สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคมะเร็งจากสารพิษและสารก่อมะเร็งในประเทศไทย

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการตายในประชาชนชาวไทย หนึ่งในห้าอันดับแรกของสาเหตุการตายมากที่สุด เนื่องจากโรคมะเร็งสามารถ เกิดขึ้นโดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ดังนั้นในบทความนี้จะนำเสนอสารเคมีหรือวัตถุมีพิษของกระทรวงอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นสาร เคมีที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวงอุตสาหกรรมรวม 238 ชนิด จากการศึกษาข้อมูลรายงานต่างๆ มีข้อสรุปที่บ่งชี้ว่า บุคลากร กลุ่ม เสี่ยงที่ต้องทำงานสัมผัสกับสารเคมีอยู่เสมอมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งของระบบอวัยวะต่างๆ ได้มากกว่าประชาชนทั่วๆ ไป โดยมีข้อมูลสนับสนุนจากสัตว์ทดลองเช่นกัน แม้ว่าต้นเหตุที่ทำให้เกิดเนื้อร้ายในร่างกายมนุษย์ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ก็มีรายงานต่างๆ ที่ยืนยันสาเหตุการเกิดมะเร็งบางโรค โดยมีผลมาจากการที่สัมผัสกับสารเคมีเป็นเวลานานๆ เช่น mesotheIioma จากแร่ใยหินชนิด crocidolite และ chrysotile มะเร็งที่ผิวหนังจาก Arsenic มะเร็งของระบบโลหิตจาก benzene มะเร็งของตับจาก Vinyl chloride เป็นต้น

ดังนั้นผู้ที่ประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรมและมีโอกาสสัมผัสสาร เคมีต่างๆ ในรูปของการหายใจ หรือสัมผัสด้วยผิวหนัง ด้วยระยะเวลาที่นานไม่น้อยกว่า 5-20 ปี จึงมีอัตราเสี่ยงสูงจะเกิดโรคมะเร็งสูงกว่าประชาชนทั่วๆ ไป ตัวอย่างในกลุ่มที่ประกอบอาชีพเครื่องไฟฟ้า หนังสัตว์ อุตสาหกรรมทำยาง เสื้อผ้า

โดยทั่วไปเราสามารถจำแนกสารเคมีที่ทำให้เกิดมะเร็งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่พิสูจน์ชัดเจน เช่นที่กล่าวมาแล้วและกลุ่มที่ต้องสงสัยเนื่องจากมีข้อมูลจากสัตว์ทดลอง เช่น ตะกั่ว corbon tetrachloride, Ethylene oxide ซึ่งต้องการข้อมูลที่สนับสนุนอีกมาก สำหรับ Ehtylene Oxide มีใช้ทั้งในอุตสาหกรรม และในโรงพยาบาล ได้แก่งานจ่ายกลาง งานทำให้ปราศจากเชื้อ รวมถึง งานห้องผ่าตัด งานเภสัชกรรม และในงานทันตกรรมบางแห่ง โดยใช้ในเครื่อง Gas ETO Steririzer

สารเคมีหรือวัตถุมีพิษที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ประกอบอาชีพแล้ว ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายของสารเคมีไปสู่ชุมชนอยู่เสมอ เช่นกรณีเรือบรรทุกสาร vinyl chloride ล่มที่ปากแม่นํ้าเจ้าพระยา การระเบิดของโกดังเก็บสารเคมี Methyl bromide, formaldehyde และสารเคมีอื่นๆ ที่คลองเตย รถบรรทุกแก๊สที่พลิกคว่ำทำให้แก๊สไวไฟเล็ดลอดออกมาทำลายชีวิตประชาชนเป็นจำนวนมาก

นอกเหนือจากสารเคมีที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรมแล้ว ประเทศไทยซึ่งยังมีพื้นฐานด้านเศรษฐกิจจากการกสิกรรม ประชากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ในกลุ่มของเกษตรกร ต้องสัมผัสสารเคมีในรูปของสาร กำจัดแมลง สารกำจัดวัชชพืช เช่น DDT, Malathion, Parathion, Aldrin, Paraquat, อันตรายจากสาร เคมีในกลุ่มนี้ มีทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยเฉพาะชนิดเรื้อรัง จะพบได้ในกลุ่ม เกษตรกรเอง และประชาชนทั่วไปที่บริโภคธัญพืชชนิดต่างๆ หรือมีการถ่ายทอดจากสัตว์เลี้ยงต่างๆ ที่มนุษย์ใช้บริโภคเป็นอาหาร นอกจากนั้นสารเคมีในกลุ่มนี้ บางส่วนยังพบใช้ตามบ้านเรือนด้วย สารในกลุ่มนี้ก็เช่นเดียวกับสารเคมีในกิจการอุตสาหกรรมที่มีข้อมูลมากมายที่พิสูจน์ว่าสารเคมีในกลุ่มสารกำจัดแมลงเป็นต้นเหตุของมะเร็งในสัตว์ทดลอง เช่น  Aldrin, Capten, Chloroform, DDT

ดังนั้นควรมีมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากสารเคมีต่างๆ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว เช่น การใช้สารที่ปลอดภัยกว่าทดแทน ใช้อุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัว มีการควบคุมและเก็บ รักษาสารเคมีที่เป็นพิษให้ห่างไกลจากชุมชน ใช้เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ทำงานแทนงานที่มีอัตราเสี่ยงสูง ให้ความรู้เกี่ยวกับสาร เคมีที่เป็นพิษทั้งคุณสมบัติ การป้องกัน การปฐมพยาบาล เบื้องต้น และการรักษาให้กับผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น ตลอดจนออกกฎหมาย และมีการบังคับใช้กฎหมาย ในการควบคุมการใช้ เก็บรักษา การป้องกันสารเคมี รวมทั้งมาตรการลงโทษ หรือเก็บภาษีจากกลุ่มหรือบุคคล หรือองค์การที่ยังคงใช้สารเคมีที่เป็นพิษทั้งหลาย เพื่อนำ เงินส่วนนี้มาปรับปรุง พัฒนา ป้องกันอันตรายจากสารเคมี

ที่มา:นายแพทย์รพีพัฒน์  ชคัตประกาศ ,MD. ,MSc(Occ Med)
คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า