สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ไข้มาลาเรีย

ไข้มาลาเรีย  (Malaria)

มาลาเรีย หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าไข้ป่า ไข้จับสั่น เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง มี ชุกชุมในประเทศเขตร้อนเช่นประเทศไทย เพราะมีภูมิประเทศและสภาพดินฟ้าอากาศอำนวยให้ ยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคเจริญแพร่พันธุ์ได้ดี

โรคนี้มักจะระบาดมากในช่วงฤดูฝนเนื่องจากเป็นระยะที่มียุงชุกชุม ในสมัยโบราณผู้ที่เดินทางข้ามจังหวัดผ่านภูมิประเทศที่เป็นป่าเขามักจะเสียชีวิตด้วยไข้มาลาเรียเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งองค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับ รัฐบาลไทย ทำการปราบปรามโดยพ่นสารฆ่าแมลงตามบ้านเมื่อปี พ.ศ.2492 ไข้มาลาเรียจึงลด น้อยลง แต่ต่อมาพบว่ามีผู้ป่วยด้วยไข้มาลาเรียมากขึ้น จากสถิติของกองสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ในปีพ.ศ.2528 พบว่าโรคนี้เป็นสาเหตุการตายอันดับ 6 ของคนไทย และ ในปีพ.ศ.2531 พบว่าเป็นอันดับ 7

จังหวัดที่เคยมีไข้มาลาเรียระบาดทางภาคเหนือได้แก่ แม่ฮ่องสอน ภาคใต้ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง กระบี่ พังงา ภาคตะวันออกได้แก่ จันทบุรี ตราด และภาคตะวันตกได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์

สาเหตุ เกิดจากยุงก้นปล่องนำเชื้อโปรโตซัวที่เรียกว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium มาสู่คนและลิง ซึ่งเป็นเชื้อปรสิตเซลล์เดียว อาศัยอยู่ในต่อมนํ้าลายของยุง เมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์ (ผู้ป่วย) จะเป็นช่วงที่เชื้อโรคไม่มีการผสมพันธุ์

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ที่พบว่าทำให้เกิดโรคในมนุษย์ มี 4 ชนิด คือ

  1. พลาสโมเดียม           ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax)
  2. พลาสโมเดียม           ฟัลซิพารุม (Plasmodium falciparum)
  3. พลาสโมเดียม           โอวาเล (Plasmodium ovale)
  4. พลาสโมเดียม           มาลาเรียอี (Plasmodium malariae)

สำหรับในประเทศไทยพบเพียง 2 ชนิดแรกเท่านั้น

พลาสโมเดียมทั้ง 4 ชนิดที่เกิดในมนุษย์ มีอาการต่างๆ คล้ายกันมาก เชื้อไข้จับสั่นชนิด ไวแวกซ์ พบมากที่สุด พบได้ทั่วโลกในเขตร้อนและอบอุ่น ส่วนเชื้อไข้จับสั่นชนิดมาลาเรีย พบ มากในเขตอบอุ่น ชนิดฟาลซิพารัม พบมากในเขตร้อน ส่วนชนิด โอวาเล พบมากในทวีป อาฟริกาและอเมริกาใต้

พาหะ ได้แก่ยุงก้นปล่อง (ตัวเมีย) สำหรับในประเทศไทยยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำเชื้อ มาลาเรียมีอยู่ 5 ชนิด คือ อะโฟเลีส มินิมุส (AnoPheles minimus) อะโนฟีลีส บาลาบาเซนซิส AnoPheles balabacensis) อะโนฟีลีส มาคูลาทุส (AnoPheles maculatus) อะโฟลีส ซันไดคุส (AnoPheles sandaicus) และ (A.aconitus)

แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่ในกระแสเลือด และยุงก้นปล่อง นอกจากนั้นลิงยังเป็นแหล่งเก็บเชื้อ พลาสโมเดียม โนลิซี่ (Plasmodium knowlesi) พลาสโมเดียม ไซโนโมลไก (Plasmodium cynomolgi) ซึ่งเชื้อเหล่านี้อาจติดต่อมาสู่มนุษย์ได้

การติดต่อ เมื่อยุงก้นปล่องกัดผู้ที่มีเชื้อไข้มาลาเรียและไปกับผู้อื่นก็จะเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปติดต่อ

ระยะฟักตัวของโรค เชื้อ โรคที่เข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่ถูกกัดจะเริ่มเข้าสู่ในระยะฟักตัว โดยเชื้อโรค จะไปเจริญเติบโตในตับประมาณ 5- 11วัน แล้วจึงออกจากตับเข้าสู่กระแสเลือด เข้าไปเจริญเติบโตในเม็ดเลือดแดงโดยเพิ่มพูนจำนวน ทำให้เม็ดเลือดแตก และปล่อยพาราสิตหรือเชื้อมาลาเรียใหม่ออกมา ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการของไข้มาลาเรีย

ระยะฟักตัวของเชื้อมาลาเรียชนิดต่าง ๆ แตกต่างกันดังนี้

ไวแวกซ์ (Vivax) ประมาณ 14 วันในประเทศไทยพบ 30 % (แต่เฉพาะในภาคใต้พบสูงถึง 50 %)

ฟาลซิพารัม (Falciparum) ประมาณ 12 วัน ในประเทศไทยพบสูงถึง 70 %

โอวาเล (Ovale) ประมาณ 14 วัน ในประเทศไทยพบน้อยมาก มาลาเรียอี (Malariae) ประมาณ30 วัน พบแต่ในประเทศของทวีปอาฟริกาและอเมริกาใต้ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะเข้าสู่ระยะฟักตัวซึ่งใช้เวลาไม่แน่นอนแล้วแต่ชนิด บางชนิด อาจกินเวลา 8-10 วัน เช่นเชื้อชนิดย่อยของไวแวกซ์

ระยะติดต่อ
เมื่อยุงก้นปล่องกัดผู้ป่วยและดูดเลือดซึ่งมีเชื้อไข้มาลาเรียในระยะแกมมี โทไซต์ (Gametocyte) คืออยู่ในระยะที่ยังไม่มีการผสมพันธุ์ซึ่งมีทั้งเชื้อตัวเมียและตัวผู้ จากร่าง กายมนุษย์ (ผู้ป่วย) เชื้อโรคจะเข้าไปอยู่ในตัวยุงประมาณ 12 วัน หรือประมาณ 8-35 วัน ขึ้น อยู่กับชนิดของเชื้อ อุณหภูมิและความชื้นที่ยุงอาศัยอยู่ ในระยะนี้เชื้อแกมมีโทไซต์ตัวผู้กับตัว เมียจะผสมพันธุ์กันในกระเพาะของยุงและเจริญเติบโตแบ่งตัวกลายเป็นซีสต์ใหญ่ ซึ่งมีสปอโรซอยต์ (Sporozoite) อยู่เป็นจำนวนมาก ซีสต์จะแตกออกปล่อยสปอโรซอยต์กระจายไปอยู่ทั่วตัวยุง และส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่ต่อมนํ้าลายของยุง

เมื่อยุงกัดคนและปล่อยเชื้อสปอโรซอยต์ใส่กระแสเลือด เชื้อจะเข้าไปเติบโตในเซลล์ตับ ของคน ระยะนี้เรียกว่า พรีอีฟอร์ม (Pre-Erythrocytic Form) ซึ่งในระยะ 5-7 วัน จะเจริญหรือ

แบ่งตัวเป็น เมอโรซอยต์ (Merozoite) จำนวนมากมาย เป็นผลทำให้เซลล์ของตับแตก ปล่อย มอโรซอยต์เข้าสู่กระแสเลือด และเข้าไปในเม็ดเลือดแดง ระยะนี้เรียกว่า อีฟอร์ม (Erythrocytic Form)

เมอโรซอยต์จะมีขนาดโตขึ้น เรียกว่า โทรโฟซอยต์ (Trophozoite) แล้วแบ่งตัวเป็นสคิ ซอนต์ (Schizont) ได้หลายตัว ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกปล่อยเชื้อเข้ากระแสเลือดและจู่โจมเม็ด เลือดแดงอื่นๆ ต่อไป

โทรโฟซอยต์บางตัวจะเจริญเป็นกามีโทไซต์ (Gametocyte) พร้อมที่จะเข้าไปอยู่ในตัวยุง ล่อไปเป็นวัฏจักร วงจรชีวิตของยุงนี้จะกินเวลาประมาณ 7-20 วัน

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ทุกคนมีความไวต่อโรคเมื่อได้รับเชื้อ ผู้ที่เคยเป็นไข้มาลาเรียมาก่อนจะมีความไวต่อโรคน้อยลงเพราะมีภูมิคุ้มกัน ในท้องถิ่นที่มีโรคนี้เกิดขึ้น เป็นประจำผู้ที่อาศัยอยู่จะมีภูมิต้านทานโรค เช่น พวกอาฟริกัน นิโกร จะมีความต้านทานต่อเชื้อ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ เป็นต้น

อาการ

เมื่อเชื้อมาลาเรียเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สบายภายในระยะเวลาประมาณ 10-15 วัน โดยอาการเริ่มแรกคือจะมีไข้ทุกรอบ 3 วัน แต่บางคนอาจจับไข้วันเว้นวันหรืออาจจับไข้ทุก วันซึ่งแล้วแต่ชนิดของเชื้อไข้มาลาเรีย

อาการโดยทั่วไปผู้ป่วยจะหนาวสั่น ปวดศีรษะ เมื่อหายจากอาการไข้แล้วผู้ป่วยจะมีเหงื่อ ออกมา รู้สึกกระหายนํ้า อาจมีอาการตาเหลือง ไตไม่ทำงาน สมองเกิดการอักเสบอย่างฉับพลัน เนื่องจากเชื้อไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ทำให้ผู้ป่วยช็อค หมดสติ ถึงแก่กรรม

สามารถแบ่งอาการของโรคได้เป็น 4 ระยะ คือ

1.ระยะเริ่มต้น อาการนำคือผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกไม่สบายเพียงเล็กน้อยอยู่หลายวัน ก่อนที่ จะมีอาการไข้จับสั่นปรากฏ คือ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวๆร้อนๆ ง่วงเหงาหาวนอน เบื่อหน่ายต่อการงาน ปวดตามกระดูกทั่วไป เบื่ออาหารหรืออาเจียน เริ่มจะมีไข้

2.ระยะหนาว ผู้ป่วยจะมีไข้สูงขึ้น มีอาการหนาวสะท้านไปทั่วร่างกาย ผิวหนังเย็น ปวดศีรษะ บางรายมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน ถ้าผู้ป่วยเป็นเด็กอาจเพ้อคลั่งหรือชักได้ ระยะนี้กิน เวลาราว 2-3 นาที ถึง 1 หรือ 2 ชั่วโมง อันเนื่องมาจากการที่เม็ดโลหิตแดงแตกและปล่อย พาราสิตออกมาในกระแสเลือด

3.ระยะร้อน เมื่อระยะหนาวลสั่นผ่านไปแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกหนาวๆร้อนๆ และต่อไป จะมีอาการมากขึ้นทุกที มีอาการหน้าแดง ผิวหนังแห้งและร้อน ชีพจรเต้นแรงและเร็ว ปวดศีรษะ บางครั้งเพ้ออาเจียนบ่อยๆ รู้สึกกระหายนํ้า และหายใจเร็วระยะร้อนความร้อนอาจสูงประมาน104-106 องศาฟาเรนไฮต์ สาเหตุเกิดจากเชื้อพาราสิตแทรกเข้าสู่เม็ดโลหิตแดง ระยะนี้ใช้เวลา 1/2-4 ชั่วโมง

4.ระยะไข้สร่าง ตอนระยะไข้สร่างเริ่มมีเหงื่อออกที่หน้าก่อน และเริ่มมีเหงื่อออกทั่วร่าง อาการต่างๆจะทุเลา ความร้อนจะลดลง นอนหลบได้และทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ ช้าหรือเร็วแล้วแต่ชนิดของเชื้อ จนกว่าจะเข้าระยะเริ่มต้นใหม่

อาการของไข้มาลาเรียแตกต่างกันที่อาการหนาวลสั่นซึ่งบางชนิดมีอาการหนาวลสั่นทุก 72 ชั่วโมง เช่น ชนิดที่เกิดจากเชื้อมาลาเรียอี แต่ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการไข้ทุก 48 ชั่วโมง เช่นชนิดที่เกิดจากเชื้อไวแวกซ์ โอวาเลและฟาลซิพารุ่ม เมื่อมีอาการจับลสั่นไปนานๆ จะมี อาการม้ามโต ลำตัวและตาซีดเหลือง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยเป็นไข้มาลาเรียจะมีไข้ หนาวลสั่น และ เหงื่อออกมาก มีอาการหนาวสั่น เพ้อคลั่ง หมดสติ ซัก เมื่อตรวจในห้องปฏิบัติการจะพบเชื้อ มาลาเรียในระยะต่าง ๆ ตรวจพบจำนวนเม็ดโลหิตขาวต่ำ

การรักษาพยาบาล

เมื่อสงสัยหรือมีอาการว่าอาจเป็นไข้มาลาเรีย อย่าซื้อยากินเอง เพื่อป้องกันโรค แทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือนำไปตรวจผู้ที่ป่วยเป็นไข้มาเลเรียควรดื่มน้ำมากๆ กินอาหารที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอสำหรับ บำรุงร่างกาย ปฏิบัติตนและกินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ยาที่ใช้รักษาไข้มาลาเรีย ยาจำพวก แฟนซิเดอร์ (Fansider) คลอโรควิน (Chloroquin) หรือ อราเล็น (Aralen) ควินิน (Quinine) ไพรมาควิน (Primaquine) หากไม่มีความรู้เรื่องยา ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

วัคซีน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้มาลาเรีย ควรป้องกันด้วยการนอนกางมุ้ง ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงรับประทานยาป้องกันเมื่อเข้าไปในท้องถิ่นที่มีเชื้อหรือมีการระบาด

โรคแทรกซ้อน ผู้ที่ป่วยเป็นไข้มาลาเรียมักจะมีภาวะโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย ดังนี้

  1. มาลาเรียขึ้นสมอง ถ้าเชื้อมาลาเรียเข้าไปสู่สมอง และอุดหลอดเลือดฝอยที่สมอง ทำให้เกิดมีอาการรบกวนทางประสาทส่วนกลาง ผู้ป่วยจะเพ้อหรือหมดสติ การหมดสติอาจกิน เวลา 12-24 ชั่วโมง บางรายอาจเป็นรวดเร็วและชัก ลักษณะคล้ายกับหลอดเลือดในสมองแตก
  2. มาลาเรียลงตับ ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก บาง รายอาจอาเจียนด้วย
  3. มาลาเรียลงลำไส้ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน อาจมีอุจจาระเป็นมูกเลือดเหมือนเป็นบิด
  4. มาลาเรียลงไต ผู้ป่วยจะปัสสาวะน้อย ไม่ถึงครึ่งขวดนํ้าปลา หรือ 40 ลูกบาศก์เซนติ เมตรต่อวัน (โดยปกติผู้ใหญ่จะปัสสาวะประมาณ 2 ขวดนํ้าปลา) บางรายไม่มีปัสสาวะเลย ผู้ ป่วยอาจตายได้เพราะไตไม่ทำงาน (หรือที่เรียกว่า ภาวะไตล้มเหลวหรือไตวาย) ทำให้มีการคั่ง ของของเสียในร่างกายจนเป็นพิษ
  5. ไข้น้ำดำ หรือไข้ปัสสาวะนํ้าดำ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย มีอาการเช่นเดียวกับ อาการของไข้จับสั่นกำลังจับ เมื่อหายหนาวจะรู้สึกปวดท้อง ปัสสาวะมีสีคลํ้าเหมือนนํ้าปลา ตัวเหลือง อาเจียนเป็นนํ้าดี กระหายนํ้า ตับและม้ามบวม ผิวกายของคนไข้จะเป็นสีเหลืองจัด เนื่องจากดีซ่าน เจ็บบริเวณเอวมาก หากอาการกำเริบคนไข้จะยิ่งกระสับกระส่ายหนาวสั่น และตัวร้อนจัด อ่อนเพลียมากหรือเกิดการขัดเบาปัสสาวะถ่ายไม่ค่อยออก อาจตายในภาย หลังเนื่องจากหัวใจวาย
  6. ช็อค ผู้ป่วยตัวเย็น ความดันเลือดต่ำมาก เป็นทั้งมาลาเรียขึ้นสมอง ลงตับ และลงไตด้วย

โรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายมาลาเรีย(ดูในหัวข้อโรคแทรกซ้อน)

การปฏิบัติตน เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็น ไข้มาลาเรีย นอกจากการไปพบแพทย์และ ปฎิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อ ควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.  รีบไปพบแพทย์ รีบนำผู้ป่วยที่แสดงอาการของไข้มาลาเรียหรือภาวะโรคแทรกซ้อนส่ง โรงพยาบาลโดยเร็ว

2.  ควรให้คนป่วยนอนในมุ้ง ระวังอย่าให้ยุงกัด เพราะจะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคให้ติดต่อไปยังผู้อื่น

3.  ผู้ป่วยต้องให้แพทย์ทำการรักษาให้หายจากโรคมาลาเรีย เพื่อจะได้ไม่เป็นแหล่งแพร่ กระจายของโรค และไม่ควรบริจาคเลือดในระยะที่ยังมีเชื้อมาลาเรียในร่างกาย

การป้องกันและควบคุมโรค

นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิด โรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรค ดังนี้

  1. ควรนอนในมุ้งไม่ควรอยู่ในบริเวณที่แสงสว่างส่องไมถึงซึ่งเป็นที่อยู่หรือหลบซ่อนของยุง ระวังอย่าให้ยุงก้นปล่องกัด (ยุงก้นปล่องเป็นยุงที่ออกหากินเวลากลางคืน)
  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่องและยุงทุกชนิด ฉีดยาฆ่าแมลงในที่ที่ยุงก้นปล่องชอบ อาศัยอยู่ ยุงชนิดนี้ชอบเกาะตามฝาผนังและกำแพง ควรถมแหล่งนํ้าขัง ขจัดแหล่งนํ้าอันเป็นที่ วางไข่ของยุง ยุงก้นปล่องชอบวางไข่ในที่ที่นํ้านิ่ง
  3. ถ้าเกิดการแพร่ระบาด หรือต้องเดินทางเข้าไปในเขตที่มีไข้มาลาเรียชุกชุม ควรกินยา ป้องกันไว้ล่วงหน้า ยาที่นิยมคือ ควินิน ควรกินยาป้องกันตลอดเวลาที่อยู่ในเขตที่มีไข้มาลาเรีย และเมื่อออกมาแล้ว 8 สัปดาห์
  4. เมื่อพบการระบาดของไข้มาลาเรีย จะต้องรีบรายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขท้องถิ่น ทราบโดยเร็ว
,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า