สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เทคนิคการรักษาโรคของจีน

เทคนิคการรักษาอื่นๆ

เทคนิคการรักษาโรคของจีนมีหลากหลายมาก นอกจากเทคนิค การรักษาด้วยยา การฝังเข็มรมยา การกดนวด และการจัดกระดูก ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น จะขอแนะนำเทคนิคการรักษาอย่างอื่นๆ ให้ท่านผู้อ่านรู้จักกัน

วิธีการรักษาด้วยกระบอกลนไฟ วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาทาง กายภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวจีนมานานแล้ว “ป๋า เอี้ยวถ่ง” ของเฉินสือกงนับเป็นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องของกระบอกลนไฟเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า จีนมีประวัติการใช้กระบอกลนไฟรักษาโรคมานานอย่างน้อยก็ ๔๐๐ กว่าปีแล้ว

วิธีใช้คือ ใส่แผ่นกระดาษเผาไฟลงกระบอกไม้ไผ่หรือถ้วยชา ก้นลึก(อาจใช้แก้วทรงสูงหรือขวดก็ได้) อากาศในกระบอกไม้ไผ่ (หรือถ้วยชา) จะขยายตัวเพราะความร้อน กดปากกระบอกไผ่ลงบนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายในขณะที่ยังร้อน ไฟในกระบอกไผ่จะดับลง อากาศจะเย็นตัวลงและความดันในกระบอกจะลดลง เกิดเป็นความดันติดลบ ผิวหนังตรงส่วนที่ถูกปากกระบอกปิดไว้จะถูกดูดขึ้นมา และใช้การกระตุ้นเช่นนี้มารักษาโรค นอกจากนี้ วิธีนี้ยังสามารถดูดเอาของเสียบางอย่างเช่น หนองออกจากร่างกายได้ การใช้กระบอกลนไฟจะให้ผลการรักษาบ้างสำหรับโรคปวดตามข้อ เจ็บสีข้างขณะสูดลมหายใจ หืด ฯลฯ

วิธีรักษาโดยใช้ทากดูด วิธีนี้เป็นการใช้ตัวทากดูดเลือด โดย เอาตัวทากเป็นๆ วางไว้ตรงบริเวณที่ห้อเลือด ให้มันดูดเอาเลือดออกมาบ้าง เพื่อลดอาการห้อเลือดให้น้อยลง หรือลดอาการเลือดคั่งในร่างกายโดยอ้อม จีนใช้วิธีนี้มาตั้งแต่สมัยแผ่นดินถัง และต่อมาวิธีนี้ได้แพร่ไปยังยุโรปและญี่ปุ่น โดยในสมัยนั้นมักใช้วิธีนี้รักษาโรคโลหิต คั่งในสมอง (Encephalemia) โรคเลือดออกในสมอง (Cerebral haemorrhage) และอาการปวดศีรษะข้างเดียว (Migraine) เป็นต้น

วิธีรักษาด้วยการเจาะเลือด จีนใช้วิธีนี้มานานแล้ว ใน “หวงตี้ เนยจิง” เคยเอ่ยถึงวิธีใช้เข็มแทงให้เลือดออก และโดยทั่วไปจะเจาะ เลือดตรงบริเวณหลอดเลือดดำที่อยู่ตื้นๆ เช่นตรงข้อพับแขน ข้อพับขา และด้านนอกปลายคิ้ว วิธีนี้เหมาะที่จะใช้รักษาโรคเลือดคั่งในสมอง (Encephalemia) โรคเลือดออกในสมอง (Cerebral haemorrhage) โรคความดันโลหิตสูง และอาการหน้ามืดเป็นลมเพราะร้อนจัด (Heatstroke) เป็นต้น

วิธีรักษาด้วยการประคบยา วิธีนี้เป็นการประคบด้วยความ ร้อนอย่างหนึ่ง โดยอาศัยการกระตุ้นทางเคมีของยา และการกระตุ้น ทางฟิสิกส์ของความร้อนมาเร่งกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่ประคบให้ดีขึ้น และใช้ผลปฏิกิริยาสะท้อนกลับของประสาทมาปรับสภาพร่างกายให้ดีขึ้นเพื่อให้ได้ผลการรักษา

วิธีการเช่นนี้มีปรากฏอยู่ในวิชาการแพทย์จีนมานาน ๒๐๐๐ ปีแล้ว และแพทย์จีนมักจะใช้วิธีนี้รักษาโรคปวดข้อชนิดรูมาติคหรือรูมาตอยด์ โรคนิ้วเท้าบวม (โรคเก๊าต์) โรคปวดวิถีประสาท เป็นต้น ใน “หลิงซู” ได้บันทึกถึงวิธีประคบยารักษาอาการปวดและอาการชา ขาดความรู้สึกตามลำตัวแขนขาโดยใช้ยาที่มีฤทธิ์เผ็ดเช่น ชวงเจีย ขิงแห้ง เนื้อลำไยแห้งมาแช่เหล้าพร้อมกับแผ่นสำลีและผ้าก๊อซปิดผนึกให้แน่น นำไปต้มให้ร้อน เอาผ้าและลำลีออกมาตากแดด จากนั้นใส่กลับลงไปแช่เหล้าและตากแดดอีกครั้ง ทำเช่นนี้หลายๆ ครั้งเพื่อให้ผ้าและสำลีดูดซับตัวยาไว้เต็มที่ เวลาจะใช้ให้เอาผ้าห่อสำลีทำเป็นผ้าลำลีสัก ๖-๗ ชิ้น นำไปลนไฟให้ร้อน สลับกันประคบบริเวณที่ปวดซํ้าๆ กัน ๓๐ ครั้ง

นอกจากนี้ยังมีวิธีประคบด้วยความร้อนโดยใช้ผงทรายเหล็ก ผงทรายเหล็กนี้ทำจากผงเหล็กร้อนจนแดงราดด้วยน้ำส้มแช่ยาเช่น โกฐเชียง โกฐหัวบัว เวลาจะใช้ให้เอาผงทรายเหล็กนี้ผสมกับนํ้าส้มเคล้าให้เข้ากัน ห่อผ้าไว้แล้วเอาผ้าห่มปิดคลุมไว้สักครู่ ผงทรายเหล็กจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับน้ำส้มทำให้เกิดความร้อนขึ้นเอง เอาห่อผงทรายเหล็กนี้ปิดพอกบริเวณที่ปวด จะสามารถรักษาอาการต่างๆ เช่น ปวดตามเอวตามขา เหยียดแขนไม่ได้ ปวดตามข้อ และปวดท้อง เป็นต้น

การรักษาทางกายภาพแบบประคบด้วยความร้อนเหล่านี้ทำได้ง่ายมากและประหยัดด้วย ซ้ำยังสอดคล้องกับหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ จึงควรจะศึกษาและเผยแพร่ให้มากยิ่งขึ้น

การแพทย์จีนยังค้นพบวิธีการรักษาด้วยน้ำ (หรือธาราบำบัด, (Hydrotherapy) มานานแล้วเช่นกัน ใน “หวงตี้เน่ยจิง” ได้เอ่ยถึงวิธี แช่ตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เหงื่อออก ในสมัยแผ่นดินฮั่น หัวโทเคยใช้วิธี แช่น้ำอุ่นรักษาอาการปวดจากแมลงกัดต่อย

สมัยแผ่นดินซ้อง เอี๋ยนย่งเหอเคยใช้การประคบน้ำร้อนที่ท้อง ช่วยปฐมพยาบาลคนที่ล้มเจ็บในฤดูร้อน ในสมัยแผ่นดินหยวน จาง

จื่อเหอ ได้ค้นพบวิธีแช่มือและแขนด้วยน้ำเย็นเพื่อป้องกันอาการเป็น ลมเพราะถูกความร้อนจัดในเด็ก

ชาวจีนยังมีวิธีป้องกันการเกิดแผลตามนิ้วมือนิ้วเท้าเพราะถูก อากาศหนาว โดยใช้น้ำเย็นล้างเท้า เพื่อให้เลือดตรงบริเวณเท้าไหล เวียนได้ดีขึ้น จากตัวอย่างเหล่านี้ ทำให้เราได้เห็นการใช้ธาราบำบัด ในการแพทย์จีนว่า มีมานานมากและแพร่หลายมากด้วย

วิธีรักษาโดยการพอกมัสตาร์ด วิธีนี้จะใช้ฤทธิ์กระตุ้นของ มัสตาร์ดกระทำต่อผิวหนังเฉพาะที่ เพื่อปรับการไหลเวียนของเลือด และน้ำเหลืองในบริเวณนั้นๆ ให้ดีขึ้น และเกิดผลชักนำอวัยวะภายในร่างกาย นับเป็นวิธีรักษาที่ง่ายและได้ผลอย่างหนึ่ง

จีนใช้วิธีนี้รักษาโรคมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๙ แห่งพุทธศักราชสมัย แผ่นดินจิ้น เก๋อหงเคยใช้ผงมัสตาร์ดผสมกับน้ำส้มสายชูพอกรักษา โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ต่อมาจึงได้ขยายขอบเขตการใช้มัสตาร์ด รักษาโรคกว้างขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถใช้มัสตาร์ดพอกตรงส่วนไหน ของร่างกายก็ได้เพื่อรักษาอาการชาตามตัว ปวดท้อง ปวดเอว อาเจียน ท้องเสีย แผลฝีหนอง แมลงกัดต่อย เลือดกำเดา บาดเจ็บจากการหกล้ม หรือชกต่อย เป็นต้น

แต่หากพอกมัสตาร์ดนานเกินไป จะทำให้ผิวหนังพุพองได้ ดังนั้น โดยทั่วไปแพทย์จีนจะใช้มัสตาร์ดพอกพอให้ผิวหนังตรงนั้นร้อนจนแดงเท่านั้น

เทคนิคการสวนทวาร วิธีนี้เป็นเทคนิคการรักษาที่จะขาดเสีย มิได้ในงานการพยาบาลและการรักษาคนไข้โดยตรง ประเทศที่ริเริ่มใช้เทคนิคนี้เป็นประเทศแรกคือจีน

จางจ้งจิ่ง อายุรแพทย์ในสมัยแผ่นดินฮั่นเคยใช้น้ำดีหมูสวนทวาร ให้คนไข้เพื่อให้ถ่ายท้อง ซึ่งแน่นอนว่าสมัยนั้นยังไม่มีสายยางที่ใช้ในทางการแพทย์ แต่ใช้ท่อไม้ไผ่ยาว ๓-๔ นิ้วสอดเข้าไปในถุงน้ำดี ปล่อยให้น้ำดีไหลเข้าใปในไส้ตรง วิธีนี้จะทำให้ถ่ายอุจจาระได้ชั่วเวลาหุงข้าวสุก

จางจ้งจิ่งยังค้นพบยาเหน็บทวารด้วย เขาจะเคี่ยวน้ำผึ้งจนเป็น แท่งยา (เรียกว่าแท่งน้ำผึ้ง) เอาสอดเข้าไปในทวารหนักคนไข้ที่มี ร่างกายอ่อนแอจนไม่เหมาะจะใช้ยาระบาย เพื่อให้ถ่ายอุจจาระ

แพทย์จีนได้คิดค้นเทคนิคการสวนปัสสาวะด้วยรูปแบบดั้งเดิม เมื่อศตวรรษที่ ๗ แห่งคริสต์ศักราช ซุนซือเม่าได้เขียนถึงวิธีการสวน ปัสสาวะโดยใช้ใบต้นหอมสวนเข้าไปในท่อทางเดินปัสสาวะแล้วเป่า ลมเข้าไป หวางเทาก็เคยเขียนเรื่องทำนองเดียวกันไว้ แม้ว่าจะไม่ได้ ปรับปรุงอุปกรณ์ให้ดีขึ้น แต่วิธีการในลักษณะสร้างสรรค์เช่นนี้ของ แพทย์จีน เป็นเรื่องที่มีคุณค่ามากทีเดียว

วิธีการผายปอดช่วยหายใจ วิธีนี้เป็นวิธีสำคัญในวิชาการ ปฐมพยาบาล ในสมัยแผ่นดินฮั่น จีนได้ใช้วิธีผายปอดช่วยหายใจ ปฐมพยาบาลช่วยเหลือคนที่ผูกคอตายหรือจมน้ำ จางจ้งจิ่งกล่าวถึง วิธีช่วยเหลือคนที่ผูกคอตายว่า “ให้อุ้มคนเจ็บไว้ แล้วค่อยๆ แก้เชือก ออก วางคนเจ็บลงเบาๆ อย่าตัดเชือกในขณะที่คนเจ็บยังแขวนห้อย อยู่ เพื่อมิให้คนเจ็บตกกระแทกได้รับบาดเจ็บ วางคนเจ็บให้นอน หงายลงบนผ้าห่ม ห่มผ้าให้อีกผืน คนหนึ่งใช้มือกดหน้าอกคนเจ็บ ซ้ำๆ กัน อีกคนคอยนวดแขนและคอของคนเจ็บ และช่วยเคลื่อนไหว แขนโดยให้เหยียดเข้าเหยียดออก ถ้าหากแขนและคอแข็งแล้ว ควรจะค่อยๆ ทำให้แขนและคอยืดเหยียดได้ ในขณะเดียวกันก็ให้กดบริเวณท้องด้วย ทำเช่นนี้ต่อเนื่องกันเรื่อยๆ ราวชั่วเวลาหุงข้าวสุก หากคนเจ็บสามารถหายใจได้และลืมตาได้อีก ก็ควรจะทำต่อไปอย่าได้หยุด แต่ต้องไม่ทำรุนแรงเกินไป เพื่อมิให้คนเจ็บเหนื่อยเกินไป”

จากคำอธิบายนี้ เราจะเห็นได้ว่า ข้อสำคัญของวิธีผายปอดช่วย หายใจในสมัยนั้นคือ การกดบริเวณหน้าอกและท้องของคนเจ็บ และช่วยเคลื่อนไหวแขนขาไปด้วยอย่างมีจังหวะ เพื่อให้คนเจ็บกลับหายใจได้อีกครั้ง โดยหลักการแล้ว วิธีนี้ก็เหมือนกับวิธีผายปอดช่วยหายใจในปัจจุบันและนี่ก็เป็นการค้นพบที่สำคัญอย่างหนึ่งของจีน

เทคนิคการรักษาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีคุณค่าทางประวัติ วิชาการแพทย์มาก และในนั้นก็มีหลายวิธีที่ยังคงมีความหมายที่เป็น จริง(นำมาใช้ได้)อยู่บ้างในปัจจุบัน อันควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้า ให้มากขึ้น

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า