สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เด็กน้ำหนักน้อย (Failure to gain weight)

ชั่งน้ำหนัก
ปัญหาที่พบบ่อยอีกปัญหาหนึ่งที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยเป็นปัญหาที่บิดามารดาเอง เป็นคนพามา กลุ่มนี้มักจะมีฐานะปานกลางหรือดี กับอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งแพทย์เป็นผู้ตรวจพบได้จากการที่เด็กถูกพามาด้วยปัญหาอื่น

การเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็กขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ
1. ลักษณะทางพันธุกรรม การซักประวัติครอบครัวถึงส่วนสูง และโครงร่างกายของบิดามารดา ญาติพี่น้องจึงมีส่วนสำคัญในการพิจารณาปัญหานี้

2. สิ่งแวดล้อมได้แก่ อาหาร โรคภัยไข้เจ็บ สภาวะฮอร์โมน สภาวะจิตใจ และสภาพสังคม สำหรับเด็กไทยสาเหตุที่พบบ่อยคือ ปัญหาทุพโภชนาการและโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะชนิดเรื้อรัง เช่น วัณโรค เป็นต้น

สาเหตุ
1. ได้รับอาหารไม่พอทั้งคุณภาพและปริมาณ เช่น ฐานะยากจน, ขาดความรู้ ในการให้อาหารทารก เป็นต้น

2. มีความผิดปกติของการดูดซึมอาหาร เช่น malabsorption จาก pancreatic disease, giardiasis, allergy, intestinal tuberculosis, biliary atresia และ Hirschprung’s disease เป็นต้น

3. ไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ได้ หรือมีการเพิ่มของ metabolism เช่น acute or chronic infection, โรคหัวใจ, โรคเรื้อรังของปอด ตับ และไต, โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น DM, hyperthyroidism, hypothyroidism ในเด็กเล็ก, storage diseases และ inborn error of metabolism

4. Neurologic disorders เช่น cerebral palsy, mental retardation, diencephalic syndrome ซึ่งเกิดจากเนื้องอกที่บริเวณ hypothala¬mus และ third ventricle ทำให้เกิดอาการกินจุแต่ไม่อ้วน เป็นต้น

5. Psychosocial problems เช่น maternal deprivation เป็นต้น ถ้ามีอาการตัวเตี้ยร่วมด้วย ต้องนึกถึงสาเหตุจากต่อมไร้ท่อ และโรคกระดูก
มากขึ้น

การซักประวัติ

ถามถึงประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด และการเจริญเติบโตในอดีต, น้ำหนักแรกคลอด, ประวัติพัฒนาการ และประวัติครอบครัว ส่วนสูงของบิดามารดา และญาติพี่น้อง, การรับประทานอาหาร, ความเจ็บป่วยในอดีต

การตรวจร่างกาย
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหรือความยาว แล้วเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (growth curve) ถือว่าผิดปกติเมื่อได้ค่าที่ต่ำกว่า 3rd percentile และ บอกถึงความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการได้ในกรณีที่ใช้ growth curve ที่ทำตามแบบของ Gomez, ตรวจ osseous development โดยดูจากจำนวนฟันที่ขึ้นและ skeletal proportion ได้แก่ span/height ratio, upper/lower body segment ratio, และตรวจ sexual development ว่าเหมาะสมกับอายุหรือไม่

การทราบผลการวัดการเจริญเติบโตในอดีต จะช่วยในการวินิจฉัยได้ดีกว่าการวัดเพียงจุดเดียว เพราะทำให้ทราบว่าความผิดปกติในการเจริญเติบโตนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด และมีแนวโน้มว่า เป็นมากขึ้นหรือกำลังจะดีขึ้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-CBC, UA, stool exam, tuberculin test
-bone age ในกรณีที่สงสัยโรคของต่อมไร้ท่อ
-การตรวจอื่นๆ แล้วแต่กรณีที่มีข้อบ่งชี้

การรักษา
ในกรณีที่เป็นปัญหาทางด้านโภชนาการในระดับที่ 1 หรือ 2 ตาม Gomez classification สามารถจะให้การรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกได้ โดยให้คำแนะนำเรื่องอาหาร โดยทั่วไปอาหารของคนไทยมักมีไขมันน้อย การแนะนำจึงควรให้เพิ่มอาหารที่ให้พลังงานและไม่ bulky จะได้ไม่จุกแน่น โดยให้เพิ่มการใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร เช่น ผัดผักกับน้ำมัน แกงจืดใส่น้ำมัน ไข่เจียว เป็นต้น การได้น้ำมันเพิ่มมื้อละ 1 ช้อนชา ทำให้ได้พลังงานเพิ่มถึง 45 กิโลแคลอรีต่อมื้อ น้ำนมวัวหรือน้ำนมถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริมที่เป็นประโยชน์มากในการเพิ่มพลังงานและโปรตีนแก่ร่างกาย น้ำนม 1 ถ้วย (250 มล.) ให้พลังงาน 160 กิโลแคลอรีและโปรตีนประมาณ 10 กรัม ในกรณีของเด็กเล็กซึ่งยังต้องให้ น้ำนมอยู่ การเติมน้ำมันประมาณ 1 มล./นม 1 ออนซ์จะเพิ่มพลังงานได้ถึง 9 kcal/ออนซ์ นอกจากนี้ยังต้องแก้บริโภคนิสัยบางประการ เช่น ชอบอมท้อฟฟี่ หรือชอบกินขนมกรุบกรอบ ซึ่งไม่มีประโยชน์ แต่ทำให้อิ่ม ไม่อยากกินอาหารอื่น

ในเด็กทุพโภชนาการเหล่านี้มักพบการขาดสารอาหารชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ซีดจากการขาดเหล็ก ขาดไวตามิน เอ เป็นต้น ควรตรวจร่างกายให้ละเอียดและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการถ้าสงสัย พร้อมทั้งให้การรักษาร่วมไปด้วย

รับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อต้องการทำการตรวจพิเศษเพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และในกรณีของ PEM เมื่อเป็น severe case และมีโรคแทรกซ้อนที่อันตราย

ที่มา: ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า