สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ยาสลบ

ความรู้ทั่วไป
ยาสลบเป็นยาที่กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่รู้สึกตัวหมดสติโดยสิ้นเชิง ปลุกไม่ตื่นไม่รู้สึกเจ็บปวด กล้ามเนื้อคลายตัว รี เฟล็กซ์ต่างๆ น้อยลง ฯลฯ ในขณะที่กำลังสลบด้วยฤทธิ์ยาอยู่นั้นสามารถทำการผ่าตัดได้โดยผู้ป่วยไม่แสดงอาการเจ็บปวด และไม่อาจจำเหตุการณต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้วผู้ป่วยจะฟื้นคืนสติได้อีก
ยาสลบแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. ยาสลบชนิดสูดดม ใช้โดยการสูดดมเข้าสู่ทางเดินหายใจ ข้อดีของยาชนิดนี้คือสามารถควบคุมความลึกของการสลบได้โดยการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาที่ใช้ในการสูดดม ยากลุ่มนี้ยังแบ่งได้อีกเป็น 2 ชนิด คือ
ก. ยาสลบชนิดแก๊ส ได้แก่ ซัยโคลโปรเปน (Cyclopropane), ไนตรัสอ๊อกไซด์ (Nitrous oxide) และ เอธีลีน (Ethylene) เป็นต้น
ข. ยาสลบชนิดของเหลวที่ระเหยได้ เช่น ไดเอธิล อีเธอร์ (Diethyl ether), คลอโรฟอร์ม (Chlorform), ธาโลเธน (Halothane) ฯลฯ
2. ยาสลบชนิดฉีด ใช้โดยการฉีดเข้าสู่ร่างกายยาส่วนใหญ่ที่ใช้เป็นยาพวก Barbiturates กลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นมาก (Ultra-short acting barbiturates เช่น ไธโอเพนตาล (Thiopental) ชื่อการค้าเช่น เพนโตธาล (Pentothal) เมธิตูราล (Methitural) ชื่อการค้าเช่น เนอราวาล (Neraval) และ เมโธเฮ็กซิตาล (Methohexital) ชื่อการค้าเช่น เบรวิตาล (Brevital) ฯลฯ ยาอื่นๆ ได้แก่ ไตรโบรเมธานอล (Tribr methanol) ฮัยดร๊อกซิไดโอน (Hydroxydione) และยาพวก เฟนิซัยคลิดีน (Phenicyclidine) ยาสลบ
ชนิดฉีดเหล่านี้มักให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ข้อดีของยาพวกนี้คือทำให้สลบหรือหมดสติอย่างรวดเร็ว แต่ระงับความเจ็บปวดได้น้อย โดยมากนิยมใช้กับยาอื่นๆ เช่น ยาที่ยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ผลของยาสลบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายอาจมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น มีแก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (co2) ในเลือดมากเกินไป หรือ เลือดขาดออกซิเจน (o2) หรือมิฉะนั้นอาจเนื่องจากฤทธิ์ของยาที่กดระบบประสาทส่วนกลาง เป็นที่เชื่อกันว่าการสลบเกิดจากฤทธิ์ของยาสลบที่กดการทำงานของสมองส่วนที่เรียกว่า Reticular activating system (RAS) และการที่ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้เป็นผลจากการที่ยากดการทำงานของไขสันหลัง ยาสลบส่วนใหญ่จะกดการหายใจ การไหลเวียนเลือด ความดันเลือดลดลง หัวใจทำงานผิดปกติอาจเต้นผิดจังหวะ (Ventricular arrhythmias) ฯลฯ หลังจากฟื้นจากการสลบผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ ยาสลบบางขนานมีฤทธิ์ทำลายตับ
ไนตรัสอ๊อกไซด์ (Nitrous oxide)
ไนตรัสอ๊อกไซด์ (Nitrous oxide, NO2) เป็นแก๊สที่มีกลิ่นหอมแต่ไม่ระเบิด ทำให้สลบและฟื้นเร็ว เมื่อใช้ในการผ่าตัดต้องให้ร่วมกับยาอื่นๆ เช่น ยาสลบชนิดฉีดหรือชนิดที่เป็นของเหลวระเหยได้รวมทั้งยาที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและ 20% O2 เป็นต้น ไนตรัสอ๊อกไซด์ (Nitrous oxide) ไม่เป็นอันตรายต่อการหายใจ การไหลเวียนเลอด ตับและไต
ประะโยชน์ที่ใช้
แก๊สนี้นิยมใช้ทางทันตกรรม และใช้ระหว่างการคลอดระยะที่ 2 เพราะระงับปวดได้ดี นอกจากนี้อาจใช้เหนี่ยวนำให้สลบ
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
การใช้แก๊สนี้ติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง จะกดไขกระดูก และถ้าใช้ด้วยความเข้มข้นสูงจะทำให้ความดันเลือดสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ
อีเธอร์ (Ether)
อีเธอร์ (Ether)ไดเอธิล อีเธอร์ (Diethyl ether) เป็นยาสลบที่มีฤทธิ์แรง กลิ่นไม่ชวนดม ติดไฟและระเบิดง่ายทำให้สลบและฟื้นช้า ระงับปวดได้ดี ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวมาก เพิ่มเสมหะและนํ้าลายจึงจำเป็นต้องให้ยาพวก อะโทรปีน (Atropine) ก่อน การวางยาสลบแก๊สนี้ทำให้หายใจลึกและเร็ว ลดการทำงานของกระเพาะและลำไส้ มีผลต่อระบบไหลเวียนเลือดเล็กน้อย ไม่ทำให้หัวใจไวต่อฤทธิ์ของอีปิเนฟรีน (epinephrine) หรือนอร์อีปิเนฟรีน (norepinephrine)
ประโยชน์ที่ใช้
อีเธอร์ (Ether) มีราคาถูกและมีความปลอดภัยในการใช้สูง ใช้เป็นยาสลบในการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องใช้เวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ นอกจากนี้อาจใช้ระงับอาการชัก แก้พิษบาดทะยักและอาจใช้ในการทำคลอด
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
ทำให้สลบช้า และค่อนข้างจะทรมานผู้ป่วย ระคายเคืองทางเดินหายใจ เสมหะมาก ฟื้นจากสลบช้าและมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
ซัยโคลโปรเปน (Cyclopropane)
ซัยโคลโปรเปน (Cyclopropane) เป็นยาสลบที่มีกลิ่นไม่ชวนดม ระเบิดง่าย ทำให้สลบเร็ว (2-3 นาที) แต่ฟื้นช้า ขึ้นกับระยะเวลาที่ให้ยา มี ความปลอดภัยในการใช้สูง ความเข้มข้นประมาณ 20-25% ก็ทำให้สลบนานพอเพียงสำหรับการผ่าตัด เมื่อเพิ่มความเข้มข้นขึ้นสูงประมาณ 40% จะทำให้การหายใจติดขัด ยานี้กดการหายใจแต่ไม่เพิ่มเสมหะ ทำให้หลอดลมหดตัว คาร์บอนไดออกไซด์ (co2),ในเลือดสูงกดหัวใจและขยายหลอดเลือดน้อยกว่าอีเธอร์ (Ether) มีผลต่อกระเพาะและลำไส้เล็กน้อย กล้ามเนื้อลายคลายตัวได้ไม่มากนอกจากจะให้ในขนาดสูงๆ เมื่อให้โดยการสูดดมจะถูกดูดซึมได้ดีและขับออกทางปอดในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ประโยชน์ที่ใช้
ยานี้เป็นยาสลบที่ใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้สูงอายุ
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ (Arrhythmias) ซึ่งต้องระวังมากในกรณีที่การหายใจไม่เพียงพอ หรือมีแก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) ในเลือดสูง (Hypercarbia) หรือได้รับยาพวกแคทีโคลามีน (Catecholamines) เช่นอีปิเนฟรีน (Epinephrine) หรือนอร์อีปิเนฟรีน (Norepinephrine) เป็นต้น เมื่อฟื้นจากการสลบจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน

คลอโรฟอร์ม (Chloroform) 
คลอโรฟอร์ม เป็นของเหลวไอระเหย กลิ่นหอม ไม่ระเบิด มีฤทธิ์แรง ระงับปวดและทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี กดการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนเลือดมีดรรชนีในการรักษาต่ำมาก ปัจจุบันไม่นิยมใช้เป็นยาสลบ
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
เป็นพิษต่อตับและไต อาจทำให้เป็นมะเร็งที่ตับ และหัวใจเต้นผิดปกติ
เอธิลีน (Ethylene)
เอธิลีน (Ethylene) เป็นแก๊สที่มีกลิ่นไม่ชวนดม ติดไฟและระเบิดง่าย จึงไม่เป็นที่นิยมใช้ มีฤทธิ์แรงกว่า N2O ทำให้สลบและฟื้นเร็วโดยไม่มีอาการตื่นเต้น แต่อาจอาเจียน ระงับปวดได้ดี ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวเล็กน้อย มักใช้ร่วมกับ 20% O2 และยาสลบอื่นๆ เช่น ยาพวกบาร์บิตูเรท ฯลฯ
ไตรคลอโรเอธิลีน (Trichloroethylene)
ไตรคลอโรเอธิลีน เป็นของเหลวไอระเหย กลิ่นหอม ไม่ติดไฟหรือระเบิด มีฤทธิ์คล้ายคลอโรฟอร์ม (Chloroform) แต่ทำให้สลบเร็วกว่า ไม่นิยมใช้เป็นยาสลบเพราะมีอันตราย แต่อาจใช้ร่วมกับ Nitrous oxide ส่วนใหญ่มักใช้ระงับปวดในการผ่าตัดเล็กๆ น้อยๆ ทางสูติกรรมและทันตกรรม
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
ยานี้ทำให้หายใจเร็วและตื้นซึ่งอาจหยุดหายใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะและไวต่อพิษของอีปิเนฟรีน (Epinephrine) เมื่อใช้กับเด็กอาจทำให้ชักจึงไม่ควรใช้กับผู้เป็นโรคลมชัก
ฮาโลเธน (Halothane)
ยานั้เป็นของเหลวไอระเหย มีฤทธิ์แรงกว่าคลอโรฟอร์ม ไม่ระคายเคืองทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมขยาย กดการหายใจ ลดการบีบตัวของ หัวใจ หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดลดลงเป็นสัดส่วกับความลึกของการสลบซึ่งถ้าใช้เกินขนาดอาจตายได้ ทำให้หัวใจไวต่อฤทธิ์ของ อีปิเนฟรีน (Epinephrine) และนอร์อีปิเนฟรีน (Norepinepli rine) โดยมักทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ยานี้ไม่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวแม้จะให้ในขนาดสูงๆ ฉะนั้นจึงนิยมใช้ร่วมกับยาที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว เช่น เคียวแร (Curare) หรือกอลลามีน (Gallamine) ฯลฯ
ประโยชน์ที่ใช้
1. เป็นยาสลบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการให้สลบและฟื้นเ และเหมาะสำหรับการวางยาที่ไม่ต้องการผลในการทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
2. ใช้เป็นยาสลบในผู้ที่เป็นโรคหืด
3. มักใช้ร่วมกับ Nitrous oxide (NzO)
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
ฮาโลเธน (Halothane) มีความปลอดภัยในการใช้ต่ำ กดการหายใจและการไหลเวียนโลหิตอย่างแรง ทำให้ตับทำงานผิดปกติถ้าใช้ติดต่อกันระยะเวลานานอาจเป็นดีซ่าน อนึ่งหลังจากฟื้นจากการสลบผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แต่ไม่รุนแรง
ข้อควรระวัง
ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับและน้ำดีหญิงมีครรภ์หรือระหว่างการคลอดบุตร
เมธ็อกฟลูเรน (Methoxflurane) ชื่อการ เช่น เพ็นเธรน (Penthrane) เป็นยาพวกอีเธอร์ (Ether) ซึ่งอยู่ในรูปของเหลวที่ระเหยได้ ไม่ระเบิด มีฤทธิ์แรง ทำให้สลบและฟื้นช้า มีผลต่อหัวใจและหลอดโลหิตน้อยกว่าฮาโลเธน (Halothane) แต่ทำให้กล้ามเนื้อลายคลายตัวได้มากกว่า ระงับปวดได้ดี ระคายเคืองหลอดลมและไม่กดการหายใจ นอก จากสลบลึกมาก ยานี้ถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ
ประโยชน์ที่ใช้
ยานี้ใช้ในทางสูติกรรมโดยมากมักใช้ร่วมกับไนตรัสอ๊อกไซด์ และยาที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
ยานี้รบกวนการทำงานของไตทำให้ถ่ายปัสสาวะมากและบ่อย ถ้าใช้ขนาดสูงอาจทำให้ตาย
ข้อควรระวัง
เมื่อใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ต้องลดขนาดของยาลง และไม่ควรใช้กับผู้ที่ได้รับยาเตตราซัยคลีน หรือผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ เช่น ดีซ่าน ฯลฯ
ที่มา:ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพมาศ  ว่องวิทย์เดชา

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า