สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพยาธิใบไม้ในตับ Opisthorchiasis

 

พยาธิใบไม้ในตับในประเทศไทยพบบ่อยทางภาคอีสานและพบบ้างประปรายทางภาคเหนือ แต่พบได้น้อยทางภาคใต้ โดยพบมากในกลุ่มประชากรที่ประกอบอาชีพกสิกรรม เพราะชาว บ้านนิยมนำปลาที่จับได้มาทำอาหารดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่นก้อยปลา ลาบปลา ปลาร้า เป็นต้น

นอกจากนั้น สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของประชาชนในชุมชนก็มีส่วนสำคัญแพร่ ระบาดของโรคพยาธิใบไม้ในตับและโรคพยาธิอีกหลายชนิด เนื่องจากนิยมขับถ่ายอุจจาระตาม สถานที่สาธารณะหรือตามสุมทุมพุ่มไม้ เมื่อไข่ของพยาธิถูกพาไปสู่แหล่งน้ำซึ่งเป็นหนองน้ำห้วย บึง อันเป็นที่อยู่อาศัยของตัวนำตัวกลาง เช่น หอย และปลาชนิดต่างๆ การที่ประชาชนไมรู้ถึง อันตราย วงจรชีวิตของพยาธิชนิดนี้ และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จึงยังคงมีการแพร่ ระบาดอยู่ในปัจจุบัน

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

พยาธิใบไม้ในตับมีหลายชนิด แต่ละชนิดพบได้ในประเทศต่างๆ ดังนี้

– Clonorchis Sinensis พบในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม

-Opisthorchis felineus พบในกลุ่มประเทศยุโรป และรัสเชีย

-Opisthorchis viverrini พบมากในประเทศไทย ลาว และเวียดนาม พยาธิใบไม้ในตับที่พบในประเทศไทยเป็นชนิด ออพิสทอร์คิส ไวเวอร์รินิ

(Opisthorchis viverrini) ซึ่งมีขนาดประมาณ 0.8 มม. พยาธิตัวหนึ่งสามารถออกไข่ได้ 2,000 – 4,000 ฟองต่อวัน แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีของตับ รวม ทังสัตว์ที่เป็นตัวกลาง เช่น หอยและปลา นอกจากนั้นสัตว์ที่เป็นตัวกักตุนโรคและมีอัตราเป็น ใกล้เคียงกับมนุษย์คือสุนัขและแมว

การติดต่อ ระยะติดต่อ วงจรชีวิต ตัวแก่ของพยาธิใบไม้ในตับ จะอาศัยอยู่ในถุงน้ำดีและท่อน้ำดีของตับมนุษย์หรือสัตว์ เช่น สุนัข แมว เมื่อผสมพันธุ์กันและออกไข่ ไข่จะออกมา กับน้ำดีลงสู่ลำไส้และถูกขับออกมาพร้อมอุจจาระไข่ที่มีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ภายในเรียกว่า ไมราซิเดียม (Miracidium)  เมื่อลงสู่แหล่งน้ำหอยจะกินไข่หรือไมราซิเดียมเข้าไป หอยที่เป็นตัวกลางนำโรคหรือโฮสต์ กึ่งกลางตัวที่หนึ่ง (First intermediate host) ที่พบไปในประเทศไทย มี 3 ชนิด คือ

1 .bithynina (digoniostoma) siamensis siamensis พบได้ในภาคกลาง

2. bithynina  (digoniostoma) goniomphalos พบได้ในภาคตะกันออกเฉียงเหนือ

3. bithynina  (digoniostoma) funiculata พบได้ในภาคเหนือ

ตัวอ่อนที่เข้าไปอาศัยอยู่ในหอยจะฟักตัวออกมาแล้วเจริญเติบโตเป็นสปอร์โรซิสต์(sporocyst) เรเดีย (redia) เซอร์คาเรีย (cercaria) ตามลำดับ คือภายในสปอร์โรซิสต์จะเจริญเติบโตเป็น เรเดียจำนวนมาก และเรเดียแต่ละตัวจะเจริญต่อไปกลายเป็นเซอร์คาเรียซึ่งมีลักษณะหางยาว และมีครีบ

ต่อมาเซอร์คาเรียจะออกจากหอยไปฝังตัวในเนื้อปลา โดยว่ายน้ำเข้าไปอยู่ในปลาน้ำจืด ที่มีเกล็ด ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำโรคที่สองต่อจากหอย ต่อมาเซอร์คาเรียจะไชเข้าไปใต้เกล็ดและเนื้อปลา แล้วสลัดหางทิ้ง และมีถุงมาหุ้มตัว ระยะเวลาตั้งแต่หอยกินไข่จนเซอร์คาเรียไชออกจากหอยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

เซอร์คาเรียที่อยู่ในถุงหุ้มจะเจริญเติบโต แลเปลี่ยนแปลงรูปร่างกลายเป็น เมตาเซอร์คาเรีย (Metacercaria) ภายในเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะติดต่อ (Infectivestage) เมื่อคนกินปลาดิบหรือเนื้อปลาที่ปรุงสุกๆดิบๆ เช่น ก้อยปลา ปลาส้มหรือปลาจ่อม เมตาเซอร์คาเรียจะลงไปถึงลำไส้เล็กส่วน ดูโอนินัม ถุงหุ้มตัวจะถูกย่อย ตัวอ่อนจึงออกจากถุง เดินทางไปยังตับ ไปอาศัยอยู่ในทางเดินของท่อน้ำดี และถุงน้ำดี แล้วเจริญเติบโตเป็นตัวแก่เป็น วัฏจักรดังกล่าวมาแล้ว

ปลาน้ำจืดที่มีพยาธิชนิดนี้ได้แก่ ปลาแม่สะแด้ง ปลาขาว ปลาไน และปลาในตะกูล ปลาตะเพียน เช่น ปลาสร้อยนกเขา ปลากระสูบ ปลากะมัง เป็นต้น เมตาเซอร์คาเรีย (ตัวอ่อน ของพยาธิชนิดนี้ในระยะติดต่อ) ในปลาจะพบมากที่บริเวณ หัว หาง และกล้ามเนื้อหาง แต่จะพบจำนวนน้อยที่ครีบ กล้ามเนื้อครีบ ทวารหนักของปลา ดังนั้นเมื่อนำส่วนหัว หาง และก้าง ปลาไปให้สุนัขและแมวกิน สัตว์ทั้งสองชนิดจึงมีโอกาสเป็นโรคใบไม้ในตับ และเป็นสัตว์กักตุนโรคดังกล่าวมาแล้ว

ระยะเวลาตั้งแต่กินเนื้อปลาดิบทีมีเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปจนเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในตับ และตรวจพบไข่ในอุจจาระ ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน

วงจรชีวิตของพยาธิใบไม้ในตับ จะครบวงจรชีวิตได้ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน

ระยะฟักตัวของโรค ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิที่มีอยู่ในท่อน้ำดีหลังจากที่คนรับประทานตัวอ่อนพยาธิเข้าไปแล้วเจริญเป็นพยาธิตัวแก่ กินเวลาประมาณ 16-25 วัน

ระยะติดต่อของโรค ตราบเท่าที่มีพยาธิตัวแก่อยู่ในร่างกายและผลิตไข่ออกมา บางคนพยาธิอาจปล่อยไข่ออกมากินเวลานานถึง 30ปี แต่ไม่มีการติดต่อโดยตรงจากมนุษย์ไปสู่มนุษย์

ความไวและความต้านทานโรค ทุกคนเมื่อได้รับพยาธิตัวอ่อนเข้าสู่ร่างกายมี โอกาสเป็นโรคพยาธิใบไม้ในตับ ผู้ที่เป็นโรคอยู่แล้วหากรับประทานปลาดิบที่มีเชื้ออีกก็จะได้รับจำนวนพยาธิในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ไม่มีความต้านทานพิเศษ

อาการ

ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยเฉพาะหลังอาหาร บางรายมีอาการเจ็บบริเวณตับ บางครั้งเจ็บร้าวไปถึงลิ้นปี่ ผู้ป่วยจะผอมลง เบื่ออาหาร ทำให้น้ำหนักลด ในบาง รายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท่อน้ำดีอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งในตับ เป็นต้น

หากมีพยาธิจำนวนน้อยมักไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นแต่ถ้ามีปานกลางอาจมีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เจ็บชายโครง ในรายที่มีอาการรุนแรงจะรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผอมแห้ง และอาจเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าวมาแล้ว

อาจแบ่งผู้ป่วยจากลักษณะอาการได้ 4 แบบ คือ

1.ผู้ป่วยที่ไมมีอาการเลย ซึ่งมีพยาธิจำนวนไมมากอยู่ในร่างกาย แต่สามารถตรวจพบไขในอุจจาระได้ และมีโอกาสทวีจำนวนมากขึ้นไปรวมทั้งเป็นผู้แพร่เชื้อได้

2.ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยหรือมีอาการอย่างอ่อน

3.ผู้ป่วยที่มีอากาปานกลาง จะรู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ จุกเสียด แน่นบริเวณลิ้นปี่ เจ็บบริเวณชายโครง เนื่องจากตับอักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ และตัวเหลือง ตรวจพบไข่ในอุจจาระ ตั้งแต่ 1,000 – 20,000 ใบ ต่ออุจจารหนัก 1 กรัม

4.ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง     จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร ตับโต และกดเจ็บ ซูบซีด ตัวเหลือง อ่อนเพลียแขนขาบวมอาจเป็นท้องมานตับอักเสบเป็นหนองอย่างรุนแรงผู้ป่วยอาจถึงแก่กรรมได้

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค

ตรวจอุจจาระโดยวิธีเข้มข้น จะพบไข่ของพยาธิเป็นจำนวนมาก ฯ

การรักษาและควบคุมป้องกันโรค เหมือนพยาธิชนิดอื่นๆ ยังไม่มียารักษาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ยาที่กำลังทดลองใช้มีฤทธิ์ป้องกันไม่ให้พยาธิไข่ ออกมามากกว่าจะไปทำลายพยาธิ เช่น

1.คลอโรควิน            (Chloroquin) ขนาดที่ใช้ 300 มก./วัน นาน 2-6 เดือน

2.เฮกซาคลอโรพาราไชลอล          (Hexachloroparaxylol) ขนาด 100-200 มก./นน.ตัว 1 กก.

3.พาวิควอนเทล (Praziquantel) ขนาด 25 มก./นน.ตัว 1 กก.

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า