สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

นิ่วในท่อน้ำดีร่วม (Choledocholithiasis)

อุบัติการณ์

นิ่วในท่อทางเดินนํ้าดีร่วม มักจะมาจากถุงน้ำดีร้อยละ 95 ผู้ป่วยที่มีนิ่วในถุงน้ำดีร้อยละ 15 จะมีนิ่วในท่อนํ้าดีร่วมด้วย

อาการ

ปวดท้องจะปวดท้องตื้อๆ หรือปวดบิด (Colicky) บริเวณที่ปวดมักจะเป็นที่ชายโครง ขวาหรือลิ้นปี่ อาจจะร้าวไปที่หลังหรือสะบักขวาก็ได้ อาจเกิดร่วมกับการรับประทานอาหารมื้อหนักๆ หรือของมันมาก มีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของท่อนํ้าดี (Cholangitis) อาการเหลืองมักเกิดร่วมกับอาการไข้เหลืองไม่มากถ้าไม่มีการอุดตันมาก ผู้ป่วยจะมีเม็ดเลือดขาวสูง ผลการเจาะเลือดดูหน้าที่ของตับเป็นลักษณะการอุดตันของท่อนํ้าดี เช่น มีอัลคาไลน์ฟอสฟอเตส สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเปลี่ยนแปลงของเอ็นไซม์ เอสจีโอที และเอสจีพีที

ตรวจร่างกาย

พบว่ากดเจ็บบริเวณชายโครงขวามาก การตรวจเพาะเชื้อในเลือดช่วยได้มากในระยะมีไข้มักจะเป็นเชื้อมาจากลำไส้ เช่น อีโคไล (E. Coli)

ปัจจุบันนี้มีอัลตราซาวด์ (utrasound) จะช่วยให้การวินิจฉัยได้รวดเร็ว แต่ความแม่นยำไม่ดีนัก ดังนั้นการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ (Endoscopic Retrograde Cholangiopancreatography) จากแพทย์ผู้ชำนาญในช่วงที่ไข้ลดจะเป็นวิธีการวินิจฉัยที่ดีที่สุด

การรักษา

1. ให้ยาปฏิชีวนะในระยะที่ไข้สูง เช่น แอมพิซิลิน หรือเซฟาโลสโพริน (Cephalosporin)

2. ในรายที่มีอาการหนักมากควรจะทำการระบายนํ้าดีก่อน เมื่อไข้ลดจึงผ่าตัด

3. ผ่าเปิดเข้าที่ท่อนํ้าดีร่วม เพื่อขจัดนิ่ว และตัดถุงนํ้าดี ถ้าหากยังมีนิ่วเหลืออยู่ในท่อนํ้าดี อาจจะเอาออกโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Choledochoscope เข้าไปคีบออก หรือตัดหูรูดออดิ

(Sphincter of Oddi) โดยการตัดหรือคล้องเอานิ่วออก (E R C G) และดึงนิ่วออกมาหรือปล่อยให้หลุดไปเองก็ได้

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า