สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เมื่อลูกอายุ 6-8 เดือน

เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่หลายรายเริ่มหย่านมแม่เมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน ด้วยเหตุผลที่ว่า การให้นมแม่ไม่สะดวกสบายเหมือนตอนแรกๆ เมื่อลูกต้องดูดนมถี่ขึ้น ร้องกวน แม่รู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานมากขึ้น และลูกก็โตขึ้นแล้ว

การพักผ่อนและการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง คือสิ่งที่คุณแม่ต้องการ ยิ่งลูกร้องกวนมากขึ้น ร่างกายก็เหนื่อยล้าก็มักจะทำให้คุณแม่รู้สึกหงุดหงิด คุณแม่ต้องเอาใจใส่เรื่องอาหารหากต้องการให้นมลูกต่อ ต้องรับประทานอาหารให้เพียงพอเพราะร่างการต้องการแคลเซี่ยมและโปรตีนในการผลิตน้ำนมมากขึ้น ถึงแม้ว่าคุณค่าในน้ำนมจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดนักถ้ารับประทานอาหารไม่เพียงพอ แต่คุณแม่จะรู้สึกอ่อนเพลีย อ่อนแอ เจ็บป่วยได้ง่าย และเพื่อให้ได้วิตามินเพียงพอก็ต้องรับประทานผักและผลไม้ด้วย

หลังลูกอายุ 6 เดือน เวลากินนมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน ก็ยังต้องการนมมื้อเช้าอยู่ แต่อาจเลิกนมมื้อหลังเที่ยงคืนไป ทารกอายุ 8 เดือนขึ้นไปจะกินนมแม่วันละ 4-5 มื้อ และเริ่มรับประทานอาหารได้เต็มที่ 2 มื้อ ในช่วงนี้ การได้รับน้ำนมแม่มักเป็นความสำคัญในแง่ของจิตใจมากกว่า เป็นความรักที่แม่แสดงออกกับลูก เป็นการปลอบใจเมื่อลูกหวาดกลัว

นมในมื้อหลังเที่ยงคืนเด็กอายุ 7-8 เดือนโดยทั่วไปมักจะไม่ต้องการแล้ว คุณแม่อาจอุ้มแล้วร้องเพลงกล่อมถ้าเขาตื่นขึ้นมา ลูกจะค่อยๆ ร้องสั้นลงๆ ทุกคืน จนไม่ตื่นมาตอนกลางดึกอีก ในช่วงนี้เขาต้องการอ้อมแขนของคุณพ่อคุณแม่เท่านั้นไม่ได้ต้องการนมแม่อีก และไม่ควรให้นมขวดแทนหากเขาตื่นขึ้นมาตอนกลางดึก เพราะอาจทำให้ลูกติดขวดนมได้

ทารกจะเริ่มมีฟันขึ้นแล้วหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่อาจสงสัยว่า จะทำให้ลูกฟันผุหรือไม่ หากให้ลูกกินนมแม่จนหลับและหัวนมยังอยู่ในปากลูก หัวนมแม่จะอยู่ลึกเข้าไปในปากในขณะที่ลูกดูด และนมแม่ก็ไม่ได้ไหลออกมาอีกเมื่อลูกหลับแล้ว ฟันของลูกไม่ได้สัมผัสกันน้ำนมจึงไม่ทำให้ฟันผุ แต่การให้นมขวดหัวนมจะอยู่ที่ฟันหน้าเมื่อลูกหลับน้ำนมอาจเคลือบอยู่ที่ฟันหน้า จึงทำให้พบปัญหาฟันผุได้มากกว่ากว่ากินนมแม่

การให้อาหารอื่นเสริมนมแม่ เมื่อลูกอายุเกิน 6 เดือนแล้ว จะพบว่ากลไกน้ำนมพุ่งจะไม่ทำงานทันทีเมื่อลูกดูดเหมือนตอนแรกๆ ก่อนที่นมจะพุ่งออกมาก็ต้องดูดไปสักประมาณ 15-20 นาทีก่อน เมื่อลูกโตระยะเวลาก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระยะห่างเช่นนี้จะทำให้ทารกดูดนมแม่น้อยลง และเมื่ออายุ 9 เดือน ก็จะเริ่มหย่านม

มีทารกอายุ 9 เดือนกลุ่มหนึ่ง เริ่มหย่านมอย่างค่อยเป็นค่อยไป การดื่มนมของลูกในช่วงนี้ คุณแม่เริ่มให้ดื่มจากถ้วย เมื่อลูกดูดนมแม่น้อยลง นมแม่ก็ค่อยๆ ลงลงไปด้วย ทำให้ลูกหย่านมแม่ได้ในที่สุด การดูดนมแม่ของทารกบางราย เขาอาจของดูดในมื้อที่เขาชอบที่สุดต่อไปอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ และเลิกได้ในที่สุด

ทารกบางกลุ่มก็ไม่ยอมเลิกนมแม่ ชอบให้แม่อุ้มกอดเมื่อดูดนมแม่ เขาอาจดูดนมแม่เพียงวันละ 3-4 มื้อเท่านั้น คุณแม่ก็ควรให้ลูกดูดนมต่อไปจนกว่าลูกพร้อมที่จะหย่านมแม่

ที่มา: จากหนังสือเรื่อง เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิถีแห่งธรรมชาติ
โดย: พ.ญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า