สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

รายงานโรคทางเดินหายใจในอำเภอแม่เมาะ

รายงานผลการสอบสวนโรคทางเดินหายใจประชาชน หมู่ 1 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ วันที่ 5 ตุลาคม 2535

สืบเนื่องจากทางอำเภอแม่เมาะได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนบ้านสบป้าด หมู่ที่ 1 ว่าได้มีประชาชนในหมู่บ้านเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนมาก จะมีอาการคล้ายๆ กัน คือเจ็บหน้าอก หายใจฝืด แน่นหน้าอก แสบจมูก ต้นไม้ต่างๆ ได้รับความเสียหาย ใบจะมีลักษณะไหม้ เกรียม เหมือนถูกเผา ประชาชนเล่าว่าก่อนที่จะมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ วันที่ 25-27 กันยายน 2535 ตอนช่วงเช้าได้เห็นกลุ่มควันหนามีกลิ่นเหม็นของถ่านหิน หลังจากนั้นก็เริ่มมีอาการดังกล่าว โรงพยาบาลแม่เมาะ พร้อมด้วยคณะสาธารณสุขจังหวัดลำปาง คณะสาธารณสุขและฝ่ายปกครองอำเภอแม่เมาะได้ออกดำเนินการออกสำรวจและรักษาโรคโดยเร่งด่วน ผลจากการดำเนินการสรุปการดำเนินงานขั้นต้นดังนี้

1. มีผู้เข้าร้องเรียนในบริเวณบ้านสบป้าดประมาณ 200 คน ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่องการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจและพืชผลทางการ เกษตรเสียหาย

2. ในจำนวนผู้ร้องเรียนมีผู้ป่วย เข้าทำการรักษาที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่โรงพยาบาลแม่เมาะทั้งสิ้น 71 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเจ็บป่วยด้วยโรคโพรงจมูกอักเสบ คออักเสบ เยื่อบุตาอักเสบและบางส่วนมี อาการหลอดลมอักเสบ หลอดลมตีบ

3. ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ เข้าทำการรักษาได้ผลดังนี้

3.1 ผู้ป่วยที่เข้าทำการรักษามีอายุ 20-68 ปี อายุเฉลี่ย 40 ปี

3.2 เพศชายจำนวน 15 คน คิดเป็น 21.1% เพศหญิงจำนวน 56 คน คิดเป็น 78.9%

3.3 ผู้ป่วยทั้งหมดมีที่พักอาศัยอยู่ในหมู่ 1 ตำบลสบป้าด บ้านพักส่วนใหญ่ติดถนน จำนวน 90.1% อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าเฉลี่ย 5 กิโลเมตร โดยมีบ้านที่อยู่ใกล้สุดห่างจากโรงไฟฟ้า 1 กิโลเมตร และไกลสุดห่างจากโรงไฟฟ้า 9 กิโลเมตร

3.4 ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัวที่อยู่ในบ้านเดียวกันประมาณ 3-5 คน โดยครอบครัวที่มีสมาชิกมากที่สุด 9 คน น้อยที่สุด 2 คน เชื้อเพลิงที่ใช้ในบ้าน 47.9% ใช้ถ่าน 47.9% ใช้ฟืน 4.2% ใช้แก๊สหุงต้ม น้ำที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้น้ำบ่อ 93.0% ใช้นํ้าฝน 5.6% และอีก 1.4% ใช้นํ้าที่ได้จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ลักษณะนํ้าส่วนใหญ่ใสไม่มีสีไม่มีกลิ่นจำนวน  55.5% แต่มีชาวบ้านจำนวน 7% ตอบว่านํ้าที่ใช้มีสีหรือนํ้าขุ่น เป็นฝ้า

3.5 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านได้กลิ่นผิดปกติมากระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2535 ระหว่างช่วง เวลา 06.00-09.00 โดยตอบว่า เป็นกลิ่นถ่านหิน 96.2% กลิ่นแก๊ส 26.8% กลิ่นฝุ่น 1.9% กลิ่นไข่เน่า 1.9% กลิ่นควันไฟ 1.9% ในข้อนี้หมายถึงการได้กลิ่นมากกว่า 1 ชนิดของชาวบ้านและมีอาการแสบจมูก แสบคอ แสบตา เวียนศีรษะ ไอ จาม หายใจขัดไม่โล่ง แน่นหน้าอก โดยคนไข้เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหอบหืด 5.6%

3.6 ลักษณะพฤติกรรมการสูบบุหรี่ชาวบ้าน หมู่ 1 ตำบลสบป้าดที่เข้ารับการรักษา จำนวน 71 คนนี้ให้ประวัติการสูบบุหรี่ของสมาชิกในครอบครัวว่า 74.6% มีประวัติการสูบบุหรี่และ 25.4% ไม่สูบ บุหรี่ในจำนวนผู้สูบบุหรี่ในบ้าน 1 คนมี 50.9% 2 คนมี 28.3% 3 คนมี 17.0% 4 คนมี 3.8% ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะให้ประวัติการสูบบุหรี่นานเกิน 10 ปี

4. ผลตรวจสมรรถภาพปอด
คณะสอบสวนโรคได้ทำการตรวจวัดสมรรถภาพปอดผู้ป่วยจำนวน 70 ราย โดยให้เป่าเครื่องวัดสมรรถภาพปอด (mini-WRIGHT peak Flowmeter) คนละ 3 ครั้ง ผลการตรวจสมรรถภาพปอด

ครั้งที่ 1 เป่าได้ในช่วง 150-600 (L/min) ค่าเฉลี่ย 379.0 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 81.55

ครั้งที่ 2 เป่าได้ในช่วง 140-490 (L/min) ค่าเฉลี่ย 369.57 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 79.50

ครั้งที่ 3 เป่าได้ในช่วง 140-590 (L/min) ค่าเฉลี่ย 374.29 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 78.79

เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานพบว่า ค่าที่ได้จากการวัดสมรรถภาพปอดตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้สำหรับอายุเฉลี่ย 40 ปี
เพศชายจะมีค่าสมรรถภาพปอด (PEF) อยู่ในช่วง 610-660 (L/min)
เพศหญิงจะมีค่าสมรรถภาพปอด (PEF) อยู่ในช่วง 470-500 (L/min)

5. ค่าผลการตรวจอุตุนิยมวิทยาจังหวัดลำปาง
วันที่ 3 ตุลาคม อุณหภูมิต่ำสุด 22.0 องศาเซลเซียส      เวลา    04.0 น.
อุณหภูมิสูงสุด 32.2 องศาเซลเซียส                                   เวลา    14.0 น.
ความกดอากาศสูงสุด 1014.36 มิลลิบาร์                          เวลา    10.0 น.
ความกดอากาศตาสุด 1005.73 มิลลิบาร์                          เวลา    16.0 น.

วันที่ 4 ตุลาคม อุณหภูมิต่ำสุด 22.7 องศาเซลเซียส      เวลา    04.0 น.
อุณหภูมิสูงสุด 31.02 องศาเซลเซียส                                เวลา    14.0 น.
ความกดอากาศสูงสุด 1012.06 มิลลิบาร์                          เวลา    10.0 น.
ความกดอากาศตํ่าสุด 1006.76 มิลลิบาร์                          เวลา    16.0 น.

วันที่ 5 ตุลาคม อุณหภูมิต่ำสุด 22.2 องศาเซลเซียส       เวลา    04.00 น.
อุณหภูมิสูงสุด 31.6 องศาเซลเซียส                                    เวลา    14.00 น.
ความกดอากาศสูงสุด 1013.70 มิลลิบาร์                           เวลา    10.00 น.
ความกดอากาศต่ำสุด 1007.3 มิลลิบาร์                             เวลา 16.00น.

6 สรุป
ประชาชนหมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าด เจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจอันเกิดจากมลพิษในอากาศ ที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในระหว่างวันที่ 3-5 ตุลาคม 2535 ประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนบนและบางส่วน เจ็บป่วยโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง

ประชาชนหมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าด มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจจะเกิดจากการได้รับมลพิษในอากาศปริมาณเล็กน้อย เป็นเวลานาน

สรุปผลการดำเนินงาน
-จากการออกตรวจร่างกายของประชาชนในครั้งนี้พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้น
-ผู้ป่วยที่พบในครั้งนี้มีความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น
-จากการตรวจสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยพบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐาน

7 ข้อเสนอแนะ
7.1 ควรจะมีการเฝ้าระวังโรคทางเดินหายใจในบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าดและบริเวณใกล้เคียง เพื่อจะได้ทราบปัญหาและดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริเวณนี้อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

7.2 ควรส่งใบไม้และผลิตผลทางการ เกษตรที่ได้รับความเสียหายตรวจหาสารพิษและสารเคมีที่ตกค้าง เพื่อหาต้นเหตุที่แท้จริง

7.3 ควรจะมีการเฝ้าระวังทางคุณภาพอากาศ โดยใช้เครื่องตรวจคุณภาพอากาศที่ทันสมัย เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศได้อย่างใกล้ชิดโดยติดตั้งที่สถานีอนามัยสบป้าด

7.4 ควรมีการเก็บน้ำกินนํ้าใช้ซึ่งชาวบ้านได้จากน้ำบ่อ นํ้าฝนส่งตรวจเพื่อหาโลหะหนัก และสารเคมีที่ปนเปื้อน เพื่อเป็นข้อมูลให้ชาวบ้านในการพิจารณาใช้นํ้าได้อย่างถูกต้อง

7.5 ควรมีการประสานงานในระดับสูง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและระยะยาวต่อไป

รายงานผลการสอบสวนโรคทางเดินหายใจ
ประชาชนหมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ
วันที่ 20 ตุลาคม 2535

สืบเนื่องจากทางโรงพยาบาลแม่เมาะได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนบ้านสบป้าด หมู่ที่ 1 ว่าได้มีประชาชน เจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ มีอาการเจ็บหน้าอก แสบจมูก มีนํ้ามูก เจ็บคอประมาณ 300 คน โดยได้รับมลพิษในอากาศ เวลาประมาณ 06.00 น. วันที่ 20 ตุลาคม 2535 โดยโรงพยาบาลแม่เมาะ  คณะสาธารณสุข อำเภอแม่เมาะ และฝ่ายปกครองอำเภอแม่เมาะ ได้ออกดำเนินการออกสำรวจ และรักษาโรคโดยเร่งด่วนผลการดำเนินงานขั้นต้นดังนี้

1. มีผู้ป่วยเข้าทำการรักษาที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่โรงพยาบาลแม่เมาะ 213 รายได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดจากโรงพยาบาลแม่ เมาะ และคนไข้จำนวน 47 รายได้รับยาจากโรงพยาบาลการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ และอีก 168 รายได้รับยาจากโรงพยาบาลแม่เมาะ แบ่งเป็นเพศชาย 51 คน เพศหญิง 117 คน แบ่งช่วงอายุแยกเป็น

วัยทารก (0-1 ปี) จำนวน 2 ราย คิดเป็น 1.19% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยก่อนเรียน (1-4 ปี) จำนวน 6 ราย คิดเป็น 3.57% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยก่อนเรียน (5-14 ปี) จำนวน 12 ราย คิดเป็น 7.14% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยแรงงาน (15-44 ปี) จำนวน 93 ราย คิดเป็น 55.35% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยกลางคน (45-60 ปี) จำนวน 34 ราย คิดเป็น 20.23% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 21 ราย คิดเป็น 12.50% ของผู้ป่วยทั้งหมด

2. อาการที่ตรวจพบสามารถแยกประเภทความผิดปกติดังนี้คือ
คออักเสบ    157 ราย คิดเป็น 93.45%
โพรงจมูกอับเสบ 132 ราย คิดเป็น 78.10%
ตาอักเสบ    77 ราย คิดเป็น 45.80%
ทอนซิลอักเสบ 32 ราย คิดเป็น 19.04%
ปอดอักเสบ 4 ราย คิดเป็น 2.38%
ไซนัสอักเสบ, ท้องร่วง, กล้ามเนื้ออักเสบ อย่างละ 1 คิดเป็น 0.59%

อาการที่จำแนกดังกล่าวส่วนใหญ่จะพบว่าผู้ป่วย 1 คน จะมีอาการผิดปกติหลายอย่างดังต่อไปนี้คือ
2.1 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบและโพรงจมูกอักเสบ 65 ราย คิดเป็น 38.69%
2.2 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบ, โพรงจมูกอักเสบ, ตาอักเสบ 38 ราย คิดเป็น 22.60%
2.3 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบ, ทอนซิลอักเสบ, โพรงจมูกอักเสบ, ตาอักเสบ 21 ราย คิดเป็น 12.50%
2.4 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบ 10 ราย คิดเป็น 5.90%
2.5 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบและตาอักเสบ 7 ราย คิดเป็น 4.16%
2.6 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบและทอนซิลอักเสบ 6 ราย คิดเป็น 3.56%
2.7 ผู้ป่วยมีอาการจมูกอักเสบ 3 ราย คิดเป็น 1.78%
2.8 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบ, ทอนซิลอักเสบ, ตาอักเสบ 3 ราย คิดเป็น 1.78%
2.9 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบ, ปอดอักเสบ, ตาอักเสบ 3 ราย คิดเป็น 1.78%
2.10 ผู้ป่วยมีอาการคออักเสบ, ทอนซิลอักเสบ 3 ราย คิดเป็น 1.78%
2.11 ผู้ป่วยคออักเสบและปอดอักเสบ 1 ราย คิดเป็น 0.59%

3. นอกจากนี้ได้ส่งผู้ป่วย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่เมาะ 2 ราย คือ
3.1 ผู้ป่วยเด็กชายอายุ 2 ปี มาด้วยอาการไข้, ไอ, หอบมาได้ 1 วัน เข้ารับการรักษาจากการตรวจเบื้องต้นพบว่ามีภาวะปอดอักเสบ ให้การรักษาคือ
-Oxygen mask 6 litre/min
-Amoxycillin Syrup 1 ช้อนซา ก่อนอาการและก่อนนอน
-ParacctamaI Syrup 1 ช้อนชาทุก 6 ชั่วโมง เวลามีไข้

3.2 ผู้ป่วยหญิงอายุ 75 ปี มาด้วยอาการแขนขาข้างขวาไม่มีแรง ลุกเดินไปไหนไม่ได้ เป็นมาก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน ได้รับการรักษาคือ
-Hctz 1 เม็ดหลังอาหาร เช้า
-Asa (gr 5) 1 เม็ดหลังอาหาร เช้า
-Vitamin B Complex 1 เม็ด 3 เวลาหลังอาหารได้รับการวินิจฉัย เป็น Cerebral Thrombosis

4. นอกจากนี้ยังมีรายงานจากผู้ป่วยอาจารย์ใหญ่บ้านสบป้าดว่า ผู้ป่วยชื่อ นางสมภพ จันทร์สุกปุก อายุ 27 ปี อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าด ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลการไฟฟ้าแม่เมาะ ด้วยการอาเจียน, เวียนศีรษะ, ใจสั่นหลังจากที่ได้รับประทานแกงผักกาดที่ปลูกในหมู่บ้านแต่อาการไม่ดีขึ้น ได้รับการส่งต่อไปที่โรงพยาบาลเอกชน เขลางค์ เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 20 ตุลาคม 2535 และ รายงานล่าสุดวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ได้ติดตามว่าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว

5. ข้อเสนอแนะ
5.1 ควรจะมีการเฝ้าระวังโรคทางเดินหายใจ ในบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าดและบริเวณใกล้เคียง เพื่อจะได้ทราบปัญหาและดำ เนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริ เวณนี้อยู่ใกล้โรงไฟฟ้า
แม่เมาะ
5.2 ควรนำใบไม้ และผลิตผลทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายตรวจหาสารพิษและสารเคมีที่ตกค้าง เพื่อหาต้นเหตุที่แท้จริง
5.3 ควรจะมีการเฝ้าระวังทางคุณภาพอากาศ โดยใช้เครื่องตรวจคุณภาพอากาศที่ทันสมัย เพื่อเฝ้าระะวังคุณภาพอากาศได้อย่างใกล้ชิดโดยติดตั้งที่สถานีอนามัยสบป้าด
5.4 ควรมีการเก็บนํ้ากินนํ้าใช้ ซึ่งชาวบ้านได้จากน้ำบ่อ นํ้าฝนส่งตรวจ เพื่อหาโลหะหนัก และสารเคมีที่ปนเปื้อน เพื่อเป็นข้อมูลให้ชาวบ้านในการพิจารณาใช้น้ำได้อย่างถูกต้อง
5.5 ควรมีการประสานงานในระดับสูง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและระยะยาวต่อไป

อาการของผู้ที่ได้รับมลภาวะ
วันที่ 20 ตุลาคม 2535
health-0029 - Copy

อาการของผู้ป่วยที่เริ่มได้รับมลภาวะ

วันที่ 20 ตุลาคม 2535

health-0029 - Copy (2)

หมายเหตุ  ผู้ป่วยอาจมีอาการมากกว่า 1 อย่าง

ผลการตรวจสอบสมรรถภาพปอดหมู่ที่ 1 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ

วันที่ 20 ตุลาคม 2535

health-0030 - Copy

เวลาที่เริ่มเกิดอาการผิดปกติ

วันที่ 20 ต.ค. 2535

health-0031 - Copy

เวลาที่ผู้ป่วยเกิดอาการรุนแรง

วันที่ 20 ต.ค.2535

health-0031 - 1

รายงานสอบสวนโรคทางเดินหายใจ ประชาชน หมู่ที่ 1 ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ
วันที่ 22 ตุลาคม 2535

สืบเนื่องจากโรงพยาบาลแม่เมาะได้รับคำร้องเรียนจากประชาชนบ้านแม่จาง หมู่ 1 ตำบล นาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ว่าได้มีประชาชนป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ มีอาการเจ็บ แน่นหน้าอก แสบจมูก มีน้ำมูก หายใจไม่ออกประมาณ 200 คน และได้กลิ่นควันจากการไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งจะมีอาการตั้งแต่ 1-3 วันที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลแม่เมาะได้รับรายงานเวลา 20.00 น. ของวันที่ 21 ตุลาคม 2535 และได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอและกำหนดแผนที่จะปฏิบัติงานเวลา 9.00 น. วันที่ 22 ตุลาคม 2535 สรุปการดำเนินงานการออกสำรวจและรักษาโรคดังนี้คือ

1. มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลแม่เมาะและสาธารณสุขอำเภอแม่เมาะจำนวน 209 ราย เป็นผู้ป่วยโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคที่อาจเกิดจากมลภาวะเป็นพิษจำนวน 39 ราย คงเหลือโรคระบบทางเดินหายใจที่ได้รับการรักษาและรับยา 177 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 61 ราย, เพศหญิง 116 คนแบ่งเป็นช่วงอายุดังนี้

วัยทารก (0-1 ปี) จำนวน 9 ราย คิดเป็น 5.08% ของผู้ป่วยทั้งหมด วัยก่อนเรียน (1-4 ปี) จำนวน 16 ราย คิดเป็น 9.03% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยเรียน (5-14 ปี) จำนวน 30 ราย คิดเป็น 16.94% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยแรงงาน (15-44 ปี) จำนวน 73 ราย คิดเป็น 41.24% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยกลางคน (45-60 ปี) จำนวน 24 ราย คิดเป็น 13.55% ของผู้ป่วยทั้งหมด
วัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จำนวน 25 ราย คิดเป็น 14.12% ของผู้ป่วยทั้งหมด

จะเห็นว่าผู้ที่ได้รับการตรวจรักษาจะอยู่ในช่วงวัยแรงงาน เพราะสามารถมาตรวจรับการรักษาได้สะดวก

2. อาการที่ตรวจพบแยกประเภทความผิดปกติดังนี้คือ
คออักเสบ 151 ราย คิดเป็น 85.31%
ตาอักเสบ    54 ราย คิดเป็น 30.50%
โพรงจมูกอักเสบ 53 ราย คิดเป็น 29.94%
ทอนซิลอักเสบ 23 ราย คิดเป็น 12.99%

ผู้ป่วยบางรายมีอาการมากกว่า 1 อย่าง สรุปดังนี้คือ
-มีอาการคออักเสบร่วมกับจมูกและตาอักเสบจำนวน 35 ราย คิดเป็น 19.77%
-มีอาการคออักเสบร่วมกับจมูกอักเสบจำนวน 35 ราย คิดเป็น 19.77%
-มีอาการคอและทอนซิลอักเสบจำนวน 13 ราย คิดเป็น 7.34%
-มีอาการตาและคออักเสบจำนวน 13 ราย คิดเป็น 7.34%
-มีอาการคอ, จมูก, ทอนซิลอักเสบจำนวน 7 ราย คิดเป็น 3.9%
-มีอาการจมูกและทอนซิลอักเสบจำนวน 1 ราย คิดเป็น 0.56%
-มีอาการทอนซิลและคออักเสบจำนวน 1 ราย คิดเป็น 0.56%

จะเห็นไต้ว่าผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการร่วมมากกว่า 1 อย่าง ถึง 59.8% ของผู้ป่วยทั้งหมดโดยเฉพาะมีอาการตั้งแต่ 3 อย่างคือ คออักเสบ, จมูกและตาอักเสบร่วมกันจะสูงที่สุด แต่จะมีอาการ 4 อย่างเพียง 1 รายเท่านั้น

3. นอกจากนี้จากการที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ตรวจรักษาผู้ป่วยและพบว่ามีผู้ป่วยอาการหนักปานกลาง ควรได้รับการตรวจรักษาวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษ จึงได้ส่งด่วนมารับการรักษาที่โรงพยา บาลแม่เมาะจำนวน 4 ราย ดังนี้คือ

1. ผู้ป่วยหญิงชื่อ นางสาวิตรี  จรถนอม อายุ 33 ปี เพศหญิง มาด้วยอาการเวียนศีรษะ แสบตา อ่อนเพลีย เป็นมาได้ 10 กว่าวันได้รับการรักษาที่สถานีอนามัยอาการไม่ทุเลาเข้ารับการรักษาจาก การตรวจพบว่า เป็นโรคระคายเคืองทาง เดินหายใจอย่าง เฉียบพลัน

2. ผู้ป่วยชายชื่อ ด.ช.ประสงค์ จันทร์ต่อม อายุ 2 ปี 8 เดือน มาด้วยอาการไอ มีน้ำมูกข้นมา เป็นเวลา 4 วัน เข้ารับการรักษาจากการตรวจร่างกาย เบื้องต้นพบว่ามีหลอดลมตีบอย่างมาก

3. ผู้ป่วยชายชื่อ ด.ช.ยศพร  จันดาแว่น อายุ 11 ปี มาด้วยอาการไอ แสบจมูก แสบคอ 4 วัน เข้ารับการรักษาจากการตรวจร่างกาย เบื้องต้นพบว่า เป็นโรคหลอดลมตีบ

4. ผู้ป่วยชายชื่อ นายแก้วมูล  แสงเมืองเย็น อายุ 72 ปี มาด้วยอาการแน่นหน้าอก หายใจขัดจุกแน่นท้องมาเป็น เวลา 4 วันจากการตรวจร่างกายเบื้องต้นพบว่า เป็นโรคหลอดลมและถุงลมตีบ เรื้อรัง

สรุปผลการดำเนินการ
1. ผู้ป่วยที่พบที่หมู่ 1 ตำบลนาสัก เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่พบโรคระบบทางเดินหายใจที่อาจเกิดขึ้นกับมลภาวะอากาศ เช่นเดียวกับบ้านสบป้าด หมู่ 1 ตำบลแม่เมาะพบว่าผู้ป่วยตำบลนาสัก มีอาการ คล้ายกัน แต่มีความรุนแรงของโรคน้อยกว่า

2. พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่มีการอักเสบของเยื่อบุอวัยวะช่องทางเดินหายใจหลายที่ด้วยกัน

3. พบผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ข้อเสนอแนะ
4.1 ควรมีการเฝ้าระะวังโรคทางเดินหายใจในบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลนาสัก เพื่อจะได้ทราบปัญหาและดำเนินการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริเวณนี้อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

4.2 ควรส่งใบไม้และผลิตผลทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายตรวจหาสารพิษและสารเคมีที่ตกค้าง เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง

4.3 ควรจะมีการเฝ้าระวังทางคุณภาพอากาศ โดยใช้เครื่องตรวจคุณภาพอากาศที่ทันสมัย เพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศได้อย่างใกล้ชิดโดยติดตั้งที่วัดแม่จาง หมู่ 1 ตำบลนาสัก

4.4 ควรมีการเก็บน้ำกินนํ้าใช้ ที่ชาวบ้านได้จากนํ้าบ่อ นํ้าฝน ส่งตรวจเพื่อหาโลหะหนัก และสารเคมีที่ปนเปื้อน เพื่อเป็นข้อมูลให้ชาวบ้านในการพิจารณาใช้น้ำได้อย่าถูกต้อง

4.5 ควรมีการประสานงานในระดับสูง เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและระยะยาวต่อไป

รายงานผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะที่เข้ารับการรักษากับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2535
1. เป็นผู้ป่วยที่มาจาก
หมู่ 1 ต.สบป้าด  จำนวน 458 คน หมู่ 3 ต.สบป้าด จำนวน 8 คน
หมู่ 1 ต.นาสัก  จำนวน 39 คน อำเภอแม่ทะ  จำนวน 1 คน

2. ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา
วันที่ 27 ต.ค. 35 จำนวน 56 คน วันที่ 29 ต.ค. 35 จำนวน 126 คน
วันที่ 28 ต.ค. 35 จำนวน 173 คน วันที่ 30 ต.ค. 35 จำนวน 151คน

3. ในจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เข้ารับการรักษาได้แจ้งว่า
ได้กลิ่นผิดปกติ    87.4%
ไม่ได้กลิ่น    12.6%

ลักษณะของกลิ่นที่ผิดปกติ
แจ้งว่าได้กลิ่นลักษณะกลิ่นถ่านหิน    76.4%    กลิ่นคล้ายก๊าซ0.4%

4. ในจำนวนผู้แจ้งว่าได้กลิ่นผิดปกติทั้งหมด ได้แจ้งถึงเวลาที่ได้กลิ่นผิดปกติ ดังต่อไปนี้
health-0034 - Copy

health-0035 - Copy

5. วันที่ได้รับมลภาวะส่วนใหญ่ชาวบ้านได้แจ้งว่าได้รับมลภาวะระหว่างวันที่ 3-5 ต.ค. 35 และระหว่างวันที่ 20 ต.ค. 35

6. ชาวบ้านจำนวน 420 คน จากจำนวน 98.8% แจ้งว่าได้รับกลิ่นแล้วมีอาการผิดปกติมีเพียง 1.2% ที่ไม่มีอาการผิดปกติ

7. อาการที่ชาวบ้านแจ้งว่ามีอาการผิดปกติทั้งหมด (ส่วนใหญ่จะมีมากกว่า 1 อย่าง) มีดังต่อไปนี้

สรุปจากตาราง จะเห็นได้ว่า เมื่อชาวบ้านได้รับกลิ่นถ่านหิน อาการที่ชาวบ้านจะมีเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ การแน่นหน้าอก เวียนศีรษะ แสบจมูก แสบตา แสบคอ ไอ เจ็บคอ เหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาการมากกว่า 1 อย่างร่วมกัน

จากการสอบถามชาวบ้านที่เข้ารับการรักษา เมื่อเกิดอาการผิดปกติข้างต้นแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่จะพบแพทย์ คิดเป็น 61.7% ไม่ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คิดเป็น 34.9% ไม่ไปพบ แพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่หายามารับประทานเอง คิดเป็น 3.4%
ในจำนวนผู้ที่แจ้งว่าได้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อทำการรักษา จำแนกตามจำนวนครั้งของการรักษา

ไปตรวจรักษา 1 ครั้ง คิดเป็น 67.6%
ไปตรวจรักษา 2 ครั้ง คิดเป็น 22.5%
ไปตรวจรักษา 3 ครั้ง คิดเป็น 17.0%
ไปตรวจรักษา 4 ครั้ง คิดเป็น 02.8%

ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคอะไรมาก่อนหน้านี้ มีผู้ป่วยที่ทราบว่าตนเองเคยป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ 2 คน หวัด 2 คน โรคหัวใจ 2 คน คออักเสบ 1 คน ไซนัสอักเสบ 1 คน

ผลการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับมลภาวะโดยแพทย์สรุปได้ดังต่อไปนี้

1. อัตราการหายใจเฉลี่ย 22 ครั้งต่อนาที

2. ชีพจรเฉลี่ย 81 ครั้งต่อนาที

3. ตรวจพบเยื่อบุตาอักเสบ 34.4% มีอาการบวมของหนังตา 0.2% อาการน้ำตาไหล 0.2%

4. ตรวจพบมีหูนํ้าหนวก 1.1%

5. ตรวจพบโพรงจมูกอักเสบ 16.8% นํ้ามูกไหล 1.9% ริดสีดวงจมูก 0.2% โพรงจมูกเสื่อม 0.4%

6. ไม่พบความผิดปกติของไซนัส

7. ตรวจพบคออักเสบมาก 41.9% คออักเสบเล็กน้อย 30.5% คออักเสบมีจุดเลือด 0.4%

8. ตรวจพบทอนซิลอักเสบเล็กน้อย 1.7% ทอนซิลอักเสบมาก 1.5%

9. ตรวจพบผู้ป่วยมีอาการหอบ 7.8%

10. ตรวจพบการเต้นผิดปกติของหัวใจ 0.4%

11. ตรวจพบโรคผิวหนังจากการระคายเคือง 0.6%

12. ตรวจพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเมื่อทดสอบด้วยเครื่อง mini Wright Peak FLOW Meter

สรุป
1. ผู้ป่วยใหม่ที่ เข้ารับการรักษาจากหน่วยแพทย์โรงพยาบาลแม่ เมาะระหว่างวันที่ 27-30 ตุลาคม 2535 ส่วนใหญ่ได้รับกลิ่นผิดปกติจากถ่านหินระหว่าง เวลา 05.00 น.-10.00 น. ในวันที่ 20 ตุลาคม 2535 และจะเกิดอาการผิดปกติด้วยโรคทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง บางรายมีอาการผิดปกติทางระบบอาการทางโพรงจมูก และเยื่อบุตาอักเสบ

2. จากการตรวจร่างกายโดยแพทย์พบว่า ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติของอวัยวะหลายส่วนร่วมกันอันเนื่องจากการได้รับสารระคายเคืองจากภายนอก ทำไห้เกิดอาการคออักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ หอบ เหนื่อย หายใจเร็วและชีพจรเต้นเร็ว บางส่วนมีอาการผิดปกติของผิวหนังและทอนซิล จากการทดสอบสมรรถภาพปอดพบว่าต่ำกว่า เกณฑ์มาตรฐาน

ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพอนามัยในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับมลภาวะทางอากาศได้แก่บ้านสบป้าด บ้านแม่จาง บ้านสบเติ๋น บ้านสวนป่า บ้านสบเมาะ ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

2. ควรมีการศึกษาหาค่าระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป เนื่องจากประชาชนที่ได้รับมลภาวะจะรู้สึกผิดปกติก่อนที่คุณภาพอากาศเกินมาตรฐาน

3. ควรเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพอนามัยที่อาจจะเกิดเป็นปัญหาขึ้นจากสาเหตุอื่น เช่น จากก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์ ฝุ่น โอโซน นอกเหนือไปจากการเฝ้าระวังปัญหาทางด้านสุขภาพที่เกิดจากซัล เฟอร์ไดอ๊อกไซด์

ที่มา : นายแพทย์ไชยนันท์  ทยาวิวัฒน์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่เมาะ จ.ลำปาง

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า