สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เริ่มให้ลูกกินข้าวและอาหารอื่นนอกจากนม ได้เมื่อไร

เริ่มให้ลูกกินข้าว

เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายคน คงสงสัยและอยากรู้ว่า เมื่อไรถึงจะเริ่มให้ลูกกินข้าวหรืออาหารอื่นๆได้ เรามาดูกันว่าหลักการให้อาหารเด็กตั้งแต่แรกเกิด ไปจนกระทั่งอายุ 1 ขวบ จะเริ่มให้อาหารอื่นได้เมื่อไร และปริมาณมากน้อยเพียงใด ตามรายละเอียดด้านล่าง

ในช่วงสามเดือนแรก ให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว ส่วนอาหารเสริมอื่น ๆ ควรให้ลูกกินดังนี้

อายุ 3 เดือน – ควรให้ข้าวบดผสมน้ำซุปสลับกับกล้วยสุกครูด วันละ 1-2 ช้อนชา เพื่อฝึกให้ลูกชินกับอาหารที่แข็งขึ้น

อายุ 4-5 เดือน – กินข้าวบด-ไข่แดง ข้าวบดดับ ข้าวบดผักหรือ ถั่วต้มเปื่อย

อายุ 6 เดือน – ให้เด็กกินอาหารแทนนมแม่ได้ 1 มื้อ

ตั้งแต่ 7-8 เดือน – ให้ผักบดละเอียด ผลไม้ที่มีกากไม่มากนัก พยายามหมุนเวียนอาหารเหล่านี้ให้กับเด็กไปเรื่อย ๆ

อายุ 9 เดือน – กินอาหารแทนนมได้ 2 มื้อ

เมื่อ 1 ขวบ – กินอาหารครบทั้ง 3 มื้อเหมือนผู้ใหญ่ โดยยังต้องให้นมอยู่อีกวันละ 2-3 มื้อ

หลักการให้อาหารเสริมกับลูก

  1. เมื่อให้อาหารเสริมในตอนแรกๆ ลูกอาจจะปฏิเสธ เพราะ ไม่คุ้นเคย หรือไม่ชอบรสอาหาร คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรไปบังคับ แต่ควรจะลองให้ใหม่จนทารกยอมรับอาหารนั้น ๆ
  2. ไม่ควรให้น้ำหวานเช่นกลูโคส น้ำอัดลม แม้ลูกจะชอบอาหาร ที่มีรสหวาน เพราะระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้เด็กไม่มีความหิว เกิดปัญหาไม่ยอมกินอาหารที่เสริมให้
  3. หากลูกท้องผูก ต้องให้พวกน้ำส้มคั้น มะละกอสุก เนื้อส้ม การให้อาหารเสริมที่ถูกต้อง และเพียงพอกับความต้องการของลูกน้อย จะทำให้ลูกเติบโต แข็งแรง และมีนิสัยการกินที่ดีในเวลาต่อมา

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า