สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การดูแลสุขภาพวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

แนวคิดในการดูแลสุขภาพ

ภาวะสุขภาพเป็นตำแหน่งบนแกนสุขภาพ ซึ่งมีความต่อเนื่องกันตั้งแต่สุขภาพดีใน ระตับสูง (high level wellness หรือ optimal health) จนถึงป่วยหนัก (severe illness) ภาวะ สุขภาพของคนจะเปลี่ยนแปลงไปมาตามแกนสุขภาพนี้ ผู้ที่เสนอแนวคิดของความต่อเนื่อง ระหว่างสุขภาพดี-การเจ็บป่วย (Health-illness continuum) นี้เป็นคนแรกคือ ฮัลเบอร์ท ดุนน์ (Halbert Dunn) โดยมองสุขภาพเป็นความต่อเนื่อง การมีสุขภาพดีเป็นภาวะพลวัต (dynamic state) ของการเปลียนแปลง (Dunn, 1959. quoted in Billing, and Stokrs, 1987 : 105)

สุขภาพแบบองค์รวม (holistic health) เป็นแนวคิดที่ได้จากแนวคิดเกี่ยวกับความต่อ เนื่องของสุขภาพบนแกนสุขภาพโดยนำมาผสมผสานกับความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์ สุขภาพแบบ องค์รวมนี้เชื่อว่าคนทั้งคน (whole) เป็นภาพรวมที่ไม่ใช่การนำเอาส่วนต่างๆ มาประกอบกัน และพิจารณาว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อคนนั้นจะกระทบต่อคนโดยส่วนรวม ไม่ใช่ส่วน ใดส่วนหนึ่งของร่างกาย การเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่ให็โอกาสบุคคลเจริญเติบโต สุขภาพเป็นภาวะพล วัตที่แต่ละคนจะเคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลังตามระยะทางอันต่อเนื่องของแกนสุขภาพ โดยมีปลายสุดของสุขภาพคือ ข้างหนึ่งเป็นศักยภาพสุขภาพสูงสุด (highest health potential) และปลายอีกข้างหนึ่งเป็น ความตาย ระหว่างปลายของแต่ละข้างประกอบด้วย สุขภาพดี สุขภาพปกติ ป่วยเล็กน้อย ป่วยหรือสุขภาพไม่ดี และป่วยหนัก ข้อคิดที่สำคัญของสุขภาพแบบ องค์รวมคือ การรับรู้ว่าสุขภาพเป็นผลจากการตัดสินใจ ความรับผิดชอบและความสามารถในการควบคุมตนเอง (Mc-Cann/Flynn and Heffron 1984 : 33 quoted in Kozier, and Erb, 1988 : 80) (ดูรูปที่ 1.1)

การพยาบาลแบบองค์รวมนั้นพยาบาลจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม การดำเนินชีวิต และพฤติกรรมต่างๆ ของประชาชนหรือผู้มารับบริการ เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นองค์รวมของบุคคล ประกอบกับการศึกษาสิ่งแวดล้อมและภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ตรงตำแหน่งใดในแกนสุขภาพ เพื่อให้คำแนะนำหรือการช่วยเหลือและในการช่วยเหลือนั้นต้องเป็นการช่วยคนซึ่งเป็นองค์รวมของกาย จิต วิญญาณ และสิ่งแวดล้อม โดยพยาบาลจะต้องมีความตระหนักในความเป็นบุคคลของคนอื่น ให้เวลา และรู้จักการเป็นผู้ฟังซึ่งแสดงถึงการเคารพผู้มารับบริการในฐานะบุคคล (ทัศนา บุญทอง 2531 : 13-14) และในการดูแลนั้นๆ สิ่งที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนจะต้องกระทำคือ การเปลี่ยนแผนการดำเนินชีวิตที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพเพื่อให้ชีวิตยืนยาวที่สุด และในชีวิตที่ยืนยาวนั้น จะต้องมีจิตใจที่ดี ซึ่งความรับผิดชอบที่จะทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของชีวิตและสุขภาพนั้นเอง โดยมีเจ้าหน้าที่อนามัยเป็นที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น (สมจิต หนุเจริญกุล 2531 : 11-12) แนวคิดในการดูแลสุขภาพวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุคือแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การพยาบาลเมื่อป่วยและการฟื้นฟูสภาพตามภาวะสุขภาพของแต่ละคน โดยให้การดูแลบุคคลทั้งคน ให้อิสระในการตัดสินใจและ รับผิดชอบในการกำหนดภาวะสุขภาพของตนเอง

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า