สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคคุดทะราด (Yaws or FramBessia)

โรคคุดทะราด เป็นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง โดยเกิดตุ่มที่มีลักษณะคล้ายหูด และต่อมากลาย เป็นแผลเกิดขึ้นบนร่างกาย และอาจกินลึกเข้าไปในฝ่าเท้าลุกลามไปถึงกระดูก ทำให้กระดูกกุด สั้น จึงมีลักษณะอาการคล้ายโรคเรื้อน โรคนี้เป็นในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง

โรคนี้พบมากในชนบทของประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ประเทศในเอเชียที่พบ โรคนี้คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หมู่เกาะแปซิฟิกตอนใต้และประเทศลาตินอเมริกา เช่น บราซิล เปรู โคลัมเบีย และไฮติ เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีประชาชนเป็นโรคนี้กันมาก โดยเฉพาะ ในภาคอีสานและภาคใต้

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อคุดทะราดจะพบอยู่ตามบาดแผลที่ผิวหนัง หรือ อยู่ที่เยื่อบุช่องปากและจมูก

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ทรีโพนีมา เพอร์เทนูอี (Treponema pertenue) เป็นเชื้อแบคทีเรียพวกที่มีรูปร่างเป็นเกลียวสว่าน

แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ป่วย แมลงวันสามารถเป็นพาหะของโรคไต้

การติดต่อ คุดทะราดเป็นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง สามารถติดต่อไต้ทั้งทางตรงและทาง อ้อม โดยผู้ป่วยเป็นผู้แพร่เชื้อ

การติดต่อทางตรง โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเช่นสัมผัสกับนํ้าเหลือง นํ้าหนองจาก บาดแผล ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อร่างกายของผู้สัมผัสมีบาดแผล

การติดต่อทางอ้อม โดยการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม หรืออาจ ติดต่อโดยแมลงวัน ซึ่งตอมบาดแผลของผู้ป่วยแล้วเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนปกติ ซึ่งมีบาดแผล เปิด

ระยะฟักตัวของโรค กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

ระยะติดต่อ โรคนี้มีระยะการติดต่อไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น บาดแผลที่มีน้ำเลือดน้ำหนองอยู่ ซึ่งการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยที่มีบาดแผลเป็นๆหายๆอาจกินเวลา นานเป็นปีหรือหลายปี

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้เชื่อว่าน่าจะมีความ ต้านทานตามธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันและมีข้อมูลแน่นอน ผู้ที่ได้รับเชื้อมีโอกาสเป็น โรคนี้ได้ทุกคน

อาการ

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลแล้วประมาณ 3-6 สัปดาห์จะเกิดโรคระยะแรก คือ มีตุ่มนูนคล้ายหูดที่ผิวหนัง ตุ่มนี้เรียกว่าตุ่มแม่ (Mother yaw) มีขนาดเล็กๆ เกิดขึ้นบนร่างกาย ต่อมาอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ตุ่มนี้จะค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นตุ่มนูนแดงหรือเป็น แผล หรือมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำปลี

ต่อมาต่อมนํ้าเหลืองซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้แผลจะแตกออกเกิดอักเสบบวมโต แล้วแผลจะลุก ลามไปทั่วร่างกาย อาจขึ้นบนฝ่ามือและฝ่าเท้า พื้นฝ่าเท้า แผลจะแตกออกเหมือนเหงือกปลา มีหัวลักษณะคล้ายหูด อาจกินลึกเข้าไปในฝ่าเท้าและลุกลามไปถึงกระดูก ทำให้กระลูกกุดสั้น จึง มีอาการคล้ายโรคเรื้อน ระยะแรกๆของโรคอาจหายได้เองเรียกว่าระยะหลบตัว (Latent stage) แล้วต่อไปกลับมาเป็นใหม่อีก ซึ่งโรคจะทำลายประสาทส่วนกลาง ตา และอวัยวะในร่างกาย เหมือนโรคซิฟิลิส

การตรวจหาเชี้อและวินิจฉัยโรค

1.จะเกิดแผลเป็นตุ่มขึ้นคล้ายหูด   ลักษณะแผลแตกต่างจากแผลของโรคเรื้อนและซิฟิลิส

2.ตรวจหาเชื้อจากนํ้าหนองของแผล        โดยวิธี Dark-Fied examination

3.ตรวจทางนํ้าเหลือง ให้ผลบวกต่อ VDRL เหมือนซิฟิลิส

การรักษาพยาบาล

1.ให้โปรเคน เพนิซิลสิน (Procaine Penicillin) ขนาด 1.2 ล้านหน่วย ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หนเดียว หรือขนาด 3 แสนหน่วย ฉีดเข้ากล้ามเนื้อวันละครั้ง เป็นเวลา 7-10 วันติดต่อกัน

2.ให้เตทตราชัยคลิน            (Tetracyclines) ขนาด 0.5 กรัม ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน การรักษาความสะอาดของแผล ช่วยทำให้โรคหายเร็วขึ้น

วัคซีน

โรคแทรกซ้อน-

ระยะติดต่อ โรคนี้มีระยะการติดต่อไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น บาดแผลที่มีน้ำเลือดน้ำหนองอยู่ ซึ่งการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยที่มีบาดแผลเป็นๆหายๆอาจกินเวลา นานเป็นปีหรือหลายปี

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายโรคคุดทะราด โรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น โรคเรื้อน (และ ดูในหัวข้อ อาการ)

การปฏิบัติตน

เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็น โรคคุดทะราด นอกจากการรีบไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำ แนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างสม่ำเสมอ        รักษาความสะอาดของแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

2.ข้าวของเครื่องใช้ควรต้มหรือใส่ยาฆ่าเชื้อก่อนนำไปซักล้างทำความสะอาด        ผ้าพันแผล สำลี ต้องได้รับการฆ่าหรือนำไปเผาทำลาย

การป้องกันและควบคุมโรค นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและ ป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควร ทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรค ดังนี้

1 .เมื่อมีผู้ป่วยควรให้มีการได้รับการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ

2.เมื่อมีแผลควรระมัดระวังในการติดเชื้อจากโรคคุดทะราดและโรคต่างๆ

3.เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคคุดทะราด           ควรระมัดระวังในการสัมผัสโรค

 

 

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า