สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคของเปลือกตา (Diseases of the Eyelids)

กายวิภาคของเปลือกตา

เปลือกตาประกอบด้วยบางส่วนของผิวหนัง fibrous tissue และเยื่อบุ (mucous membrane) ซึ่งประกอบขึ้นทำหน้าที่ป้องกันนัยน์ตาจากสิ่งที่ระคายเคืองหรืออันตรายจากภายนอก ช่วยจำกัดปริมาณของแสงที่เข้าสู่นัยน์ตา และช่วยกระจายน้ำตาและน้ำเมือก (mucous secretion) ให้เคลือบบนผิวหน้าของนัยน์ตา

เปลือกตา แบ่งออกเป็นเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง

เปลือกตาสิ้นสุดที่บริเวณคิ้ว ส่วนเปลือกตาล่างจะติดต่อกับผิวหนังของแก้ม ทั้ง เปลือกตาบนและเปลือกตาล่างจะมีร่องตามแนวราบ (horizontal furrow) เส้นหนึ่งแบ่งเปลือกตาออกเป็น orbital และ tarsal portion

ร่องของเปลือกตาบนเกิดจากการที่ fiber ของกล้ามเนื้อ levator palpebrae superioris ไปจนสุดที่ผิวหนังของเปลือกตา

ร่องของเปลือกตาล่างเกิดจากกล้ามเนื้อ orbicularis oculi ยึดติดกับผิวหนังของเปลือกตา ซึ่งจะมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเหมือนกับร่องของเปลือกตาบน

ตำแหน่งที่เปลือกตาบนและเปลือกตาล่างมาจรดกันเรียกว่า canthi ซึ่งแบ่งออกเป็น medial และ lateral canthus

medial canthus ค่อนข้างมน ส่วน lateral canthus เป็นมุมแหลมประมาณ 60°

ช่องระหว่างขอบเปลือกตาบนและขอบเปลือกตาล่าง เรียกว่า interpalpebral fissure

ด้านในของ medial canthus มีก้อนเนื้อเล็ก ๆ ลักษณะเป็น modified skin เรียกว่า caruncle

ที่ขอบของเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง ถัดจาก medial canthus ออกไปประมาณ 9 มิลลิเมตร มีรอยนูนเล็กๆ เรียกว่า lacrimal papillae และบนรอยนูนนั้นมีรูเล็กๆ เรียกว่า รูน้ำตา (lacrimal punctum)

ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่างจะถูกแบ่งออกเป็นขอบด้านหน้า และขอบด้านหลัง โดยเส้นซึ่งเรียกว่า intermarginal sulcus หรือ gray line

ด้านหน้าของ gray line มีขนตาขึ้นอยู่ประมาณ 2-3 แถว ด้านหลังติดกับ gray line มีรูเปิดของ Meibomian’s glands เรียงเป็นแถวขนานกับ gray line

รอยต่อระหว่าง stratified epithelium ของผิวหนัง tarsal conjunctiva ก็อยู่ตรง ตำแหน่ง Meibomian openings เหล่านี้

เปลือกตา เปลือกตาแบ่งออกได้เป็น 5 ชั้น คือ

1.  ผิวหนัง เป็นผิวหนังส่วนที่บางที่สุดของร่างกาย      มีลักษณะหลวมและเป็นรอยย่น คลุมอยู่บนชั้น areolar connective tissue อย่างหลวม ๆ และไม่มีพวกไขมันอยู่ข้างใต้ ดังนั้น เวลามีการอักเสบหรือบวมของเปลือกตาจากเหตุใด ๆ จึงมักพบว่าเปลือกตามีการบวมได้มากกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

2.  Areolar connective tissue อยู่ใต้ผิวหนัง มีพวกเส้นเลือด ท่อน้ำเหลือง และเส้นประสาทฝอยรวมอยู่ในชั้นนี้ รากขนตาส่วนมากก็ฝังอยู่ในชั้นนี้ นอกจากในชั้น connective tissue นี้ยังมีต่อมอยู่สองพวก พวกหนึ่งเป็น sebaceous glands เรียกว่า “gland of Zeis” ซึ่งมีท่อเล็ก ๆ มาเปิดออกที่ต่อมขนตา (hair follicles) ของขนตา อีกพวกหนึ่งเป็นต่อมเหงื่อ (modified sweat glands) เรียกว่า “glands of Moll” ซึ่งมีท่อบางอันมาเปิดออกที่ต่อมขนตา บางอันเปิดออกสู่ท่อของ Zeis gland และบางอันก็เปิดออกที่ขอบของเปลือกตาโดยตรง

3.  กล้ามเนื้อ มี 3 พวก คือ

a.  กล้ามเนื้อ Levator palpebrae superioris ซึ่งมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ยอดของเบ้าตา และมาสิ้นสุดที่ขอบบนและผิวด้านหน้าของ tarsal plate บางส่วนไปสิ้นสุดที่ผิวหนังของ เปลือกตาบนและที่ medial และ lateral palpebral ligament ด้วย

b.  กล้ามเนื้อ Orbicularis palpebrarum (oculi) ซึ่งเรียงเป็นวงอยู่รอบ ๆ palpebral fissure ระหว่างผิวหนังกับ tarsal plate กล้ามเนื้อนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ peripheral หรือ orbital portion ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการหลับตา (forcible closure) ของ เปลือกตา และ central หรือ palpebral portion ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการกะพริบ (involun­tary blinking) ของเปลือกตา

c. กล้ามเนื้อ Superior and Inferior palpebral หรือ muscle of Muller ซึ่งเป็น กล้ามเนื้อเรียบ สำหรับที่เปลือกตาบนจะมีจุดเริ่มต้นจากผิวด้านล่างของกล้ามเนื้อ levator และไปสิ้นสุดที่ขอบของ tarsal plate ส่วนของเปลือกตาล่างมีจุดเริ่มต้นจากกล้ามเนื้อ Inferior rectus และไปสิ้นสุดที่ tarsal plate ของเปลือกตาล่าง

หน้าที่ของกล้ามเนื้อนี้ทำให้เกิด tone ของเปลือกตา

4. Fibrous tissue ประกอบด้วย orbital septum ซึ่งอยู่ทางด้านนอก  และ tarsal plate ซึ่งอยู่ทางด้านกลาง

Tarsal plate ประกอบด้วย connective tissue และ elastic tissue ซึ่งรวมกันอย่าง แน่นหนาเพื่อช่วยให้เปลือกตามีความแข็งแรงและคงรูปอยู่ได้

tarsal plate ของเปลือกตาบนใหญ่กว่า tarsal plate ของเปลือกตาล่าง

tarsal plate ทั้งสองนี้ยึดติดกับผนังด้านในและผนังด้านนอกของเบ้าตา โดย medial และ lateral tarsal ligament และยังยึดติดกับขอบบนและขอบล่างของเบ้าตา โดย palpebral fascia หรือ tarso-orbital fascia

ภายในเนื้อของ tarsal plate มีพวก sebaceous glands เรียกว่า “Meibcmian’s gland” หรือ “tarsal glands” ที่ tarsus บนจะมีประมาณ 30-40 ต่อม และที่ tarsus ล่าง มีประมาณ 20-30 ต่อม ต่อมเหล่านี้มีลักษณะยาว ปลายข้างหนึ่งตัน และมี cecal appendages จำนวนมาก ภายในต่อมเป็นพวก fatty secretion และปลายอีกข้างหนึ่งมาเปิดออกที่ขอบของเปลือกตาระหว่าง intermarginal sulcus กับขอบหลังของเปลือกตา

Sebaceous secretion ของ Meibomian’s glands มีหน้าที่

1.  ป้องกันไม่ให้น้ำตาไหลมากเกินปกติ

2.  ช่วยให้เปลือกตาปิดสนิทเวลาหลบตา

3.  เป็นผิวเคลือบอยู่ชั้นนอกของตาดำ (precorneal tear film)

4.  ป้องกันไม่ให้น้ำตาระเหยเร็วเกินไป

5.Palpebral or Tarsal conjunctiva

เป็นเยื่อบุที่บุด้านในของเปลือกตา มีลักษณะบางและมีเส้นเลือดจำนวนมาก Tarsal conjunctiva นี้บุติดกับ tarsal plate อย่างแน่นหนา ดังนั้นจึงไม่มีการบวมเวลาเกิดการอักเสบ

เส้นเลือด

เปลือกตาได้รับเส้นเลือดแดงจาก Ophthalmic artery, facial artery, superficial temporal และ infra-orbital arteries

ที่เปลือกตาบนเส้นเลือดแดงเหล่านี้จะประกอบขึ้นเป็น superior หรือ peripheral arch หรือ arcade โดยทอดไปตามขอบบนของ tarsus และมี inferior arch ทอดไปใกล้ๆ กับขอบของเปลือกตา

ส่วนที่เปลือกตาล่างมีเพียง arch เดียวที่ใกล้ๆ ขอบของเปลือกตา

เส้นเลือดดำของเปลือกตาเข้าสู่ ophthalmic vein, temporal vein และ facial vein

ทางเดินนํ้าเหลือง

เปลือกตามีท่อนํ้าเหลือง 2 กลุ่ม

1.  กลุ่มด้านใน (Medial group) ซึ่งถ่ายเทส่วนสองในสามทางหัวตาของเปลือกตาล่าง และหนึ่งในสามทางหัวตาของเปลือกตาบนเข้าสู่ submaxillar lymph nodes

2.  กลุ่มด้านนอก (Lateral group) ซึ่งถ่ายเทส่วนที่เหลือของเปลือกตาเข้าสู่ pre- auricular (parotid) lymph nodes

เส้นประสาท

1.  Oculomotor nerve ไปสู่กล้ามเนื้อ levator palpebrae superioris

2.  Facial nerve ไปสู่กล้ามเนื้อ orbicularis oculi

3.  Sympathetic nerves ไปสู่กล้ามเนื้อ Muller

4.  Sensory nerves มาจาก trigeminal nerve ผ่านทาง ophthalmic และ maxillary branches

หน้าที่ของเปลือกตา

1.  ป้องกันนัยน์ตาจากอันตรายภายนอก ฝุ่นผงต่างๆ ป้องกันไม่ให้นัยน์ตาถูกเปิดเผยมากเกินไป และป้องกันแสงที่จ้ามาก

2.  ช่วยกระจายน้ำตาและ secretions จากต่อมต่าง ๆ ให้กระจายบนพื้นผิวของตาดำ ทำให้ชุ่มชื้นและใส

3.  ช่วยชะล้างฝุ่นละออง ซึ่งอยู่ใน conjunctival sac

การผิดปกติโดยกำเนิดของเปลือกตา (Congenital abnormalities of the eyelids)

1. Coloboma of the eyelids

เกิดจากการเจริญเติบโตของเปลือกตาไม่สมบูรณ์ ทำให้มีลักษณะเป็นรอยแหว่ง (notch) ขนที่ขอบของเปลือกตา ดังนั้น ขนตาและต่อมต่างๆบริเวณนั้นก็หายไปด้วย เวลาหลับตาจะปิดไม่สนิท อาจทำให้เกิด exposure keratitis หรือแผลของตาดำเป็นโรคแทรก

การรักษา ทำผ่าตัดปลูกผิวหนังและเยื่อบุ (skin graft และ mucous graft)

2. Epicanthus

มักเป็นทั้งสองข้าง ลักษณะเป็นแผ่น (fold) ของผิวหนังซึ่งแผ่ตั้งฉากขึ้นไปจากบริเวณโคนจมูกไปถึงบริเวณหัวคิ้ว ดังนั้น  แผ่นผิวหนังอันนี้จะไปบัง medial canthus กับ caruncle และบางส่วนของตาขาวทางด้านหัวตา ทำให้มองดูคล้ายกับตาเหล่ชนิด internal squint ส่วนมากการเกิดนี้ปกติอาจหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น และการเติบโตของศีรษะและใบหน้าเป็นปกติ แต่บางรายอาจพบว่าอาการไม่หายไป บางรายอาจพบร่วมกับเปลือกตาตก (ptosis)

การรักษา ทำผ่าตดตกแต่ง (reconstructive surgery)

3.  Distichiasis

คือลักษณะซึ่งมีแถวของขนตางอกออกมามากกว่าปกติ ส่วนมากมักจะงอกออกมาตรงตำแหน่งรูเปิดของ meibomian ducts และปลายขนตาที่งอกออกมานี้มักจะชี้เข้าข้างใน ทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและตาดำ อาจทำให้เกิดอาการของเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรัง (chronic conjunctivitis) หรือแผลของตาดำได้

การรักษา ถ้ามีเพียงเล็กน้อย อาจใช้วิธีถอนขนตา (epilation) ถ้าไม่หายขาดหรือมีหลายเส้น อาจใช้วิธีจี้ด้วยไฟฟ้า (electrolysis) ที่ hair follicles เหล่านั้น

4.  เปลือกตาตก (Blepharoptosis, ptosis)

คือลักษณะซึ่งมีการหย่อนตัวมากกว่าปกติ (drooping) ของเปลือกตาบน ทำให้ inter- palpebral fissure แคบกว่าปกติ อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1. Congenital ptosis

โดยมากเกิดจากการผิดปกติของ oculomotor nerve ซึ่งไปสู่กล้ามเนื้อ levator บาง รายอาจร่วมกับอัมพาตของกล้ามเนื้อ superior rectus ซึ่ง supply โดย superior division ของ oculomotor nerve

อาการและอาการแสดง

1. อาจปรากฏอาการตั้งแต่แรกเกิด หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย โดยจะสังเกตพบว่า palpebral fissure ของตาที่มีเปลือกตาตกแคบกว่าปกติ และเปลือกตาบนไม่เผยอขึ้นเวลาที่เหลือบตาขึ้น

2.  ถ้าเป็นทั้งสองข้าง และเปลือกตาปิดลงมาจนบังรูม่านตา ผู้ป่วยจะพยายามฝืน โดยการแหงนศีรษะไปข้างหลัง และตาเหลือบตํ่าลงเพื่อที่จะมองลอดออกมาในแนว palpebral fissure ที่หน้าผากอาจพบมีรอยย่นเนื่องจากมีการหดตัวของกล้ามเนื้อ  occipitofrontalis ตลอดเวลาเพื่อพยายามเปิดเปลือกตาบนขึ้น เป็นลักษณะเฉพาะ (characteristic posture) ของ เปลือกตาตกทั้งสองข้าง

3.  ถ้าเป็นข้างเดียวและรูม่านตาของตาข้างนั้นถูกบังด้วยเปลือกตาตก สายตาข้างนั้นจะเสียไปเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน เรียกว่า “amblyopia ex-anopsia”

2. Acquired type

สาเหตุ

1.  อุบัติเหตุต่อเปลือกตา เช่น บาดแผลตัดขาด ทำให้กล้ามเนื้อ levator ขาด

2.  การอักเสบหรือการบวมของเปลือกตา (pseudo-ptosis)

3.  อัมพาตของ oculomotor nerve เช่น เนื่องจาก intracranial aneurysm แตก อุบัติเหตุที่ศีรษะ โรคเบาหวาน

4.  Myopathic condition ของกล้ามเนื้อ levator เช่น ในระยะแรกของโรค myas­thenia gravis

5.  Senile ptosis เนื่องจากกำลังของกล้ามเนื้อ levator ลดน้อยลงไป

6.  อัมพาตของ sympathetic nerve ซึ่งไปสู่ involuntary muscle of Muller เช่น ในโรค Horner’s syndrome

7.  ก้อนทูมที่เปลือกตาบน ทำให้เกิดน้ำหนักถ่วงเปลือกตาลงมา

การรักษา

1.  ในชนิดที่เป็นโดยกำเนิด ถ้าเป็นข้างเดียวต้องรีบแก้ไขภายในอายุ 1-2 ขวบ เพื่อป้องกัน amblyopia ex-anopsia แต่ถ้าเป็นทั้งสองข้างอาจรอได้จนกว่าเด็กจะอายุ 3-5 ขวบ

2.  รักษาตามสาเหตุ เช่น การอักเสบ ก้อนทูม เบาหวาน

3.  โดยทางผ่าตัด เช่น

a. Resection of levator muscle โดยมากทำในรายที่กล้ามเนื้อ levator ยังมีหน้าที่ดีอยู่ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าที่เปลือกตาบนมี superior palpebral sulcus ให้เห็นอยู่

b. Sling suture โดยการทำ suspension ของเปลือกตาบนจากกล้ามเนื้อ frontalis โดยใช้ fascia lata เพื่อทำให้เปลือกตาถูกยกขึ้น โดยมากใช้ทำในรายที่หน้าที่ของกล้ามเนื้อ levator เสียไปแล้ว

การอักเสบของเปลือกตา

1. เปลือกตาอักเสบ (Blepharitis)

โดยมากเกิดจากเชื้อ Staphylococcus อาจเป็นรุนแรงหรือเรื้อรังได้

สาเหตุ

มีสาเหตุนำต่าง ๆ ได้แก่

1.  ความเป็นอยู่สกปรกและอนามัยไม่ดี

2.  มีโรคพวก exanthemata เช่น โรคหัด อีสุกอีใส ฝีดาษ เกิดขึ้นก่อน

3.  ความระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควนไฟ ควนบุหรี่ ฝุ่นละออง หรือจากเครื่องสำอาง

4.  อาจเกิดร่วมกับโรคขี้รังแค (seborrhea)

5.  อาจพบร่วมกับโรคอื่นๆ เช่น เยื่อตาอักเสบเรื้อรัง acne rosacea เป็นต้น

อาการและอาการแสดง

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไม่เป็นแผล (Non-ulcerative) และชนิดเป็นแผล (ulcerative blepharitis)

ชนิดไม่เป็นแผล (Non-ulcerative blepharitis หรือ Squamous blepharitis)

1.  มีอาการร้อนนัยน์ตา และระคายเคืองที่นัยน์ตา อาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย

2.  ขอบของเปลือกตาบวมแดง มีสะเก็ดเล็กๆติดอยู่รอบๆโคนขนตา ในรายที่รุนแรง ขอบของเปลือกตาจะหนาและแบะ (evert) ออก

3.  ขนตาร่วง แต่ส่วนมากงอกขึ้นใหม่ได้

ชนิดเป็นแผล (Ulcerative blepharitis)

1.  ขอบของเปลือกตาบวมแดง และมีแผลหนองเล็กๆ (multiple suppurative lesions) ที่แผลมีหนองเหลือง ๆ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นสะเก็ด

2.  ถาแกะสะเก็ดออกจะมีแผลเล็กๆ ซึ่งมักมีเลือดออกง่ายอยู่รอบๆ ขนตา

3.  ขนตาร่วงและมักจะไม่งอกขึ้นมาใหม่ หรืองอกขึ้นมาแต่มีลักษณะผิดปกติ เช่น คุด (invert) เข้าข้างใน (trichiasis)

4.  ในรายที่เป็นเรื้อรัง ขนตาอาจร่วงจนหมด (madarosis) หรือขอบของเปลือกตาหนา (tylosis) หรือขอบของเปลือกตาแบะออก (ectropion)

การรักษา

1.  บำรุงสุขภาพ รักษาอนามัยความสะอาดและให้อาหารมีประโยชน์

2.  รักษาตามสาเหตุ เช่น โรคหัด ขี้รังแค หรือเยื่อจมูกอักเสบ

3.  ใช้สำลีชุบน้ำยาบอริค 3% เช็ดสะเก็ด หรือหนองที่ติดอยู่รอบๆขนตาออกให้หมด แล้วใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ หรือ sulphonamide หยอดหรือป้ายตา

4.  ในรายที่เรื้อรัง อาจให้ยา steroids ชนิดหยอดหรือป้าย (local steroid eye drops หรือ ointment) ร่วมกับพวกปฏิชีวนะจะได้ผลดีขึ้น เนื่องจากเปลือกตาอาจถูก sensitised ดวย exotoxin ของเชื้อ Staphylococcus ทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะ เมื่อให้ steroids ด้วยจะช่วยไม่ให้เกิด sensitised ขึ้น

5.  ในผู้ป่วยที่มีสายตาผิดปกติ (error of refraction) ควรแก้ไขโดยการให้ใช้แว่น สายตาที่เหมาะสม

2.  External hordeolum (Stye)

เป็นการอักเสบเฉพาะที่ของ Zeis’s glands หรือ Moll’s glands โดยเชื้อ Staphy­lococcus

สาเหตุ

มีสาเหตุนำเช่นเดียวกับโรคเปลือกตาอักเสบ อาจพบเป็นซ้ำได้บ่อย ๆ ในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับ carbohydrate metabolism เช่น เบาหวาน หรือในผู้ที่สุขภาพเสื่อมโทรม หรือผู้ที่สายตาผิดปกติแลวไม่ได้แก้ไขด้วยแว่นสายตา

อาการและอาการแสดง

1.  ระยะแรกอาจมีการบวมทั่วไปที่เปลือกตา เนื่องจาก cellulitis ต่อมาจะเป็นการอักเสบเฉพาะที่อยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งหรือมากกว่า

2.  มีอาการปวด กดเจ็บ (tenderness) น้ำตาไหล (lacrimation) และกลัวแสง (photophobia) อาการเหล่านี้มักมีมากในระยะแรก

3.  ต่อมามีหนองเกิดขึ้น บางรายหนองอาจแหงหายไปได้ แต่บางรายจะแตกออกมาเป็นหนองข้นๆ (purulent discharge) แล้วแผลก็แห้งยุบไป

การรักษา

1.  ระยะแรกควรให้ประคบความร้อนบ่อยๆ

2.  ให้ยาปฏิชีวนะ หรือ sulphonamide ทั้งชนิดเฉพาะที่และทั่วไป

3.  ในรายที่เกิดหนองขึ้น ให้ทำ incision and curette (I & C)

3.  Internal hordeolum

(Meibomian abscess หรือ Tarsal abscess)

เป็นการอักเสบติดเชื้อหนองของ Meibomian’s gland โดยเชื้อ Staphylococcus

สาเหตุ

เช่นเดียวกับ external hordeolum

อาการและอาการแสดง

1.  ระยะแรกมีอาการเช่นเดียวกับ external hordeolum

2.  ระยะต่อมาเมื่อมีหนองเกิดขึ้น จะปรากฏให้เห็นทางด้านในของเปลือกตา (tarsal conjunctiva)

การรักษา

เช่นเดียวกับ external hordeolum

4.  Meibomian cyst (Chalazion หรือ Tarsal cyst)

เป็นการอักเสบชนิดเรื้อรัง เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอุดตันของ meibomian duct ซึ่งอาจ กิดจากมี proliferation ของ epithelium ของ meibomian duct นั่นเอง หรือเนื่องจากมีการสะสม (impaction) ของ meibomian secretion ทางพยาธิวิทยาจะพบว่ามี lymphocytes, endotheloid cells และ giant cells มาแทรกซึม (infiltrate) อยู่รอบๆ และมี fibrous capsule หุ้มรอบอีกชั้นหนึ่ง ถ้ามีการติดเชื้อหนองเกิดขึ้นก็จะกลายเป็น meibomian abscess

อาการและอาการแสดง

1.  ลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ ซึ่งไม่มีลักษณะของการอักเสบ อยู่ทางด้าน tarsal-con­junctiva บางรายอาจยุบหายไปได้เอง

2.  ถ้า chalazion มีขนาดใหญ่มาก อาจทำให้มีความกดต่อนัยน์ตา ทำให้เกิดสายตาเอียงชั่วคราว (temporary astigmatism) ด้วย

3. ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนจะกลายเป็นฝี

การรักษา

เช่นเดียวกับ meibomain abscess

5.  Herpes simplex (Herpes febrilis)

เกิดจากการติดเชื้อ โดยเชื้อ herpes simplex virus มักเกิดร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนบน เช่น กล่องเสียงอักเสบและหลอดลมอักเสบ

อาการและอาการแสดง

1.  มีเม็ดพองใสๆ (vesicular eruption) เกิดขึ้นที่เปลือกตาและอาจเกิดร่วมกันที่จมูก และริมฝีปาก

2.  เปลือกตาบวมแดง ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง และลืมตาไม่ขึ้น (blepharospasm)

3.  อาจลามเข้าสู่เยื่อบุตา และตาดำ ทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะที่ตาดำจะทำให้เกิดแผลที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า “dendritic ulcer” บางรายที่รุนแรงอาจถึงตาดำทะลุ (corneal perforation)

การรักษา

1.  ให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่และทั่วไป ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน

2.  ในรายที่เกิด dendritic ulcer ที่ตาดำให้หยอดยา Idoxyuridine (I.D.U.) eye drop ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องจี้แผลด้วยกรดคาร์บอลิก (carbolic acid) หรือทิงเจอร์ไอโอดิน หรือคลอโรฟอร์ม

6.  Herpes Zoster Ophthalmicus

เป็น unilateral herpetic eruption ของผิวหนังด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นตามแขนงของ ophthalmic division ของ trigeminal nerve โรคนี้เกิดจาก neurotropic virus ซึ่งเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสของอีสุกอีใส ในโรค herpes zoster นี้ เชื้อไวรัสจะไปทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ gasserian ganglion หรือเส้นประสาท trigeminal nerve

อาการและอาการแสดง

1.  ระยะแรกจะมีอาการปวดแบบ neuralgic pain ที่ซีกหนึ่งของศีรษะและใบหน้า เรียกว่า pre-herpetic pain อาการทั่วไปอาจมีไข้ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร

2.  ระยะต่อมาภายหลัง 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีเม็ดพองใสๆ กระจายไปตามผิวหนังตาม zone of ophthalmic branch of N. 5 รอบ ๆ vesicles จะมีลักษณะของการอักเสบ ระยะแรกนี้เม็ดที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะใส

3.  ต่อมาเม็ดเหล่านี้จะขุ่นกลายเป็นหนอง (purulent) เนื่องจากมีการติดเชื้อแทรกซอน แล้วต่อมาจะกลายเป็นสะเก็ด เมื่อสะเก็ดหลุดออกจะมีแผลเป็นถาวร (permanent scar) เหลืออยู่

4.  บางรายถ้าเชื้อลุกลามเข้าสู่ nasal branch ของ frigeminal nerve การอักเสบจะ เข้าสู่นัยน์ตา โดยเฉพาะที่ตาดำจะไม่มีความรู้สึก และเกิดเม็ดใสๆ ขึ้นที่ตาดำ ต่อมาจะกลายเป็นแผลและอาจลุกลามเข้าสู่ยูเวีย (uveal tract) ต่อไป

5.  หลังจากที่โรคหายแล้ว ซึ่งมักกินเวลา 2-3 อาทิตย์ แต่ผู้ป่วยอาจยังมีอาการปวดอยู่เป็นเดือน หรือเป็นปี เรียกว่า post-herpetic pain

โรคแทรกซ้อน

1.  แผลที่ตาดำ ซึ่งถ้าแผลลึกมาก เมื่อแผลหายแล้วอาจเกิดเป็นแผลเป็น เรียกว่า leukoma cornea บางรายที่มีการปูดโปนของแผลเป็นและมีการยึดติดกัน (adhesion) ของม่านตาติดอยู่กับแผลเป็นด้วย เรียกว่า Staphyloma cornea

2.  ยูเวียส่วนหน้าอักเสบ (Anterior uveitis) เนื่องจาก endothelium ของตาดำติดต่อกับ endothelium ของยูเวีย ทำให้การอักเสบลุกลามถึงกันได้

3.  ต้อหินชนิดแทรกซ้อน (Secondary glaucoma) อาจเกิดจากการยึดติดกันระหว่างม่านตาดำ หรือเกิดจากการอุดตันของรูม่านตา (pupillary occlusion) เนื่องจากโรคยูเวียส่วนหน้าอักเสบ

4.  Neuroparalytic keratitis และตาขาวอักเสบ (scleritis)

5.  Total ophthalmoplegia เนื่องจากมี paralysis ของ N. 3 N. 4 และ N. 6 และ naso-ciliary branch ของ N. 5

6.  ประสาทตาอักเสบและประสาทตาฝ่อ (optic neuritis and optic atrophy)

7.  สมองอักเสบ (Encephalitis)

การรักษา

1.  การรักษาเฉพาะที่บนบริเวณผิวหนังที่เกิดเม็ดพุพอง ใช้ทาด้วย calamine lotion หรือ Zinc oxide powder หรือ ichthyol ointment

2.  ให้ยาปฏิชีวนะทั่วไปและเฉพาะที่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน

3.  ถ้ามีการอักเสบของตาดำหรือยูเวีย ควรหยอด mydriatics เช่น atropine 1% ร่วมด้วย เพื่อป้องกัน anterior หรือ posterior synechia

4.  ให้ยาระงับปวด บางรายอาจตองฉีดมอร์ฟีน

5.  ฉีดวิตามินบีสิบสอง 1,000 microgram ป้องกันการทำลายของเส้นประสาท

6.  ปัจจุบันเชื่อว่าการให้ยา steroids เฉพาะที่และทั่ว ๆ ไป จะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น แต่ควรให้เมื่อระยะอักเสบรุนแรงได้หายไปแล้ว

การผิดปกติของเปลือกตา (Deformities of the Eyelids)

1.  Trichiasis

คือลักษณะซึ่งมีการคุด (inversion) ของขนตาเข้าข้างใน ส่วนขอบของเปลือกตาปกติ

 สาเหตุ

1. การหดตัวของแผลเป็น (Cicartricial contraction) ของเยื่อบุตา และ tarsal plate เช่น จากโรคริดสีดวงตา (trachoma) หรือ membranous conjunctivitis

2. โรคเปลือกตาอักเสบเรื้อรัง ซึ่งทำให้ต่อมขนตาของขนตาถูกทำลายไป

3. ไฟลวก น้ำร้อนลวก (burns)

4. อุบัติเหตุของเปลือกตา เช่น แผลฉีกขาด แล้วเกิดการหดตัวของแผลเป็น

5. การผ่าตัดที่เปลือกตา เช่น ผ่าฝี หรือก้อนทูม

อาการและอาการแสดง

1.  ขนตาที่คุดเข้าไปอาจไปทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุตา และตาดำ ทำให้เกิดอาการของเยื่อตาอักเสบ และตาดำเป็นแผล

2.  ในรายที่มีตาดำเป็นแผลและเยื่อตาอักเสบเกิดขึ้น อาจปวดตา น้ำตาไหล และกลัวแสง

3.  บางรายแผลที่ตาดำอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ทำให้เกิดตาดำทะลุ และ pan­ophthalmitis ตามมา

การรักษา

1.  ในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อยใช้ถอนขนตาจี้ด้วยไฟฟ้าเพื่อให้ต่อมขนตาถูกทำลายไป

2.  ในรายที่เป็นมากตองทำการผ่าตัด ศัลยกรรมตกแต่ง เช่น tarsotomy หรือ tarsectomy

2.  Entropion

คือลักษณะซึ่งขอบของเปลือกตาม้วนเข้าข้างใน พร้อมด้วยขนตาเข้าข้างในด้วย

สาเหตุ

1.  Infantile entropion มักพบในเด็กเล็กๆซึ่งค่อนข้างอ้วน อาจเนื่องจากมีไขมันใต้ผิวหนังมาก หรืออาจเกิดจากการหดตัวของ tarsal portion ของกล้ามเนื้อ orbicularis

2.  Cicartricial entropion เกิดจากการหดตัวของแผลเป็น เช่น จากโรคริดสีดวงตา ไฟลวก หรืออุบัติเหตุของเปลือกตา

3.  Spasmodic entropion เกิดจากมีการหดตัวของ tarsal portion ของกล้ามเนื้อ orbicularis oculi มักพบที่เปลือกตาล่าง

อาการและอาการแสดง อาการเช่นเดียวกับ trichiasis

การรักษา

1.  Infantile entropion อาจหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ถ้ามีอาการระคายเคืองตา เนื่องจากขนตาทำความรบกวนแก่เยื่อบุตาหรือตาดำ อาจช่วยแก้ไขโดยการใช้ adhesive plaster ปิดยึดระหว่างเปลือกตาล่างกับแก้ม

2.  โดยการผ่าตัดเช่นเดียวกับ trichiasis

3.  Ectropion

คือลักษณะซึ่งมีขอบของเปลือกตาแบะออก มักพบที่เปลือกตาล่างมากกว่าเปลือกตาบน

สาเหตุ

1.  Cicartricial ectropion อาจเกิดจากไฟลวก น้ำรอนลวก หรืออุบัติเหตุ

2.  จากโรคเยื่อตาอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิด hypertrophy ของ tarsal conjunctiva หนามากจนดันขอบของเปลือกตาออกมา

3.  Paralytic ectropion มีอัมพาตของกล้ามเนื้อ orbicularis oculi มักพบร่วมกับ facial nerve palsy

4.  Senile ectropion พบในคนสูงอายุเนื่องจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ orbicularis

5.  Spasmodic ectropion มีการหดตัวของ marginal fibres ของกล้ามเนื้อ orbicularis oculi

อาการและอาการแสดง

1.  เยื่อบุนัยน์ตาถูกเป็ดเผยตลอดเวลา เพราะตาปิดไม่สนิท ทำให้เยื่อบุตาเกิดการคั่ง และแห้ง และหนาขึ้น

2.  น้ำตาไหล เนื่องจากรูน้ำตาถูกแบะออกมากับขอบของเปลือกตา ทำให้น้ำตาจาก lower fornix ไหลเข้าสู่ canaliculus ไม่ได้ อาจเป็นผลให้เกิดการเปื่อย (excoriation) และการอักเสบของผิวหนังของเปลือกตาล่าง

3.  ในรายที่รุนแรงจนตาปิดไม่สนิท (lagophthalmos) อาจทำให้เกิด exposure keratitis หรือแผลของตาดำได้

การรักษา

ส่วนมากต้องทำศัลยกรรมตกแต่ง

4.  Blepharospasm

คือลักษณะที่มีการบีบตัวอย่างแรงของเปลือกตา ซึ่งอาจกินเวลา 2-3 นาที หรือนานหลายวันก็ได้ (ปกตินัยน์ตากะพริบทุก 5 วินาที และกินเวลา 0.3 วินาที) แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

1.  Tonic form โดยมากเกิดจากการเจ็บปวด (painful stimulation) ของ trigeminal nerve หรือ facial nerve เช่น ผงติดที่ตาดำ (corneal foreign body) ตาดำถลอก เยื่อตาอักเสบ ตาดำอักเสบ เป็นต้น ถือว่าเป็นการป้องกันโดยธรรมชาติอย่างหนึ่งของนัยน์ตา

2.  Clonic form (Blepharoclonus) มี reflex of blinking มากกว่าปกติ ซึ่งอาจ เป็นแบบกะพริบตาถี่กว่าปกติ หรือแบบบีบตาแน่นนานกว่าปกติ มักจะมีการหดตัวของ orbital portion ของเปลือกตามาก และอาจกระทบกระเทือนต่อกล้ามเนื้ออื่นๆ ของใบหน้าด้วย (facial tic) บางรายอาจพบในคนที่สายตาผิดปกติ อ่อนเพลีย โรค parkinsonism บางราย อาจเป็น psychosomatic disorder หรือติดเป็นนิสัย (habit chorea)

การรักษา

1.  รักษาตามสาเหตุ เช่น รายที่เกิดจากการอักเสบ หรือผงเข้าตาที่เยื่อบุตา หรือตาดำ หรือสายตาผิดปกติ (refractive error) ก็แก้ไขตามสาเหตุ

2.  ในรายเรื้อรัง อาจฉีดยา block facial nerve ด้วยแอลกอฮอล์ 70-95% อาจหาย ได้ชั่วคราว หรือตลอดไป บางรายอาจทำ resection of lateral insertion ของกล้ามเนื้อ orbicularis oculi

5.  Symblepharon

คือลักษณะซึ่งมีการยึดติดกันระหว่าง palpebral conjunctiva กับ ocular conjunctiva บางรายอาจมีการตีบตันของ conjunctival sac และนัยน์ตากลอกไม่ได้ด้วย

สาเหตุ

1.  ถูกความร้อน หรือสารเคมี เช่น กรด หรือด่าง

2.  ระยะหลังของโรคริดสีดวงตา

3.  พบในโรค Erythema multiform (Steven-Johnson disease)

4.พบในโรค   Benign mucous membrane pemphigus

อาการและอาการแสดง

1.  นัยน์ตากลอกไม่ได้ บางรายอาจเห็นภาพซ้อน

2.  อาจทำให้เกิด exposure keratitis

การรักษา   ต้องทำการผ่าตัด เช่น การทำ mucous membrane graft

ก้อนทูมของเปลือกตา (Tumours of the Eyelids)

1. Benign tumours

1. Papilloma พบบ่อย ลักษณะประกอบด้วย vascular mesodermal core ลอมรอบ ด้วย proliferated epithelium ก้อนทูมชนิดนี้ไม่ลุกลามเข้าสู่ basement membrane ของ epidermis และอาจกลายเป็น malignant ได้

2. Xanthelasma ลักษณะเป็นก้อนราบ ๆ หรือเป็นก้อนนูนเล็กน้อย สีเหลืองๆ มักพบบริเวณใกล้หัวตาของเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง พบมากในคนสูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง เชื่อว่า hypercholesterolemia เป็นสาเหตุชักนำของก้อนทูมชนิดนี้

ภายในก้อนทูมประกอบด้วย xanthelasma cells อยู่ในชั้น subepithelium layer ของผิวหนัง ลักษณะของเซลล์ใหญ่และมี cytoplasm ใสๆ ภายใน cytoplasm มีพวก lipoid granules อยู่

3. Molluscum contagiosum ลักษณะเป็น umbilicated tumours สีขาว ๆ ขนาด เล็ก ๆ มักเกิดเป็นชนิดหลาย ๆ จุด ภายในก้อนทูมประกอบด้วย molluscum bodies ซึ่ง

เกิดจากการเสื่อมของ epithelial cells มีลักษณะคล้ายๆขี้ผงอยู่ในชั้น epithelial layer ของผิวหนัง เชื่อว่าเกิดจาก filterable virus บางชนิด

4. Angioma (Hemangioma) เป็นก้อนทูมของเส้นเลือด มี 2 แบบ คือ telangiectases และ cavernous hemangiomata

Telangiectases สีค่อนข้างแดงสด ประกอบด้วยเส้นเลือดฝอย (capillaries) ซึ่งพอง ตัวเป็นจุด ๆ

Cavernous hemangiomata ประกอบด้วยกลุ่มเส้นเลือดที่ขยายตัวและติดต่อกันและกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อมองผ่านผิวหนังเห็นเป็นสีค่อนข้างเขียว เวลามีเลือดดำคั่งมากๆ เช่น เวลาเด็กร้องหรือเอาหัวต่ำลงจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

Hemangioma ขนาดเล็กๆอาจจะหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่ถ้ามีขนาดโตขึ้นก็ต้องรักษาโดยทำผ่าตัดออก หรือจี้ด้วยไฟฟ้าหรือการฉายแสง

5.  Simple melanoma (pigmented nevus) โดยมากเป็นแต่กำเนิด และอาจโตตามอายุ ประกอบด้วยพวก nevus cells ซึ่งมีลักษณะกลมและมี neclei ใหญ่อยู่ในชั้น epithelium หรือ subepithelium ในก้อนทูมมีพวก chromatophore และ mesodermal elements ก้อนทูมพวกนี้อาจกลายเป็น malignant ได้

การรักษาพวก Benign tumours

พวก Benign tumours เหล่านี้อาจทำการผ่าตัดออก เพื่อความสวยงามหรือเมื่อก้อนทูมมีขนาดโตขึ้น บางชนิด เช่น molluscum contagiosum อาจใช้วิธีจี้ด้วย silver nitrate หรือ carbolic acid

2. Malignant tumours

1. Epithelioma เป็นก้อนทูมชนิด low grade malignancy และไมค่อยมี lymphatic metastasis มักเปลี่ยนแปลงมาจาก epithelial cells ของผิวหนังและพบบ่อยที่ขอบของเปลือกตา ก้อนทูมชนิดนี้เติบโตและลุกลามเข้าสู่ basement membrane ของ epithelium เข้าสู่ dermis ของผิวหนังได้ ในระยะหลังอาจกลายเป็นแผลและมีเลือดออกได้ง่าย

การรักษา

1.  ผ่าตัดเอาก้อนทูมออกรวมทั้งตัดเอาผิวหนังรอบๆ ออกด้วย ถ้าเป็นที่ขอบของ เปลือกตา อาจตองทำผ่าตัดปลูกผิวหนังด้วย

2.  ก้อนทูมชนิดนี้มีคุณสมบัติ radioactive ดังนั้น จึงอาจรักษาโดยการฉายแสงได้ในรายที่ไมสามารถทำผ่าตัด หรืออาจให้หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดใหม่

2. Rodent ulcer เปลี่ยนแปลงมาจาก epithelium ของผิวหนังประกอบด้วย column ของ epithelial cells ซึ่งมีลักษณะ non-keratinization ล้อมรอบด้วย layer ของ columnar cells ซึ่งเรียกว่า palisade layer

ลักษณะที่ตรวจพบเป็นก้อนเล็กๆ คลุมด้วยสะเก็ด ซึ่งจะหลุดออกเป็นครั้งคราว และ จะมี serosanguinous discharge เล็กน้อย

ก้อนทูมชนิดนี้สามารถมีการกระจายได้ ในระยะหลังๆอาจลามเข้าสู่กระดูกหรือกระดูกอ่อนใกล้เคียง และเข้าสู่โพรงจมูกและช่องจมูก (nasal cavity)

การรักษา

ระยะแรกผ่าตัดออกให้หมด และตามด้วยการฉายแสง

3. Malignant melanoma มักเปลี่ยนแปลงมาจากพวก pigmented nevus ประกอบ ด้วย oval cells หรืออาจเป็น mixed cells ซึ่งอยู่ปะปนกันไม่เป็นระเบียบและมี mitotic figure ภายในเซลล์มีพวก melanin pigments

ภายในก้อนทูมมี primitive blood vessels และอาจมีบางส่วนที่เปื่อยยุ่ย (necrosis) ก้อนทูมชนิดนี้อาจมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง นอกจากนี้อาจไปยังตับและอวัยวะภายในอื่น ๆ โดยกระจายทางกระแสโลหิต

การรักษา

ตัดออกให้หมด และถึงแม้ก้อนทูมชนิดนี้จะไมไวต่อการฉายแสง แต่ก็อาจให้ภายหลังผ่าตัดได้ เพื่อป้องกันการเกิดใหม่

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า