สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาหารแมคโครไบโอติกกับมะเร็ง

เอกสารวิชาการที่เกี่ยวกับแมคโครไบโอติกและการดูแลสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นการเล่า ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่เห็นผล บางส่วนเป็นการรายงานผู้ป่วยโดยแพทย์ และส่วนน้อยที่เป็นงานวิจัยทางการแพทย์ ผลงานวิชาการส่วนมากมาจากอเมริกาและยุโรป สำหรับประเทศไทย นั้นมีน้อยมาก

ปี พ.ศ. 2525 นพ.แอนโทนี แซททิลาโร เป็นวิสัญญีแพทย์ เขียนประสบการณ์ การดูแลสุขภาพ ในหนังสือ Recalled by Life : The Story of My Recovery from Cancer ถูก วินิจฉัยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากกระจายไปที่กระดูก การพยากรณ์ของโรคไม่ดี (Poor prognosis) ความรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรต้องสูญเสีย ได้ตัดสินใจใช้อาหารแมคโครไบโอติกที่มีเฉพาะธัญพืชครบส่วนและผักเป็นหลัก ได้ตรวจติดตามทางการแพทย์ที่ 1 และ 4 ปี พบว่ารอยโรคของมะเร็ง ที่กระจายไปที่กระดูกหายไปหมด ได้รับความสนใจและโด่งดังทั่วอเมริกา โดยเฉพาะทาง หนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ เซ่น Saturday Evening Post (August 1980) และ Life Magazine (August 1982)

ปี พ.ศ. 2522 เรื่องราวการหายจากมะเร็งได้เขียนไว้โดยนักเขียน ในหนังสือ Healing Miracles from Macrobiotics ศาสตราจารย์ดอกเตอร์จีน โคเลอ (Dr. Jean Kohler) หายจากมะเร็งตับอ่อนและเรื่องเล่าอื่นๆที่หายจากมะเร็งโดยอาหารแมคโครไบโอติก แมคโครไบโอติกในอเมริกาจึงได้รับความนิยม เพราะเป็นวิถีชีวิตและอาหารที่ใช้ดูแลผู้ป่วย มะเร็ง อาหารแมคโครไบโอติกมาตรฐานที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งประกอบไปด้วยธัญพืช ครบส่วน ถั่วและผัก มีหลักฐานทางการแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการบริโภคธัญพืชครบส่วน เช่น ข้าวกล้องเป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งชนิดต่างๆ ได้ ฤทธิ์ของธัญพืช ครบส่วนที่ต้านมะเร็งได้นั้น ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องของใยอาหารเท่านั้น ยังเกี่ยวพันไปถึง Estroge- Glucose และ Insulin metabolism อีกด้วย และที่สำคัญ เรื่องของ Oxidative process ด้วย

การบริโภคผักเป็นประจำก็มีหลักฐานว่าสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งด้วยเช่นกัน โดยการ รายงานของ American Institute for Cancer Research และ World Caner Research Fund การบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นวันละ 250-400 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลง

สาหร่ายทะเลที่แมคโครไบโอติกแนะนำให้บริโภคประจำเช่นเดียวกันกับธัญพืชครบส่วนและผัก ต่างๆ นั้นพบว่าช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมได้ เชื่อว่าเป็นเพราะสารต้านมะเร็ง Fucoidan ซึ่งเป็น Sulphate polysaccharide พบในสาหร่ายสีนํ้าตาล  (Brown seaweed) และ Fucoxanthin เป็น Carotenoid ที่ทำให้สาหร่ายมีสีนํ้าตาล

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า