สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

งูเขียวหางไหม้

งูเขียวหางไหม้ อยู่ในวงศ์ Crotalidae มีเขี้ยวพิษหน้าแบบ Solenoglypha มีชนิดต่าง ๆ ดังนี้

งูเขียวหางไหมท้องเหลือง

Green Pit Viper

Trimeresurus albolabris, Gray

จัดเป็นงูที่มีอันตรายสูงสุดในกลุ่มงูพิษอ่อนของไทย มีชุกชุม นิสัยดุ ฉกกัดทันทีเมื่อเข้าใกล้ มีถิ่นอาศัยใกล้ชิดชุมชน พบทั้งในป่า ไร่ สวน และแม้กระทั่งดงหญ้าใกล้บ้าน มีชุกชุมมากโดยเฉพาะภาคกลาง เช่น กรุง เทพฯ อยุธยา นครปฐม เป็นต้น เป็นงูที่มีขนาดกลางเมื่อเทียบขนาดในกลุ่มงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) หัวยาวมน คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ชอบขดนอนตามพุ่มไม้เตี้ย กอหญ้า เลื้อยออกมากินในเวลากลางคืนทั้งตามพื้นดินและบนต้นไม้ ชอบกินหนู นก กบ เขียด ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 7 – 15 ตัว

มีขนาดยาว 397 ม.ม. (หัว 24 ม.ม. ตัว 290 ม.ม. หาง 83 ม.ม.) ตลอดทั้งตัวสีเขียวสด หรือเขียวเหลือง หางสีแดงสดท้องเหลืองหรือขาว

นอกจากในประเทศไทยแล้ มีในอินเดีย จีน พม่า ซีลอน

งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว

Pope Pit Viper

Trimeresurus popeorum, M. Smith

มีขนาดไล่เลี่ยกับงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง แต่หัวป้อมสั้นกว่า ขนาดยาว 415 ม.ม. (หัว 20 ม.ม. ตัว 290 ม.ม. หาง 105 ม.ม.) คอเล็ก ตาโต ชอบอาศัยตามพื้นมากกว่าบนต้นไม้ เช่น กอหญ้า ใต้หิน ใต้ขอนไม้ ตามกระถางหรือภาชนะเก่าที่ถูกทิ้งไว้ เลื้อยหากินตามพื้นดิน กินหนู คาง คก กบ เขียด ออกหากินในเวลากลางคืน มีชุกชุมในภาคกลางโดยเฉพาะธนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครชัยศรี เท่าที่ปรากฏผู้ป่วยมีอันตรายน้อยกว่าจากอำนาจพิษของงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. albolabris) ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 6 – 12 ตัว

ตลอดทั้งตัวสีเขียวแก่ ตาสีเหลืองสด หางแดงคลํ้า หรือนํ้าตาลแดง ท้องสีฟ้าหรือสีคราม

นอกจากในประเทศไทยแล้ว มีในอัสสัม พม่า มาเลเซีย บอร์เนียว และสุมาตรา

 

งูเขียวไผ่

Bamboo Pit Viper

Trimeresurus slejnegeri, K. Schmidt

เป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่างูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง และงูเขียวหางไหม้ท้องเขียว (T. albolabris & T. popeorum) ยาวประมาณ 692 ม.ม. (หัว 53ม.ม. ตัว 544 ม.ม. หาง 95 ม.ม.) มีชุกชุมในภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ส่วนภาคกลางพบเฉพาะตามเทือกเขาในจังหวัดนครนายกและใกล้ เคียง ออกหากินเวลากลางคืน ทั้งตามพื้นดินและบนต้นไม้ กินหนู นก กบ เขียด ตุ๊กแก มีนิสัยดุ

งูเขียวไผ่สีเขียวสด บริเวณปากเขียวอ่อน ท้องเขียวอ่อน หรือเหลืองเขียว หางแดง บางตัวมีเส้นสีขาวบริเวณรอยต่อระหว่างเกล็ดตัวกับเกล็ดท้อง

นอกจากในประเทศไทย มีใน อินเดีย จีน พม่า

 

งูเขียวหางไหม้ข้างขาว

White – lined Pit Viper

Trimeresurus erythrurus, Cantor

มีขนาดเท่า ๆ กับงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. albolabris) แต่เรียวยาวกว่า ความยาว 535 ม.ม.(หัว 25 ม.ม. ตัว 370 ม.ม. หาง 140 ม.ม.)

พบเฉพาะทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดพังงาลงไป พบบ่อยระหว่างห้วงหุบเขาที่มีความร่มชื้น ออกหากินกลางคืน กินนก ตุ๊กแก หนู กบ เขียด เมื่อยังเป็นลูกงู มีขนาดเล็ก ตัวสีเขียวสด แล้วมีลายเป็นปล้องสีม่วงแดง คล้ายงูพังกา (T.purpureomaculatus) แต่จะสังเกตความแตกต่างได้ชัดจากหัว ซึ่งยาวเรียวกว่า และหางยาวกว่างูพังกามาก เมื่อโตขึ้นลายสีม่วงจะเลือนหายไป ที่ลำตัวจะมีจุดขาวเรียงเป็นแถวจากคอถึงบริเวณโคนหาง มีเส้นสีขาวที่ข้างลำ ตัวยาวจากคอถึงโคนหาง หางสีนํ้าตาลแดง ท้องสีเขียวอ่อน

นอกจากในประเทศไทยแล้ว มีใน อินเดีย พม่า มาเลเซีย

งูหางแฮ่มกาญจน์

Kan buree Pit Viper

Trimeresurus kanburiensis, M. Smith

งูหางแฮ่มกาญจน์นับว่ามีขนาดใหญ่ในสกุลงูเขียวหางไหม้ (Tri­meresurus) ชอบอาศัยพาดตัวนอนตามกิ่งต้นโกงกางชายนํ้า และในป่าเลน เลื้อยออกหากินไปตามกิ่งโกงกาง ทางต้นจากและตามพื้นเลน กินหนู ตุ๊กแก กบ เขียด มีนิสัยดุมาก ฉกกัดไว เขี้ยวยาวมาก ในลักษณะ Sole- noglypha

M. Smith ให้ชื่อไว้ตามที่มีรายงานการพบครั้งแรก ที่จังหวัดกาญจนบุรี- (Kanburiensis) แต่ตามความเป็นจริง ข้าพเจ้า (วิโรจน์) เที่ยวป่าเมืองกาญจน์นับ ครั้งไม่ถ้วน มีพรานป่า ชาวไร่ ละแวกนั้นรวมทั้งนักจับงูมาขาย ไม่เคยปรากฏพบงูหางแฮ่มกาญจน์ ที่เขตจังหวัดกาญจนบุรีเลย งูชนิดนี้กลับไปมีชุกชุมที่จังหวัดระนอง โดยเฉพาะแถบคลองอำเภอละอุ่นมีชุกชุมมาก

งูหางแฮ่มกาญจน์มีขนาดยาว 705 ม.ม. (หัว 45 ม.ม. ตัว 545 ม.ม. หาง 115 ม.ม.) ถ้ามองเผิน ๆ สีรวมทั้งตัวสีนํ้าตาลไหม้ ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นลายสีนํ้าตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ ๆ บนหลังข้างลำตัวเป็นลายสลับระหว่างสีนํ้าตาลเข้มกับสีเหลืองหม่น หัวสีนํ้าตาลไหม้ ริมฝีปากบนสีเหลืองสด ท้องขาว

มีลายประสีนํ้าตาลอ่อน เมื่อยังเป็นลูกงูสีจะสดใสกว่า บริเวณลายจะเป็นสีนํ้าตาลอมชมพู หรือนํ้าตาลอ่อนสลับกับเหลืองอมเขียว

งูเขียวตุ๊กแก

Wagler’s Pit Viper

Trimeresurus wagleri, Boie

งูเขียวตุ๊กแกเป็นชนิดเดียวในสกุลงูเขียวหางไหม้ (Trimeresu­rus) ที่ไม่ดุ เชื่องช้า ซึมเซาในเวลากลางวัน เมื่อกินอิ่มครั้งหนึ่งแล้ว ก็จะพาดตัวนอนอยู่กับที่เป็นเวลาหลายวัน อาหารชอบคือตุ๊กแกและหนู ในเวลากลางวันสามารถจับด้วยมือเปล่าได้ ไม่กัด นอกเสียแต่เวลากลางคืนไม่ควรเข้าใกล้ เพราะงูจะคิดเข้าใจผิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวของสัตว์อาหาร ก็จะฉกกัด เขี้ยวพิษยาวมาก ในลักษณะ Solenoglypha อำนาจพิษปรากฏว่าไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก มีผู้ถูกกัดหลายราย รวมทั้งพนักงานเลี้ยงงู ปรากฏเป็นเพียงมีบวมเล็กน้อย และเพียงวันสองวันก็ยุบหาย ไม่มีลักษณะแผลเนื้อเสียเลย

งูเขียวตุ๊กแก มีจำนวนพบน้อยที่สุดในกลุ่มงูเขียวหางไหม้ (Trime­resurus) ที่มีถิ่นอาศัยในประเทศไทย เชื่อว่ามีเฉพาะในภาคใต้ จากการเก็บรวบรวมงู โดยมีนักจับงูมาขายให้จากแทบทุกจังหวัดภาคใต้เป็นเวลานาน นับ 10 ปี จับได้งูเขียวตุ๊กแกจากถิ่นอาศัยธรรมชาติ ที่อำเภอเบตงเพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่นำมาเลี้ยงและนำมาซื้อขายกัน ได้มีการสั่งซื้อมาจากมาเลเซีย เพราะงูชนิดนี้มีมากในประเทศมาเลเซีย

งูเขียวตุ๊กแก ขนาดยาว 639 ม.ม. (หัว 44 ม.ม. ตัว 512 ม.ม. หาง 83 ม.ม.) หัวแบนกว้างใหญ่ เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น มักแบนทางตั้ง หางสั้นเล็ก ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 12-18 ตัว

ลูกงูเขียวตุ๊กแก มีสีและลายผิดกับตัวโต ทั้งหัวและตัวสีเขียวมีเส้นสีแดงพาดข้างหัวจากจมูกผ่านตามาสุดที่ท้ายของหัว ตามตัวมีลายขีดเล็ก ๆ ตั้งขวางลำตัวสีแดง – ขาว หางสีนํ้าตาลอ่อนปลายหางขาว สีของลูกงูนี้จะเปลี่ยน

เป็นเหมือนตัวโตเมื่ออายุประมาณ 2 ปี งูโตหัวดำด่างเหลืองปากเหลือง ใต้คาง เหลือง ตาเหลือง ตัวลายปล้องดำสลับเหลืองปล้องดำใหญ่กว่าปล้องเหลืองมาก มีเกล็ดขาวแซม เกล็ดขาวจะมีสีขาวกลางเกล็ดและขาวมากบริเวณใกล้กับเกล็ดท้อง หางดำด้าน

งูปาล์มแดง

Brown Flat-nosed Pit Viper Trimeresurus puniceus, Boie

เป็นงูในสกุลงูเขียวหางไหม้(Trimeresurus) อีกชนิดหนึ่งที่หายากใน

ประเทศไทย พบเฉพาะจังหวัดภาคใต้ หัวแบนเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายจมูก

ตัดงอนเชิดขึ้น ตัวอ้วนสั้น หางสั้น ปกติไม่ดุ พบในป่าทึบ ออกหากินกลาง

คืน กินหนู นก กบ เขียด เคยได้ที่จังหวัดยะลา เป็นตัวเมีย ซึ่งตั้งท้องหลังจาก

เลี้ยงไว้ระยะหนึ่งก็วางไข่ 12 ฟอง แม่กกฟักไข่ 60 วัน ออกเป็นตัว ลูก ๆ

สีคล้ายแม่ เป็นเพียงสีอ่อนกว่า ลูกบางตัวสีน้ำตาลนวลเห็นลายสีนํ้าตาล

ชัด เมื่อโตเต็มที่จะสีนํ้าตาลแดงทั้งหัวและตัว เมื่อพิจารณาใกล้ ๆ จึงจะเห็นลาย

ด่างอ่อนแก่ตามตัว

งูปาล์มแดงมีขนาดยาว 419 ม.ม. (หัว 33 ม.ม. ตัว 314 ม.ม.

หาง 72 ม.ม.) นอกจากไทยมีในมาเลเซีย

งูพังกา

Mangrore Pit Viper

Trimeresurus purpureomaculatus purpureomaculatus, Gray and Hard- wicke

เป็นงูขนาดเล็ก ขนาดยาว 429 ม.ม. (หัว 18 ม.ม. ตัว 334 ม.ม. หาง 77 ม.ม.) หัวป้อมสั้น ตาโต พื้นตัวเขียวลายม่วงแดงชัดเจน คางและท้องขาว อาศัยอยู่ตามป่าโกงกาง(พงกา)ชายคลองที่ติดต่อกับทะเล ออกหากินกลางคืน กินเขียด ลูกกิ้งก่า จิ้งจก พบเลื้อยหากินตามกิ่งและรากโกงกาง ดงวัชพืช ในป่าโกงกาง เขี้ยวพิษเรียวเล็กในประเภท Solenoglypha พบในจังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ระนองลงไป นอกจากนั้นมีในพม่า มาเลเซีย ส่วนที่มีในเกาะนิโคบาร์ เป็นคนละชนิดย่อยกับที่มีในประเทศไทย

งูแก้วหางแดง

Sumatran Pit Viper

Trimeresurus sumalranus, Raffles

งูแก้วหางแดงมีความยาวมาก ยาว 1,223 ม.ม. (หัว 48 ม.ม. ตัว 1,002 ม.ม. หาง 173 ม.ม.) หัวโต ตัวยาว หางเรียวเล็ก เขี้ยวพิษยาวในลักษณะ Solenoglyphaพบเฉพาะในจังหวัดภาคใต้ นอกจากไทยมีในมาเลเซีย เบอร์เนียว สุมาตรา พาราวัน

งูแก้วหางแดง หัวและตัวสีเขียวนวล หัวด้านข้างและใต้คางสีฟ้า ขาว บางตัวฟ้าขาวอมเหลืองอ่อน ๆ สองข้างลำตัวอาจมีจุดขาวเป็นระยะห่าง ๆ กัน เริ่มตั้งแต่คอถึงโคนหาง หางแดงสด โคนหางด่างแดงเป็นดวง ๆ ท้องเขียว เหลือง

อาหารของงูแก้วหางแดงคอ หนู กิ้งก่า ตุ๊กแก นก กบ เขียด

งูปาล์ม

Thai Palm Pit Viper

Trimeresurus wiroti, Trutnau

งูปาล์มเป็นงูในสกุลงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) ที่พบใหม่ได้ลงพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกโดย Ludwig Trutnau, Schlangen Vol. 2 p. 138, 188 : Gigtschlangen, 1981 Eugen Ulmer GmbH & Co., Germany

งูปาล์มพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2522 ในคราวที่ข้าพเจ้า (วิโรจน์)กับ คณะเดินทางไปหาข้อมูลการเป็นอยู่ของงูจงอางที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 71 ทางเหนือของทุ่งสง ประ มาณ 7 ก.ม. ไปพักแรมที่คลองวับหีบ (แผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1 : 50,000 หมายเลข แอล 7017 แผ่น 4925 IV, 1,778 ระวางอำเภอฉวาง) ในบริเวณนั้นเป็นรอยต่อระหว่าง อำเภอทุ่งสง และอำเภอฉวาง มีความสูงจากระดับนํ้าทะเล 1,196 เมตร

บริเวณที่พบเป็นป่าทึบชื้น(มากกว่า 75% Canopy) มีฝนชุก ความชื้นสูง มีพืชพวกปาล์มขึ้นอยู่มาก ได้แก่ ต้นเต่าร้าง หวาย ต้นสาคู และพ้อ จึงเรียกงูชนิดนี้ว่า “งูปาล์ม”

ตัวแรกจับได้เวลากลางคืนประมาณ 2 ทุ่ม กำลังเลื้อยอยู่บนทางหวาย 90 ซม. สูงจากพื้นดิน ห่างจากแนวคลองวังหีบประมาณ 20 เมตร ซึ่งในภายหลังจับได้อีกที่อำเภอลานสะกา บริเวณคลองเจดีย์ ห่างจากคลองวังหีบประมาณ 6 ก.ม. สูงจากระดับนํ้าทะเล 500 เมตร

งูปาล์มมีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) ยาว 558 ม.ม. (หัว 27 ม.ม. ตัว 468 ม.ม. หาง 90 ม.ม.) เป็นตัวที่ใหญ่ที่สุดที่พบ เกล็ดที่หัวโดยเฉพาะบริเวณท้าย ๆ หัว จะเป็นสันแหลมสูงที่ปลายเกล็ด เกล็ดคิ้วแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก เกล็ดปลายปากยาวทางตั้งและไม่เห็น หากมองด้านบนของหัว เกล็ดหน้าจมูกใหญ่และยกสูงทำให้มีลักษณะจมูกงอน เชิดขึ้น เกล็ดปากบน 4 เกล็ดใหญ่ ไม่เชื่อมติดกับตา เกล็ดบนหัวระหว่างเกล็ด เหนือตามีเกล็ด 8 เกล็ด เกล็ดบนหัวด้านหน้ามีขนาดเล็กและไม่มีสัน นอกจากเกล็ดบริเวณท้ายทอย เกล็ดหัวตามี 3 เกล็ดเล็ก ๆ ตาใหญ่ ตาดำหรี่ยาวทางตั้ง เกล็ดปากล่างสองชิ้นจรดกับเกล็ดคางหน้า (คู่แรก) ด้านขางหัวจะมีสันเป็นแนวจากเกล็ดปากบนชิ้นที่ 4 ขึ้นไปใต้ตาแยกไป หลังตาและไปที่ Pit อันเป็นลักษณะพิเศษ เกล็ดตัวเป็นเกล็ดชนิดมีสัน จำนวนเกล็ดตามตำแหน่งต่าง ๆ คอบริเวณท้ายทอย 28 ชิ้น คอ 17 ชิ้น กลางตัว 21 ชิ้น โคนหาง 14 ชิ้น เกล็ด ท้อง 176 ชิ้น เกล็ดใต้หาง 109 ชิ้น แบบซิกแซก

สีของงูปาล์มลายพราว ยากต่อการอธิบายให้เข้าใจโดยการเห็นรวมๆ สีทั้งตัวจะมีสีเขียวมอม ๆ แต่ถ้าลอกคราบใหม่ๆ ก็จะสดใสและเห็นลายชัด เกล็ดท้องสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวระหว่างรอยต่อของเกล็ตตัวกับเกล็ดท้อง ใต้หางสีนํ้าตาลเข้ม บนหัวสีเขียวเข้มและมีด่างเขียวคลํ้า ด่างขาวบริเวณริมปาก ใต้คางสีน้ำตาลแดง ตัวถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าเป็นลายขวั้นระหว่างสีเขียวกับสีนํ้าตาล บางตัวจะมีเส้นสีชมพูบริเวณข้างตัว หางสีน้ำตาล ตาสีเขียวแก่หนังระหว่างเกล็ดสีม่วงอ่อน

งูปาล์มเป็นชนิดที่หายาก และเพิ่งปรากฏพบในบริเวณดังกล่าว

แล้ว และยังไม่มีรายงานพบในที่อื่น ๆ อีก เขี้ยวพิษในลักษณะ Solenoglypha

อำนาจพิษน่าจะเป็นในระบบโลหิต ทั้งนี้เพราะอยู่ในวงศ์ Crotalidae (Pit Viper)

หางแฮ่มภูเขา

Mountain Pit Viper

Trimeresurus monticola, Gunther

งูหางแฮ่มภูเขา เป็นชนิดที่พบในไทยจำนวนน้อยมาก เท่าที่พบได้จากจังหวัดทางทิศตะวันตก เช่น อุทัยธานี กาญจนบุรี และจังหวัดทางภาคใต้ เช่น ประจวบคีรีขันธุ์ ชุมพร ระนอง ตรัง สตูล ยะลา มีถิ่นอาศัยตามภูเขา นอนตามซอกหิน เลื้อยออกหากินหนูและกบ เขียด ตามพื้นดินบนภูเขา ไม่ขึ้นต้นไม้ มีหัวแบนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น หางสั้น โดยปกติจะเลื้อยไปช้า ๆ ในเวลาพลบคํ่าถึงกลางคืน รูปลักษณะถ้าหากเป็นผู้ที่ยังไม่มีความคุ้นเคยกับงูชนิดต่าง ๆ อาจเข้าใจว่าเป็นกลุ่มงูกะปะหรือลูกงูหลามปากเป็ด (P. curtus) มีเขี้ยวยาวในลักษณะ Solenoglypha ขนาด ยาว 440 ม.ม. (หัว 36 ม.ม. ตัว 349 ม.ม. หาง 55 ม.ม.)

งูหางแฮ่มภูเขา บนหัวสีนํ้าตาลเข้ม ข้างหัวสีเหลือง ตัวสีเหลืองสด หรือนํ้าตาลเหลือง ลายสีน้ำตาลเข้ม เมื่อเป็นลูกงูตัวสีเหลืองอ่อน ลายสีชมพูอมนํ้าตาล ปลายหางขาว เมื่อโตเต็มที่ปลายหางจะสีนํ้าตาลเข้ม

นอกจากในประเทศไทยมีใน ธิเบต หิมาลัย อัสสัม พม่า มาเล เซีย สุมาตรา

พิษงู งูเขียวหางไหม้มีพิษอ่อนเมื่อเทียบกับพิษที่กล่าวมาแล้วข้าง

ต้น มีพิษต่อระบบโลหิตโดยทั่วไปมีอัตราตายต่ำ งูที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงเมื่อ

เทียบกับงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) ชนิดอื่นคือ งูเขียวหางไหม้ท้อง

เหลือง แม้ว่าพิษงูเขียวหางไหม้จะเป็นพิษอ่อน แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กได้รับพิษ

เข้าไปมากถึงแก่ความตายได้ พิษงูประกอบด้วย neurotoxin, haemorrhagin และเอ็นซัมย์ต่าง ๆ ทำให้เกิด hypofibrinogenemia, thrombocytopenia, increased fibrinolytic activity โดยพิษงูไปออกฤทธิ์โดยตรงต่อ fibrinogen และ

platelet

อาการและอาการแสดง

อาการเฉพาะที่ ปวด บวมมากกว่างูชนิดอื่น บางรายปวดมากร้าวสูงขึ้นไปเหนือแผล อาการบวมเป็นได้ตั้งแต่ 2-3 นาที และบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่ในวันนั้นหรือวันที่ 2, 3 หลังถูกกัดแล้วค่อย ๆ ยุบบวม บางรายบวมอยู่ได้เป็นสัปดาห์ บวมรอบ ๆ แผลหรือบวมทั้งแขน ขา บางรายมีตุ่มใสหรือรอยพองเกิดขึ้นด้วย บริเวณรอยเขี้ยวมีสีคลํ้า ห้อเลือด อาจกระจายเป็นวงกว้าง โดยทั่วไปพิษงูของ T. popeorum มีฤทธิ์อ่อนกว่า T.albolabris T. popeorum ไม่ค่อยทำให้เกิดตุ่มพองรอยพอง

ต่อมาแผลมี necrosis ถ้าเป็นที่นิ้วอาจมี gangrene เกิดได้

อาการทั่วไป ในรายรุนแรงจะมีเลือดออกจากอวัยวะต่าง ๆ ได้ มีเลือดออกจากเหงือก ไรฟัน มีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือด ไอเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ถ้าเลือดออกในอวัยวะสำคัญต่อชีวิต ทำให้ถึงแก่ความตายได้ ผู้ป่วยถึงแก่กรรมด้วยเลือดออกไม่หยุด หัวใจวาย หรือมีโรคแทรกซ้อน อย่างอื่น

โดยปกติ งูเขียวหางไหม้มีฤทธิ์อ่อนกว่างูแมวเซาและงูกะปะ อัตราตายต่ำ ผู้ถูก T.popeorum กัด ไม่ค่อยพบอาการแสดงของพิษงูอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือดและมีเลือดออกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แม้อาการดีเป็นปกติแล้ว แต่ความผิดปกติทางเลือดอาจพบได้นานถึง 2-3 เดือน ถ้าต้องได้รับการผ่าตัดด้วยโรคอื่นใดจำต้องตรวจเลือดให้ละเอียดอีกครั้ง

อาการและอาการแสดง

อาการเฉพาะที่ แผลถูกกัดบวม ห้อเลือด หรือมีสีคลํ้ารอบ ๆ รอยเขี้ยวและแผ่กระจายออกไปเป็นบริเวณกว้างมากน้อยแล้วแต่บุคคล กดที่บวมเจ็บ

รอบแผลและบริเวณใกล้เคียงหรือบางทีทั้งแขนหรือขาข้างถูก กัดบวมแดง กดเจ็บ บางรายรู้สึกคันด้วย ผู้ป่วยบางรายเดินไม่ได้ บางรายเดิน ไม่ถนัด

ในรายที่มีอาการรุนแรง จะเห็นเลือดซึมออกจากรอยเขี้ยว มีตุ่มพอง รอยพองที่แผลหรือบริเวณใกล้เคียง ถ้าเป็นที่นิ้วมือ นิ้วเท้า รอยพอง แตกออกแล้วมักมีเนื้อตายเกิด gangrene ได้

 

อาการแสดงทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ใคร่มีอาการแสดงอื่นผิดปกติ นอกจากปวดที่แผลมากจนนอนไม่หลับ เดินไม่ถนัด หรือเดินไม่ ได้ แต่บางรายที่ได้รับพิษรุนแรง เช่น ถูก T.albolabris จะมีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ผิวหนังเป็นจำห้อเลือด ถ้ามีเลือดออกมาก ผู้ป่วยมี anemia ได้ ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในอวัยวะสำคัญต่อชีวิตจะมีอาการแสดงทั่วไปของผลแทรกซ้อนนั้น เช่น เลือดออกในสมอง เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบภาวะ hypofibrinogenemia, afibrinogenemia มีการเปลี่ยนแปลงของเลือดคล้าย DIC

และผลทางห้องปฎิบัติการอย่างอื่นคล้ายผู้ป่วยถูกงูกะปะกัด แต่ความรุนแรงน้อยกว่ามาก

ผลการตรวจเนื้อไต พบ

glomerular mesangial proliferation

มี fibrin deposit ท glomerular basement membrane-like matrix

มี thrombophlebitis

มี tubular necrosis-mild

การรักษา

เฉพาะที่แผล ไม่ควรกรีดแผลจี้แผล ยิ่งบริเวณที่นิ้วจะเสี่ยงต่อ necrosis, secondary infection, เนื้อตาย บางคนนิยมใช้ผาชุบน้ำยาดีเกลืออิ่มตัว โปะบริเวณที่บวมเพื่อให้ลดบวมเร็วขึ้น

การรักษาทั่วไป

1. ให้ยาแก้ปวด

2. ถ้าบวมมากให้สตีรอยด์ เช่น เพร็ดนิโซโลน 20-40 ม.ก./ วันในผู้ ใหญ่ 3-4 วัน หรือถ้ายุบเร็วก็หยุดยาได้เร็วกว่านั้น อาการบวมจะหายไปอย่างรวดเร็ว การใช้ยาอื่น เช่น reparil, chymoral ได้ผลไม่ดีเท่าและมีราคาแพง

3. การใช้เซรุ่มแก้พิษงู ควรให้ในรายที่มีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ อาจให้ 10, 20, 30 ม.ล. ทุกครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงพออาการของ systemic bleeding หยุดก็หยุดให้เซรุ่มได้ ผู้ป่วยบางรายจะมีเลือดซึมออกจากเขี้ยวได้เป็นชั่วโมง โดยไม่มีอาการของ systemic bleeding

การรักษาอย่างอื่นเหมือนกับหลักการรักษางูกัดทั่วไป

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า