สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ปัสสาวะมาก, ดื่มน้ำมาก (Polyuria, polydipsia)

Polyuria คือ การที่มีปัสสาวะออกมาก อาจถึง 5-30 ลิตรต่อวัน
Polydipsia คือ การดื่มน้ำมาก (4-40 ลิตรต่อวัน)

สาเหตุ พบได้ในโรค

1. เบาจืด (Diabetes insipidus, DI) โรคนี้จะมีอาการปัสสาวะออก
มากในเด็กอาจถึง 400 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เด็กจะดื่มน้ำมากด้วย กินอาหารน้อยลง น้ำหนักลด อาจมีปัสสาวะรดที่นอน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยปัสสาวะรดที่นอน เกิดจากหลายสาเหตุคือ

1.1 True central idiopathic DI คือ โรคเบาจืดที่เกิดจากการขาด Antidiuretic hormone (ADH) โดยตรวจไม่พบสาเหตุ

1.2 Organic DI เป็น DI ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการขาด ADH โดยเป็นผลจากการที่มีพยาธิสภาพที่บริเวณ hypothalamus และ
pituitary ได้แก่ trauma, tumor เช่น craniopharyn¬gioma, pituitary adenoma, histiocytosis, โรคติดเชื้อ เช่น encephalitis, granulomatous disease

1.3 Nephrogenic DI เกิดจาก end organ unresponsive to ADH เป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด อาจมีประวัติคนในครอบครัว เป็น แบบเดียวกัน ถ่ายทอดแบบ x-linked recessive เด็กชายอาการรุนแรงกว่าเด็กหญิง จะมีอาการตั้งแต่ยังเป็นทารก ร้องกวน หงุดหงิด เลี้ยงไม่โต มีภาวะขาดน้ำ

2. Primary polydipsia หรือ Psychogenic polydipsia เกิดจาก คนไข้มีความผิดปกติทางพฤติกรรม ทำให้ดื่มน้ำมาก (compulsive water drinking) จึงมีปัสสาวะออกมากตามมา พวกนี้จะนอนหลับดีในเวลากลางคืน อาการดื่มน้ำมากปัสสาวะมากจะหายไปในขณะนอนหลับ

3. โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) จะมีอาการดื่มน้ำมาก ปัสสาวะมาก อาจปัสสาวะรดที่นอน กินอาหารมากขึ้น แต่น้ำหนักลดอย่างมาก เพลีย

4. โรคต่างๆ ที่ทำให้ไตไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ เช่น chronic pyelo¬nephritis, hypercalcemia, chronic hypokalemia เป็นต้น

การวินิจฉัยแยกโรค โรคที่ต้องนึกถึงเวลาคนไข้มาด้วย polyuria poly¬dipsia มี
1. โรคต่างๆ ดังกล่าวไว้ในสาเหตุของ polyuria polydipsia

2. Pollakiuria จะมีอาการปัสสาวะบ่อยมาก ชั่วโมงละหลายครั้ง แต่ปริ¬มาณมักปกติ ดื่มน้ำจำนวนปกติ ไม่มีปัสสาวะรดที่นอน การทำ urinalysis ปกติ

3. โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะบ่อย อาจมีอาการแสบขัด จำนวนน้ำดื่มและจำนวนปัสสาวะมักปกติ

การซักประวัติ ควรซักประวัติเกี่ยวกับ
1. ปริมาณของน้ำที่ดื่ม และปริมาณปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาในแต่ละวัน ว่ามี polyuria polydipsia จริง ถ้าสามารถถามปริมาณเป็นมล.ได้ยิ่งดี

2. อาการของโรคที่เป็นสาเหตุของอาการ polyuria polydipsia เพื่อช่วยแยกว่าอาการ polyuria polydipsia เกิดจากโรคของระบบใด

3. อาการทั่วไป เช่น น้ำหนักลด ผอมลง นอนหลับไม่สนิท ขาดสมาธิในการเรียน

4. ประวัติครอบครัว มีคนในครอบครัวเป็นโรคแบบเดียวกัน หรือไม่

การตรวจร่างกาย
1. น้ำหนัก ส่วนสูง
2. ตรวจประเมินภาวะขาดน้ำ
3. ตรวจหาสาเหตุ เช่น การดู eye ground, visual fields, การ ตรวจทางระบบประสาทอย่างละเอียด

การตรวจหางห้องปฏิบัติการ  ที่ควรทำที่คลินิกผู้ป่วยนอกคือ urine specific gravity, ถ้าต่ำกว่า 1.005 ควรตรวจ first morning urine sp.gr. ถ้า < 1.010 แสดงว่าไตไม่สามารถ concentrate urine    ได้จริง ควรรับเด็กไว้ในโรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น
urinalysis, urine osmolality, serum osmolality, plasma glucose, plasma calcium, plasma electrolytes, x-ray skull, water deprivation test และ Pitressin test เป็นต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้น เลือกตรวจตามข้อบ่งชี้ทางคลินิก

การรักษา
-ควรรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อการวินิจฉัยและ supportive treatment
-รักษาตามสาเหตุของโรค ถ้าเป็น ADH deficient DI รักษาด้วยการให้ vasopressin เช่น  pitressin tannate in oil ฉีดเข้ากล้าม, DDAVP (1-desamino-8-D-arginine vasopressin) พ่นทางจมูก ถ้าเป็น Nephrogenic DI การใช้ chlorothiazide ช่วยได้

ที่มา:นฤมล  ภัทรกิจวานิช

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า