สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพยาธิแส้ม้า (Trichuri asis )

โรคนี้พบมากในภาคใต้ของประเทศไทย คนเป็นโรคนี้ได้โดยการกินไข่พยาธิ ระยะติดต่อที่ปนเปื้อนในอาหาร (ที่สำคัญคือ ผักดิบ) หรือจากมือเปื้อนดินที่มีไข่พยาธิปะปนอยู่แล้วมาหยิบอาหารใส่ปาก พยาธิแส้ม้าตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของคน โดยส่วนหน้าของพยาธิที่เหมือนแส้ไชเข้าไปอยู่ในเยื่อเมือกบุลำไส้

อาการโรค
คนที่มีพยาธิอยู่น้อยๆ มักไม่มีอาการใดๆ ส่วนคนที่มีพยาธิอยู่มากจะมีอาการปวดท้อง อุจจาระเหลว อาจมีเลือดปนอุจจาระนิดหน่อย จนถึงกับมีอุจจาระเป็นมูกเลือดชัดเจนร่วมกับมีอาการปวดเบ่งด้วย พยาธิที่เข้าไปในรูของไส้ติ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบของไส้ติ่งอย่างเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคนี้อาจซีดได้ และในเด็กอาจพบว่ามี rectal prolapse ได้ ซึ่งจะหายไปเมื่อรักษาโรคนี้หายแล้ว

การวินิจฉัย

ทำได้โดยตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิแส้ม้า

การรักษา ยาที่ใช้รักษาโรคนี้ได้ผลดีคือ
1. Mebendazole ใช้ยาขนาด า00 มก. วันละ 2 ครั้งนาน 3 วัน ยานี้ใช้ขนาดเดียวกันสำหรับทุกอายุ การให้ยา mebendazole ครั้งเดียว 600 มก.ได้ผลในการรักษาเช่นเดียวกับการให้ยานาน 3 วัน ผู้ป่วยที่รักษาให้หายได้ยากคือ รายที่มีพยาธิอยู่เป็นจำนวนมาก

2. Albendazole เป็นยาที่ใช้ได้ผลเช่นเดียวกับ mebendazole ให้ขนาด 400 มก.ครั้งเดียว

ที่มา:พรรณทิพย์  ฉายากุล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า