สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ใช้ Fight-or-flight response สร้างความสำเร็จ

ในปี 1932. Walter Bradford Cannon ได้บัญญัติศัพท์ขึ้นมาคำหนึ่งเพื่ออธิบายถึงการตอบสนองของสัตว์ต่อภัยคุกคาม
คำนั้น ได้แก่ Fight-or-flight response

สู้หรือหนี

Fight-or-flight response คือ ปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อตกอยู่ในอันตราย โดนโจมตี หรือมีภัยคุกคาม เพื่อที่จะอยู่รอด

โดยระบบประสาทอัตโนมัติ จะควบคุมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมที่จะสู้หรือหนี

ซึ่งก็จะแสดงออกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ว่า กล้า หรือ กลัว
ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ไฟไหม้บ้าน
คนที่ปฏิกิริยาบอกให้สู้ สารอดรีนาลีนที่หลั่งออกมา จะเพิ่มประสิทธิภาพทางกายให้วิ่งเร็วขึ้น สามารถยกของหนักได้มากขึ้น
คนที่ปฏิกิริยาบอกให้หนี จะตกอยู่ในสภาวะก้าวขาไม่ออก หน้าซีด

จากการทดลองพบว่ามีสัตว์บางชนิดที่มีปฏิกิริยา Fight-or-flight response หลากหลาย เช่น หนู
เมื่อหนูโดนโจมตี มันจะหนี
แต่เมื่อไรที่โดนต้อนจนกระทั่งจนมุม
ปฏิกิริยา Fight-or-flight response จะเปลี่ยนเป็นสู้

มนุษย์เองก็ไม่ต่างจากหนู เรามี ปฏิกิริยา Fight-or-flight response ที่เปลี่ยนแปลงได้
และถ้าเราศึกษาความสำเร็จของบุคคลที่มีชื่อเสียง เราจะพบว่าพวกเขา พาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่จนมุม
ซึ่งทำให้พวกเขาเหมือนกับหนูที่โดนต้อนจนกระทั่งไม่มีทางหนี
หนทางเดียวที่จะรอด คือ สู้ตาย

เมื่อถึงเวลานั้น ปฏิกิริยา Fight-or-flight response จะทำให้เขาเข็มแข็งทั้งกายและใจ

บิล เกตส์ , สตีฟ จ๊อบส์ เลือกพักการเรียน เพื่อทำในสิ่งที่เขาเชื่อ

อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เลือกจะเดินในเส้นทางของศิลปะ โดยตั้งปณิธานว่ายอมอดตาย
และจะไม่เปลี่ยนไปเดินในเส้นทางอื่น

ถ้าคุณยังกลัวที่จะก้าวเข้าสู่ สภาวะจนมุมเต็มรูปแบบ

ผมแนะนำให้ลองด้วยวิธีง่าย ๆ ก่อนก็ได้

ตั้งเป้าหมายด้านการเรียน การงาน การเงิน สุขภาพ หรืออื่น ๆ  พร้อมกำหนดเวลาที่จะทำให้สำเร็จ
จากนั้นแชร์บทความนี้ พร้อมทั้งโพสประกาศให้เพื่อนของคุณในเฟสบุ๊ครับรู้เป้าหมาย รับรู้ความมุ่งมั่นของคุณ

คุณจะเข้าสู่สภาวะจนมุมแบบเล็ก ๆ

สภาวะที่หากทำไม่ได้ก็ขายหน้าคนอื่นเขานั่นเอง

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า