สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคกระดูกอ่อน

โรคกระดูกอ่อน
โรคกระดูกอ่อนมักเป็นกับเด็กเล็ก หญิงมีครรภ์ และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมลูก
สาเหตุ โรคกระดูกอ่อนเกิดจากการขาดวิตะมินดี และแคลเซียม หรือได้รับแสงแดด ไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะวิตะมินดีเป็นตัวควบคุมเมตาโบลิซึม (Metabolism) ของแร่แคลเซียมและ ฟอสฟอรัส ช่วยรวมฟอสฟอรัสกับแคลเซียมให้เป็นเกลือของสารนี้เกาะตามเนื้อของกระดูก ถ้า ร่างกายขาดเพียงแต่วิตะมินดี หรือแร่แคลเซียมหรือขาดทั้งสองอย่าง ร่างกายจะไม่สามารถสร้าง กระดูกที่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของร่างกายได้

ชนิดของ่โรคและดูกอ่อน โรคกระดูกอ่อนแยกตามอายุของผู้เป็นโรคได้ 3 ชนิด คือ
1. โรคกระดูกอ่อนในทารก (Infantile Rickets)
เป็นโรคที่เกิดกับเด็กอายุไม่เกิน 2 ขวบ ส่วนมากจะพบในทารกอายุ 3-10 เดือน ซึ่งวัยทารกเป็นระยะที่โครงกระดูกกำลังอยู่ในระยะเติบโต ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะเป็นโรคนี้ได้ง่าย เพราะไม่มีโอกาสที่จะดึงเอาแคลเซียมจากมารดามาสะสมไว้ก่อนคลอด

อาการ
1. โครงกระดูกโตช้า ไม่แข็งแรง
2. อารมณ์เสีย เช่นขี้แย กระวนกระวาย กลางวันกวนมาก ส่วนกลางคืนนอนไม่หลับ
3. เหงื่อออกที่ศีรษะมาก
4. ผิดปรกติที่ท้อง เช่นท้องเดินสลับกับท้องผูก ท้องอืด กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อน แล้วตับย้อยลงมามาก
5. เจ็บปวดตามแขนขา หากล้มเด็กจะร้องไห้
6. มีอาการอักเสบหรือเป็นหวัดบ่อยๆ
7. นั่งไม่ตรง โดยจะก้มศีรษะตัวโยกไปมา
8. มีอาการสั่นของลูกตา (nystagmus) ตาเหลือง
9. นอนหลับหรืออยู่เฉยๆ จะร้องไห้จ้าออกมาคล้ายกับเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือถูกหยิก
10. กระตุกและชักในลักษณะแขนงอ หัวแม่มืององุ้มเข้าหานิ้วอื่น ขาและเท้าเหยียดออก ถ้าชักนานมือและเท้าบวมได้
11. อาการที่น่ากลัวและถึงแก่ชีวิต คืออยู่ดีๆ เด็กจะร้องแล้วเกิดการเกร็ง (Spasm) ของกระเดือก (glottis) ทำให้หายใจไม่ออก ตาเหลือก หน้าตาตื่นตระหนก หนาเขียวซีดด ถ้าเป็นในระยะสั้นเด็กจะถอนหายใจยาวและแรง และอาจมีการชักกระตุกตามมาได้ ซึ่งการชักกระตุกจะเป็นอยู่ราว 2-3 นาทีแล้วหายไป เสร็จแล้วเด็กจะอ่อนเพลียมาก การแก้ไขขณะมีอาการดังกล่าวนี้ต้องฉีดสารแคลเซียมกลูโคเนตทางหลอดโลหิตทันที เพราะการชักเกิดจากการมีแคล¬เซียมในเซรัม (Serum) ต่ำ

2. โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Late Rickets)
เป็นโรคกระดูกอ่อนที่เป็นกับเด็กอายุเกิน 2 ขวบ แต่จะพบโรคนี้มากในเด็กอายุ 3-4 ขวบ

อาการ
1. รูปหน้าของเด็กจะกว้างและใหญ่ขึ้นเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม
2. หน้าอกยื่นเป็นหน้าอกไก่ ทั้งนี้เนื่องจากตรงรอยต่อระหว่างกระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครง หรือกับกระดูกหน้าอกจะเป็นปุ่มแข็งนูนยื่นออกมา
3. กระหม่อมจะปิดช้ากว่าปรกติ
4. กระดูกแขนและขาคด โค้ง และงอ หลังโก่ง เพราะทานน้ำหนักของร่างกายไม่ได้
5. กระดูกกะโหลกศีรษะแผ่นหน้าและแผ่นข้างขมับจะหนาขึ้น
6. ปลายกระดูกตรงรอยข้อต่อจะมน โต เห็นได้ชัดที่ข้อมือ และข้อเท้า

3. โรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ (Osteomalacia)
โรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ เกิดจากร่างกายมีเกลือของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในกระดูกน้อยลง หรือถูกดูดออกจากกระดูก มักพบโรคนี้ในสตรีขณะมีครรภ์ สตรีที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง

อาการ
1. ปวดตามกระดูกและข้อคล้ายโรครูมาติซึม
2. อ่อนเพลีย
3. กระดูกขา กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานอาจจะโค้ง หักง่าย และมีรูปลักษณะผิดไปจากเดิม
4. สตรีมีครรภ์ที่ขาดวิตะมินดีมากๆ จะมีเกลือแคลเซียมเกาะที่กระดูกเชิงกรานน้อย เป็นเหตุให้กระดูกเชิงกรานอ่อน และคด กล้ามเนื้อจะดึงกระดูกเชิงกรานให้เคลื่อนลง เลยทำให้กระดูกเชิงกรานแคบเข้า การคลอดจึงยาก หรือคลอดไม่ได้

การป้องกันและรักษา
การป้องกันโรคกระดูกอ่อนป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำนม รับประทานปลาเล็กปลาน้อยทั้งกระดูก ผักใบเขียว น้ำมันตับปลา และให้ร่างกายได้รับแสงแดด โดยเฉพาะแสงแดดในตอนเช้า

การรักษา
1. ให้น้ำมันตับปลาทะเลวันละ 3 ช้อนกาแฟ ซึ่งจะให้วิตะมินดี ประมาณ 1,200 หน่วย (unit)
2. ในบางราย เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด อาจให้น้ำมันตับปลาขนาดสูงในคราวเดียว เช่น ให้ขนาด 300,000-600,000 หน่วย
3. ฉายแสงอุลตรา (ultra) หรืออาบแสงอาทิตย์

อาหารป้องกันโรค

อาหาร

ป้องกันโรค

1. ตับสัตว์ ไข่ นมสด ผักใบเขียว

2. เนื้อสัตว์ ตับสัตว์ ไข่ นม

3. ตับสัตว์ ถั่วเหลือง ผักใบเขียว

4. เครี่องในสัตว์ ข้าวซ้อมมือ

5. ส้มต่างๆ ผักสด

6. ตับสัตว์ นม ไข่

1. ตาฟาง ตาบอดไก่

2. กระดูกอ่อน

3. เลือดออกไม่หยุด

4. โรคเหน็บชา

5. ลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน)

6. ปากนกกระจอก

ที่มา:ค้วน  ขาวหนู
วท.บ.(สุขศึกษา).ค.ม.

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า