใน ๕ จังหวัด ในเพศหญิงพบมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับหนึ่ง มะเร็งเต้านมเป็นอันดับที่สอง และมะเร็งธัยรอยด์เป็นอันดับสาม (รูปที่ ๗) มะเร็งตับ มีอุบัติการต่ำมากในจังหวัดสงขลา

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง

การเกิดโรคมะเร็งเป็นกระบวนการหลายขั้นตอน มีกลวิธานสลับซับซ้อนที่ทำให้เซลล์ปรกติกลายเป็นเซลล์มะเร็ง และมีการเปลี่ยนแปลงเติบโตเป็นก้อนมะเร็ง

สาเหตุหรือปัจจัยหลายอย่างมีส่วนร่วมกันในการที่จะทำให้คนหรือสัตว์เกิดเป็นโรคมะเร็ง คือ

(๑) ปัจจัยหลายอย่างภายในร่างกายของคนหรือสัตว์ที่เอื้ออำนวยในการทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็ง อาทิ สมบัติทางพันธุกรรม, ภาวะทางระบบภูมิต้านทานโรค, ภาวะทางโภชนาการ เป็นต้น

(๒) ปัจจัยหลายอย่างจากภายนอก คือสารก่อมะเร็งในสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมสุขภาพ และสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม มีสารก่อมะเร็งมากมายหลายชนิด อาทิ สารเคมี, บุหรี่, เหล้า, หมาก, การติดเชื้อเรื้อรัง, สารจากกระบวนการอุตสาหกรรม ฝุ่นและแร่ธาตุ อาหารและสารที่ปะปนอยู่ในอาหาร, รังสี, ยาบางชนิด และวิธีการรักษาโรคบางชนิดที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งในคนได้ด้วยกลวิธานที่ต่างกัน

โรคมะเร็งชนิดเดียวกันอาจจะเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ กัน เนื่องจากในแต่ละชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะกล่าวถึงสาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งในประเทศใด ภูมิภาคใดหรือในท้องถิ่น หรือชุมชนใด จะมีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้ การได้รับปัจจัยเสิ่ยงหลายๆ อย่างร่วมกัน จะ ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งมากขึ้นและเร็วขึ้น ซึ่งอัตราเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว (additive) หรือทวีคูณ (multiplicative effect) ก็ได้

ส่วนใหญ่ของการเกิดโรคมะเร็งมีสาเหตุมาจากการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อม จากการคาดประมาณการตายจากโรคมะเร็งของประเทศสหรัฐ อเมริกาพบว่าร้อยละ ๓๐ ของสาเหตุที่ทำให้เกิดการตายจากโรคมะเร็งเกิดจากการสูบบุหรี่ และร้อยละ ๓๐ จากปัจจัยต่างๆ ในอาหาร (nutritional fac­tors) ในประเทศไทยยังมีการศึกษาวิจัยทางวิทยาการระบาดเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดโรคมะเร็งไม่มากนัก จึงยังไม่สามารถคาดประมาณได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการทำให้เกิดโรคมะเร็งในประเทศไทย

จากผลการศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับการเกิดมะเร็งในคนและในสัตว์ทดลอง องค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer, IARC) ได้จัดแบ่งปัจจัยที่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งในคนได้เป็น ๔ กลุ่ม คือ

กลุ่ม ๑ สารก่อมะเร็งในคน (carcinogenic to humans) คือมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ระหว่างการได้รับปัจจัยเหล่านี้ และ มะเร็งในคน

กลุ่ม ๒ ก น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในคน (pro­bably carcinogenic to humans) คือมีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการได้รับปัจจัยเหล่านี้กับมะเร็ง ในคน ซึ่งอาจเป็นผลเนื่องจากมีอคติ หรือมีปัจจัยตัวกวน (confounding factors) ที่ไม่สามารถที่จะแยกออกมาอย่างชัดเจนได้ แต่มีหลักฐานเพียงพอ สำหรับการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง

กลุ่ม ๒ ข อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในคน (pos­sibly carcinogenic to humans) คือมีหลักฐานเพียงพอว่าทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ไม่มี หลักฐานเพียงพอในการเกิดมะเร็งในคน

กลุ่ม ๓ ไม่เป็นสารก่อมะเร็งในคน (not clas­sifiable as to its carcinogenicity to humans)

กลุ่ม ๔ น่าจะไม่เป็นสารก่อมะเร็งในคน (pro­bably not carcinogenic to humans)

ในปัจจุบันได้มีการศึกษาและวิจัยเป็นที่ยอมรับ โดยผู้เชี่ยวชาญแล้วว่ามีสารก่อมะเร็งมากกว่า ๖๐ ชนิด (กลุ่ม ๑) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งในคน ดังรายชื่อต่อไปนี้ (จาก IARC Monographs Vol.1-69)

สารเคมี

4-Aminobiphenyl

Arsenic and arsenic compounds

Benzene

Benzidine

Beryllium and beryllium compounds

Bis (chloromethyl) ether and chloromethyl methyl ether

Cadmium and cadmium compounds

Chromium (VI) compounds

Coal-tar pitches

Coal-tars

Ethylene oxide

Mineral oils (unrefined)

Mustard gas

2-Naphthylamine

Nickel compounds

Shale oils

2,3,7,8 -Tetrach lorodiben zo – para -dioxin (TCDD)

Vinyl chloride

การติดเชื้อเรื้อรัง

Helicobacter pylori

Hepatitis B and c viruses

Human immunodeficiency virus 1

Human T-cell lymphotrophic virus 1

Human papillomavirus types 16, 18

Liver flukes (Opisthorchis)

Schistosomes

กระบวนการอุตสาหกรรม

Aluminium production

Auramine manufacture of boot and shoe manufacture and repair

Coal gasification

Coke production

Furniture and cabinet making

Haematite mining with radon exposure

Iron and steel founding

Isopropanol manufacture (strong-acid process)

Magenta manufacture of painter (occu­pational exposure)

Rubber industry

Strong-inorganic-acid mists con­taining sulfuric acid

การใช้สารในทางที่ผิด

Alcoholic beverages

Betel quid with tobacco

Smokeless tobacco products

Tobacco smoke

ฝุ่นและใยแร่

Asbestos

Erionite

Silica, crystalline Soots

Talc containing asbestiform fibers

Wood dust

อาหารและสิ่งปนเปื้อนในอาหาร

Aflatoxins

Salted fish (Chinese-style)

รังสี

Radon and its decay products

Solar radiation

ยารักษาโรคและการรักษา

Analgesic mixtures containing phena- cetin

Azathioprine

N,N-Bis (2-chloroethyl)-2-naphthy 1 amine (chlomaphazine)

1, 4-Butanedioldimethanesulfonate (busulphan)

Chlorambucil

1 -(2-Chloroethyl)-3-(4-methyl- cyclohexyl)

-1-nitrosourea (methyl-CCU)

Cyclosporin

Cyclophosphamide

Diethylstilboestrol

Melphalan

8-Methoxypsoralen plus ultraviolet A radiation

MOPP and other combined chemo­therapy

Estrogen replacement therapy

Estrogens, non-steroidal

Estrogen, steroidal

Oral contraceptives, combined

Oral contraceptives, sequential

Tamoxifen

Thiotepa

Treosulfan

ในการศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคมะเร็ง เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษา genetic susceptibility หรือ genetic poly­morphisms ที่เกี่ยวข้องกับ metabolic enzymes ในกระบวนการเมแทบอลิสมของสารก่อมะเร็งที่ได้รับ เพื่อจะทำให้สามารถที่จะหาบุคคลที่มีความเสี่ยงโรคสูง ซึ่งถ้าได้รับสารก่อมะเร็งชนิดนั้นๆ จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง จะมีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนสำหรับการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและในการตรวจหาโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง metabolic genetic polymor­phisms หลายชนิดกับการเกิดโรคมะเร็งในคนดัง แสดงไว้ในตารางที่ ๒

ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับ metabolic genetic polymorphisms กับการเกิดโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทยด้วย เนื่องจากการเกิดโรคมะเร็งขึ้นอยู่กับปริมาณสารก่อมะเร็งที่ได้รับในสิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่างๆ ของผู้ที่ได้รับสารก่อมะเร็ง เช่น อายุเมื่อได้รับสารก่อมะเร็ง, เพศ และปัจจัยทางพันธุกรรม ในการที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยง โรคมะเร็งในคนจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเกี่ยว กับ metabolic genetic polymorphisms ร่วมด้วย

สาเหตุของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย

มะเร็งตับ

มะเร็งตับเนโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับที่หกของโลก ในปี ๒๕๓๓ พบประมาณ ๕๔๐,๐๐๐ รายเป็นร้อยละ ๕.๑ ของมะเร็งที่พบใหม่ทั้งหมด

ในประเทศไทยพบโรคมะเร็งตับเป็นอันดับหนึ่ง ในปี ๒๕๓๓ พบประมาณ ๑๑,๖๐๐ ราย โรคมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี ๒ ชนิดคือ โรคมะเร็งเซลล์ตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ ซึ่งโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ พบในชายมากกว่าหญิง ๒ เท่าขึ้นไป

การรักษาโรคมะเร็งตับยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงมีอัตราการอยู่รอดต่ำมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมีอัตราการอยู่รอด ๕ ปี เพียงร้อยละ ๖ เท่านั้น ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่นประเทศไทยมีอัตราการอยู่รอด ๕ ปีน้อยกว่าร้อยละ ๕ ในปี ๒๕๓๓ ในโลกพบว่ามีประชากรเสียชีวิต ด้วยโรคมะเร็งตับถึง ๕๓๖,๐๐๐ คน เป็นร้อยละ ๗.๕ ของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งหมด

ไวรัสตับอักเสบ บี (HBV) และ แอฟลาท็อกซิน บี๑ (AFB1) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการทำให้เกิดมะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma, HCC) ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาฟริกา (Sub-Saharan) และในผู้ที่ได้รับ HBV และ AFB1 ร่วมกันจะทำให้มีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็น HCC เพิ่มมากฃึ้นเป็นทวีคูณ

ไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งตับในประเทศญี่ปุ่นและยุโรป

สารพิษแอฟลาท็อกซินซึ่งเกิดจากเชื้อราบางชนิด (แอสเพอร์จิลลัส) พบในอาหารประเภทถั่ว, ข้าวโพด, พริกแห้ง, เป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดโรคมะเร็งตับในประเทศจีนและอาฟริกา แต่ในประเทศไทยพบว่าคนไทยได้รับสารพิษนี้ในร่างกายมีปริมาณที่ไม่มากหรือตรวจไม่พบ

ในปัจจุบันสามารถทำการตรวจหาตัวระบุชีวเคมีและโมเลกุล (biochemical และ molecular markers) ของการได้รับสาร AFB1 ได้ในร่างกาย โดยทำการตรวจหา AFB1-albumin adduct ในสีรัม และ เมแทบอไลต์ ของ AFB1 ได้ในปัสสาวะ และทำการตรวจหา AFB1-DNA adducts และ specific G to T mutation ที่ codon 249 ของ p53 gene (249 ser p53 mutation) ซึ่งเป็นผลเกิดจาก AFB 1 ในเซลล์มะเร็งตับได้ด้วย จึงสามารถทำการศึกษาตัวระบุไวรัส ตัวระบุชีวเคมี และตัวระบุโมเลกุล ในกลุ่มประชากรมาใช้ในการวางแผนสำหรับการป้องกันปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อศึกษาประชากรกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มเสี่ยงได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น

จากการศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรคมะเร็งตับในประเทศไทยพบว่า HBV เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดในการเกิดโรค HCC แต่ไวรัสตับอักเสบ ซี และ AFB1 ไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับในคนไทย ปริมาณการได้รับสาร AFB1 พบน้อยมากในเลือดและปัสสาวะของคนไทย นอกจากนี้ยังพบว่าการบริโภคผักและผลไม้สดบ่อยๆ ให้ผลป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับ

ส่วนโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ (cholangiocar- cinoma, CCA) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) อย่างแน่ชัด และอย่างน้อย ๒ ใน ๓ ส่วนของผู้ป่วย CCA ในประเทศไทยเกิดเนื่องจากพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุ และพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี การได้รับสารพิษแอฟลาท็อกซิน, การสูบบุหรี่ และประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว กับการเกิดโรค CCA. ส่วนการดื่มสุราอย่างสม่ำเสมอและการบริโภคหมาก พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค CCA.

มีประชากรประมาณ ๑๗ ล้านคนในเอเชียและยุโรปตะวันออกติดเชื้อด้วยพยาธิใบไม้ตับ Opis­thorchis viverrini และ Clonorchis sinensis. พยาธิเหล่านี้อาศัยอยู่ในท่อน้ำดีตับเป็นเวลานานหลายปีและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ

องค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (I ARC) ได้สรุปว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และชนิด ซี การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ เป็นสาเหตุประมาณ ร้อยละ ๘๐ ของการเกิดโรคมะเร็งตับทั้งหมด

ผลจากการศึกษาในหนูแฮมสเตอร์ พบว่าสาร ไนโตรสแอมีน และพยาธิใบไม้ตับ มีส่วนร่วมกันในการทำให้เกิดมะเร็งชนิด CCA, และพบว่าในคนที่มีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมีระดับของไนเตรทและ N – nitrosproline (NPRO) สูงขึ้นในปัสสาวะ และการบริโภควิตามิน ซี หลังอาหารเย็น ๒๐๐ มก. ในผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค CCA ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พบว่าในผู้ที่มีการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จะมีระดับของ NPRO ลดลงอย่างมาก แสดงให้เห็น าการสร้างสารไนโตรสแอมีนในร่างกาย (endoge­nous nitrosation) ของ proline ถูกหยุดยั้งโดยวิตามินซี

ดังนั้น การบริโภควิตามินซีหลังอาหาร มีผลในการทำให้ endogenous nitrosation ลดลงในผู้ที่มีการติดพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งควรที่จะนำไปใช้ในการป้องกันโรค CCA ในประเทศไทย

สารไนโตรสแอมีนทำให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งระบบทางเดินอาหาร พบในอาหารเนื้อสัตว์หมัก อาหารที่มีดินประสิว (ไนเตรท) และไนไตรท์ใน ปริมาณที่มากเกินไป เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาส้ม แหนม

สารไนโตรสแอมีน ที่มีอยู่ในอาหารสามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน แต่จะมีการสร้างสารไนโตรสแอมีนในร่างกายได้จากการบริโภคอาหารที่มีเกลือไนเตรทและไนโตรท์ปะปนอยู่ เช่น แหนม เบคอน ไส้กรอก เนื้อเค็ม เนื้อกระป๋อง ปลาร้า ฯลฯ

วิตามินซีสามารถป้องกันการเกิดสารไนโตรสแอมีนในร่างกายจากการบริโภคอาหารที่มีเกลือไนเตรทและไนโตรท์ปะปนอยู่ โดยเฉพาะในผู้ที่ติด เชื้อพยาธิใบไม้ตับ ดังนั้นจึงควรบริโภคผักและผลไม้สดมากขึ้นเมื่อบริโภคอาหารดังกล่าว เพื่อลดการสร้างสารไนโตรสแอมีนในร่างกาย

วิตามินซี ถูกทำลายโดยความร้อน แสง และออกซีย์เจน การบริโภคผักและผลไม้สดจะได้รับวิตามินซีมากที่สุด อาหารกระป๋องมีวิตามินซีน้อยกว่าอาหารสด จะเห็นได้ว่าวิตามินซีสามารถป้องกัน การเกิดโรคมะเร็งได้ในบางกรณีเท่านั้น ไม่ใช่ป้องกันการเกิดโรคโดยทั่วไป

การประกอบอาหารเนื้อสัตว์โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง เช่น การปิ้ง ย่าง ทอด และรมควัน จะทำให้เกิดสารก่อการกลายพันธุ์ และสารก่อมะเร็งบางชนิด เช่น benzo(a)pyrene, heterocyclic amines ซึ่งพบมากในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร แต่ปริมาณสารก่อมะเร็งในอาหารเหล่านี้ไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่ทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง และยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาการระบาดในคนที่ยืนยันว่าสามารถทำให้เกิดมะเร็งในคน แต่การที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างร่วมกันจะทำให้มีการเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้นจึงควรบริโภคอาหารปิ้ง ย่าง ทอด และรมควัน ให้น้อยลง

มะเร็งปอด

เป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในโลกและเป็นสาเหตุการตายสูงสุดด้วย ในปี ๒๕๓๓ พบประมาณ ๑.๓ ล้านคนเป็นร้อยละ ๑๒.๘ ของมะเร็งที่พบใหม่ ทั้งหมด ในประเทศไทยโรคมะเร็งปอดพบบ่อยเป็นอันดับที่สอง; ในปี ๒๕๓๓ พนประมาณ ๗,๓๐๐ ราย

อุบัติการของการเกิดโรคมะเร็งปอดและคนตายจากโรคมะเร็งปอดมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเพิ่มขึ้นของการผลิตและการขายบุหรี่ โดยมีคนสูบบุหรี่มากขึ้น

การได้รับสารแอสเบสตอส และสารเคมีจากการประกอบอาชีพ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ในตารางที่ ๓ แสดงให้เห็นสารเคมีที่ สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งในคน และในตารางที่ ๔ แสดงให้เห็นถึงอาชีพและกระบวนการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง

ในผู้ที่สูบบุหรี่จะมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น ๑๐ เท่า ในผู้ที่ได้รับสาร แอสเบสตอส จะมีอัตราการเสี่ยงเพิ่มขึ้น ๕ เท่า ในผู้ที่สูบบุหรี่และได้รับสารแอสเบสตอสร่วมด้วย จะมีอัตราการเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น ๕๕ เท่า

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคมะเร็งปอด ถ้าเริ่มสูบเมื่ออายุน้อยก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น ปริมาณของบุหรี่ที่สูบต่อวันและ ระยะเวลาของการสูบบุหรี่ถ้ามากขึ้นก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดมากขึ้น

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอดทุกชนิด พบว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์สความัส มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่มากที่สุดและชนิด อะดีโนคาร์ศิโนมามีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่น้อยที่สุด มะเร็งปอดที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อมพบว่าเป็นชนิด อะดีโนคาร์ศิโนมา

ในประเทศไทย มะเร็งปอดในเพศหญิงพบชนิด อะดีโนคาร์ศิโนมา มากที่สุด ส่วนในเพศชายพบมะเร็งเซลล์สความัส จำนวนใกล้เคียงกับ อะดีโน- คาร์ศิโนมา

การบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การบริโภคอาหารที่มีวิตามิน ซี, วิตามินอี และเสลีเนียม (selenium) อาจจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด การบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง (saturated fat) และโฆเลสเตอรอลสูง และการดื่มสุราอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปากมดลูก

พบเป็นอันดับสองของมะเร็งในผู้หญิงในโลก ในปี ๒๕๓๓ พบประมาณ ๕๒๕,๐๐๐ ราย เป็นร้อยละ ๕ ของมะเร็งทั้งหมด ในแต่ละปีทั่วโลกจะมีผู้หญิงที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๒๓๕,๐๐๐ คน ในประเทศไทยพบเป็นอันดับสามในโรคมะเร็ง รวมทั้งสองเพศ และพบเป็นมะเร็งอันดับที่หนึ่งในเพศหญิง พบประมาณ ๕,๖๐๐ รายในปี พ.ศ. ๒๕๓๓

อุบัติการของการเกิดและอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก สามารถลดลงได้โดยการทำการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก

การติดเชื้อ human papilloma viruses ทัยป์ ๑๖ และ ๑๘ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่า ๖๐ เท่าขึ้นไป IARC ได้สรุปว่าการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ๙๐ ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

การบริโภคผักและผลไม้มากขึ้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมพบมากเป็นอันดับสามในโลก พบมากที่สุดในเพศหญิง พบประมาณ ๙๑๐,๐๐๐ รายในปี ๒๕๓๓ หรือประมาณร้อยละ ๙ ของมะเร็ง ที่พบใหม่ในปีเดียวกัน ในประเทศไทยมะเร็งเต้านม พบบ่อยเป็นอันดับที่สี่ พบประมาณ ๓,๓๐๐ ราย ในปี ๒๕๓๓

การบริโภคผักและผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง (non-starch polysaccharides) และการออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่เจริญเติบโตเร็ว มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่มีบุตร (nullparity) ตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมาก วัยหมดระดูช้า (late menopause) ได้รับรังสี ionising และมีหน่วยพันธุกรรมบางชนิด (genes) ที่ผิดจากปรกติ (inheritance of mutations in specific genes including “breast cancer genes” BRCA-1, BRCA-2 และ ataxia telangiectasia gene, ATM) และการบริโภคอาหารไขมันสัตว์ และเนื้อสัตว์เนื้อแดง (red meat) มากเกินไป มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

มะเร็งลำไส้ใหญ่พบเป็นอันดับ ๔ ของโลก พบประมาณ ๘๗๕,๐๐๐ ราย ในปี ๒๕๓๓, เป็นร้อยละ ๘.๕ ของมะเร็งที่พบทั้งหมด ในประเทศไทยพบ มากเป็นอันดับที่ ๕ พบประมาณ ๓,๑๐๐ ราย ในปี ๒๕๓๓

การบริโภคผักสด อาหารที่มีกากใยสูง (non­starch polysaccharides) เช่น ผัก ผลไม้ พืช ชนิดเมล็ด เช่น ข้าว เมล็ดถั่วชนิดต่างๆ ข้าวโพด ให้มากขึ้น รวมทั้งการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การกินแอสไพริน และ NSAIDs อื่นๆ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การบริโภคน้ำตาล ไขมันสัตว์ ไข่ เนื้อสัตว์ เนื้อแดง (red meat) และเนื้อปรุงรสต่างๆ (pro­cessed meat) และเนื้อสัตว์ที่ปิ้งหรือย่างจนไหม้เกรียมมากเกินไป, การดื่มสุรา, การสูบบุหรี่, และมีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การติดเชื้อ Schistosoma sinensis, เป็น ulcerative colitis และมีหน่วยพันธุกรรม (genes) บางชนิดที่ผิดจากปรกติ เช่น APC genes และHNPCC-related DNA mismatch-repair gene จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งกระพาะอาหาร

พบมากเป็นอันดับสองในโลก พบประมาณ ๑ ล้านรายในปี ๒๕๓๓ ประมาณร้อยละ ๑๐ ของมะเร็งที่พบใหม่ทั้งหมด ในประเทศไทยพบเป็นอันดับ ๓ ในผู้ชาย

การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori, การดื่มสุรา, การบริโภคอาหารเค็มจัด, เนื้อสัตว์ที่ปิ้งหรือย่างจนไหม้เกรียม เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

Helicobacter pylori มีบทบาทสำดัญในการทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคแผลเปื่อยกระเพาะอาหาร และ กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อ H. pylori เรื้อรังจะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง ประชากรในโลกนี้มากกว่าครี่งหนึ่งอาจจะติดเชื้อด้วย H. pylori

การบริโภคผักและผลไม้ เมล็ดถั่ว ข้าวโพด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า