สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับคนไข้ที่เสียแขนขา

คนไข้ที่ถูกตัดขา

ส่วนใหญ่ในเวชปฏิบัติทั่วไปพบว่า คนไข้ต้องถูกตัดขา เนื่องจากโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เบาหวาน หรือภยันตราย เมื่อจำเป็นต้องตัดขา ศัลยแพทย์ต้องพยายามเหลือความยาวของขาไว้ ให้มากที่สุดที่จะทำได้เพื่อใส่ขาเทียม ถ้าการตัดเหลือปลายไว้สั้น (short Stump) คนไข้จะเคลื่อนไหวไม่ได้ดีเท่าที่ควรเมื่อใส่ขาเทียม และท่าเดินจะไม่ดีเหมือนคนไข้ที่การตัดเหลือปลายไว้ยาว (Long Stump) นอกจากนี้ การทำเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะได้ผลดีก็เมื่อปลายที่เหลือของขาที่ตัดนั้นจะต้องดีรับกับขาเทียมที่ใส่ ถ้าเป็นไปได้ศัลยแพทย์ต้องพยายามเหลือข้อเข่าไว้ ในรายที่ตัดขาเหนือข้อเข่า

ขาเทียมที่ใส่จะต้องมีข้อเข่าด้วย ซึ่งทำให้เพิ่มขนาดขาเทียมและพลังงานที่คนไข้ต้องใช้ ตลอดจนทำให้คนไข้เคลื่อนไหวไม่สะดวกมากขึ้น

ปัจจุบันนี้การตัดขาในโรคหลอดเลือดส่วนปลายหรือเบาหวาน ส่วนมากสามารถเก็บข้อเข่าไว้ได้ ซึ่งผิดกับสมัยเมื่อ 20 ปีก่อน ทั้งนี้เหตุผลที่สำคัญอันหนึ่งคือ เทคนิคหลังการตัดขา โดยใส่เฝือกปูนในแบบเบ้ารอง รับเอ็นสะบ้า (patellar Tendon Bearing Socket) ทันทีหลังจากเย็บผิวหนังปิด โดยวิธีนี้ทำให้ไม่บวมและมีการดูดระบายเลือดที่ซึมหรือค้างอยู่ภายในแผล เป็นการป้องกันการบวม ช่วยเร่งให้เนื้อเยื่อหายเร็วยิ่งขึ้น

แบบของการตัดและส่วนประกอบของของเทียมที่จะใช้ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตัดตามความจำเป็นของโรคหรือภยันตราย คนไข้ที่ได้รับการตัดนิ้วเท้า พวกนี้ไม่จำเป็นต้องใส่นิ้วเทียมสำหรับการเดิน ถ้าตัดผ่านบริเวณ เมตาทาร์ซัลหรือทาร์ซัล ควรใช้รองเท้าตัดพิเศษ การตัดผ่านข้อเท้า (syme Amputation) มีข้อดี คือ ปลายขา (stump) เป็นส่วนที่รับน้ำหนัก แต่รูปร่างของขาเทียมอ้วนใหญ่ไม่สวยเหมือนขาที่ตัดใต้เข่า ฉะนั้นการตัดขาแบบซัยม์นี้ในหญิงสาวต้องคิดให้ดีก่อนที่จะทำ ขาเทียมแบบซัยม์ (syme Prosthesis) ก็เช่นเดียวกับขาเทียมแบบอื่นที่ประดิษฐ์ขันเกือบทั้งหมด คือไม่มีข้อเท้าและส้นเท้าที่ยืดหยุ่นได้ (solid Ankle, Cushioned Heel)

ระดับการตัดขาใต้เข่านั้นทำได้ตั้งแต่เหนือตาตุ่ม จนถึงที่ต่ำกว่าส่วนบนสุดของทิเบีย (Tibia Plateau) 5 ซม. บริเวณที่ตัดขาใต้เข่านี้ควรจะขึ้นอยู่กับระดับผิวหนังและกล้ามเนื้อที่ดี ที่เหมาะสมที่สุดควรเหลือปลายขาใต้เข่าไว้ยาว 15 ซม. ขาเทียมที่ใช้ในพวกตัคขาใต้เข่าเป็นแบบรองรับที่เอ็นสะบ้า (patellar Tendon Bearing) โดยเพิ่มสายรัดโคนขา หรืออาจไม่เพิ่มก็ได้ สายรัดโคนขานี้จำเป็นสำหรับคนที่มีปลายขาเหลือสั้นหรืออ่อนนุ่ม โดยสายรัดนี้จะช่วยกระจายการกดรอบๆ ปลายขาและเพิ่มความมั่นคง นอกจากนี้สายรัดยังใช้ช่วยยึดดึงขาเทียมในคนไข้ที่มีปลายขาสั้นมาก ขาเทียม ธรรมดาแบบเก่า (ปลายเปิด) ยังใช้เป็นประโยชน์ได้นานๆ ครั้ง โดยเฉพาะ ในคนไข้พวกที่ปวดปลายขา มีปัญหาทางผิวหนังหรือปลายขาบวม

ระดับการตัดขาเหนือเข่าควรอยู่ระหว่างบริเวณเหนือเข่า 10 ซม.จนถึงต่ำจากข้อตะโพก 10 ซม. ระยะ 10 ซม. เหนือเข่าเหมาะกับการทำเข่าเทียม (Mechanical Knee) เข่าเทียมสำหรับคนไข้ที่ตัดขาเหนือเข่านั้น มีหลายแบบ ที่ใช้บ่อยที่สุดเป็นแกนเดียว สำหรับขาเทียมมีเบ้าเป็นแบบ สัมผัสทั้งหมด และบนสุดเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่ากัน ซึ่งทำให้น้ำหนักส่วนใหญ่อยู่ที่ปุ่มอิสเคียล (ischial Tuberosity) และส่วนที่เหลือกระจายรอบๆ ปลายขา ขาเทียมติดอยู่ได้โดยใช้หรือไม่ใช้การดูด (suction) สำหรับ เบ้าดูด (suction Socket) ไม่ควรใช้ในรายที่มีการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังบวมเฉพาะที่หรือแผลที่ผิวหนัง ท่าเดินของคนไข้ที่ตัดขาเหนือเข่าจะไม่ดี เหมือนพวกที่ตัดใต้เข่าและพลังงานที่ใช้ในการเดินด้วยขาเทียมเหนือเข่านั้นมากมายกว่าพลังงานที่ใช้เดินด้วยขาเทียมใต้เข่า

นานๆ ครั้งเราจะพบคนไข้ที่จำเป็นต้องตัดข้อตะโพก (Hip Disarti­culation) ตัดครึ่งเชิงกราน(Hemipelvectomy) หรือตัดครึ่งตัว (Hemicor- porectomy) แบบเครื่องประดิษฐ์เทียมสำหรับคนไข้เหล่านี้มีตะโพกเทียม คานาเดียน (Canadian Hip Prosthesis) และเครื่องประดิษฐ์เทียมสำหรับพยุงเชิงกรานแบบอื่นๆ พลังงานที่ต้องใช้ในการเดินด้วยเครื่องประดิษฐ์เทียมเหล่านี้ ยิ่งมากกว่าพลังงานที่ใช้สำหรับการเดินในพวกตัดขาเหนือเข่า

คนไข้ที่ถูกตัดแขน

จุดประสงค์ของการใช้แขนเทียมก็เพื่อให้คนไข้จับสิ่งของได้ และทำให้รูปร่างครบถ้วน การตัดแขนก็เช่นเดียวกับการตัดขา ควรเหลือความยาวไว้ให้มากเพื่อให้สวมแขนเทียมได้กระชับ โดยทั่วไปคนไข้ที่ได้รับการตัดต่ำกว่าข้อศอกจะใช้งานได้ดีกว่าคนไข้ที่ถูกตัดเหนือข้อศอก

ในแขนเทียมอันหนึ่งนั้นเป็นการยากที่จะประดิษฐ์ให้ใช้งานได้ทั้ง 2 อย่าง คือ ใช้จับสิ่งของและเพื่อความสวยงาม ส่วนใหญ่คนไข้จึงต้องใช้แขนเทียม 2 แบบ แบบหนึ่งใช้เป็นขอ (Hook) จับสิ่งของและอีกแบบหนึ่งเป็นมือเพื่อความสวยงามโดยไม่ได้ออกแบบเพื่อใช้งาน สำหรับส่วนปลายแขนเทียมซึ่งเป็นขอจับและมือนี้เปลี่ยนกันได้ คนไข้ส่วนมากชอบแบบขอจับมากกว่ามือ เพราะแบบใช้ขอจับเบากว่า ทนทานกว่าและเหมาะสมสำหรับงานที่ต้องใช้มือ

เช่นเดียวกับบริเวณขา การประดิษฐ์แขนเทียมต้องแล้วแต่ระดับการตัด

คนไข้ที่มือขาดบางส่วน ไม่กระชับกับมือเทียม

คนไข้ที่ข้อมือขาด ใส่มือเทียมทำงานได้ เนื่องจากยังคว่ำและหงายมือได้เกือบเต็มที่ ส่วนปลายของมือเทียมและแขนเทียมเกือบทั้งหมด เป็นแบบที่บังคับให้เปิดหรือปิดได้โดยการควบคุมจากการกางกระดูกสะบัก การงอข้อไหล่หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน การเคลื่อนไหวเหล่านี้ติดต่อกับส่วนปลายด้วยสายลวดจากหัวไหล่

ในรายที่ตัดใต้ข้อศอกซึ่งเหลือส่วนปลายแขนยาว (Longer Stump) จะกระชับกับมือเทียมเช่นเดียวกับคนไข้ที่ถูกตัดผ่านข้อมือ อย่างไรก็ตาม แขนเทียมแบบมึนสเตอร์ (Mucnster Prosthesis) ใช้ได้ดีในคนไข้ที่เหลือปลายแขนใต้ศอกสั้น แขนเทียมแบบนี้เบ้ารองรับปลายแขน (socket) ยื่นไปด้านหลังรอบโอเลครานอนและกระชับชิดรอบๆ กล้ามเนื้อไบเซพส์ แขนเทียมยึดเหนี่ยวแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้บานพับที่ข้อศอกและรัดกล้ามเนื้อไทรเซพส์ อย่างไรก็ตามคนไข้จะเหยียดและงอข้อศอกได้จำกัด ซึ่งการเสียหน้าที่ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยในคนไข้ที่แขนขาดไปข้างเดียว

สำหรับการตัดบริเวณข้อศอก แขนเทียมที่ใส่นั้นทำงานได้ตามต้องการคือบิดเข้าในและบิดออกนอกได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม แขนเทียมที่ใช้นี้ ใหญ่ที่ข้อศอก เนื่องจากต้องเพิ่มเครื่องกันบานพับด้านนอกทำให้น่าเกลียด คนไข้หญิงส่วนมากไม่ชอบที่ข้อศอกมีกลไกกุญแจสลับ คือการเคลื่อนไหว แบบหนึ่งจะจำกัด (Lock) ข้อศอก และการเคลื่อนไหวอีกแบบจะไม่จำกัด (Unlock) ข้อศอก การควบคุมส่วนปลาย และการงอข้อศอกใช้การเคลื่อนไหวอย่างเดียวกับการใช้มือเทียมสำหรับข้อมือขาด เมื่อข้อศอกไม่ถูกจำกัด ข้อศอกเทียมงอได้ แต่เมื่อข้อศอกถูกจำกัด การควบคุมการเคลื่อนไหว อันเดียวกันนี้จะบังคับให้ส่วนปลายทำงาน

ในรายที่ตัดเหนือข้อศอก ใช้แขนเทียมแบบเดียวกับการตัดที่ข้อศอกได้ เพียงแต่ดัดแปลงที่ข้อศอกและรูปรางของเบ้าที่รองรับ คนไข้เหล่านี้ จำเป็นต้องใช้สิ่งประดิษฐ์เพื่อช่วยในการบิด

คนไข้ที่ถูกตัดข้อไหล่ ใช้แขนเทียมซึ่งมีหน่วยพื้นฐานเช่นเดียวกับคนไข้ที่ถูกตัดเหนือข้อศอก แต่เบ้ารองรับต้องคลุมสะบักและกล้ามเนื้อ เพ็คตอรัล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า