สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาการเป็นลม (Syncope, Fainting)

เป็นลม
อาการเป็นลมหมายถึง อาการหมดสติหรือไม่รู้สึกตัวชั่วครู่ มักจะเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง (decreased cerebral perfusion and anoxia) อาการเป็นลมมักไม่เกิน 20 วินาที ถ้านานกว่านั้นเด็กอาจจะมีมือกระตุกด้วย

อาการเป็นลมที่เกิดขึ้นอาจจะบอกโดยผู้ป่วยเอง หรือมีผู้พบเห็น สาเหตุที่พบบ่อยมักจะเป็น vasovagal attack ในรายที่มีประวัติเป็นหลายๆ ครั้งลักษณะเดียวกัน อาจจะมีสาเหตุจากโรคหัวใจ โรคระบบประสาท หรือปัญหาทางอารมณ์

สาเหตุของการเป็นลม
1. Vasovagal syncope เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด และมักเกิดขึ้นกะทันหันหัน อาจจะมีประวัติครอบครัว โดยมากจะพบในวัยรุ่น และมีสาเหตุนำ เช่น หิว ไม่ได้กินอาหารเช้า เจ็บปวด เพลีย ยืนนานๆ อากาศร้อนอบอ้าว ได้รับความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ รุนแรง มีการเสียเลือด หรือเห็นเลือด เด็กจะมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด มึนงง ตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเบาขณะเป็นลม ถ้าจับนอนราบเอาน้ำเย็นลูบหน้ามักจะดีขึ้น

2. Hysterical fainting มักพบในเด็กโตหรือวัยรุ่น อาจจะไม่มีสาเหตุนำ เด็กพวกนี้มักมีปัญหาทางอารมณ์ ต้องการการเอาใจใส่ เป็นได้บ่อยๆ และเป็นอยู่นาน

3. Cardiovascular cause เช่น จากโรคหัวใจที่เป็นรุนแรง ได้แก่ severe aortic stenosis, severe pulmonic stenosis, tetralogy of Fallot เป็นต้น มักเกิดหลังจากเล่นหรือออกแรง จาก arrhythmia เช่น paroxys¬mal atrial tachycardia, complete heart block, sick sinus syn¬drome เป็นต้น จาก mitral valve prolapse, prolonged QT interval syndrome, carotid sinus syncope มักจะเกิดในเด็กใส่เสื้อคอตั้งและรัดคอมากไป

4.  Breath holding spell หรือ Temper tantrum มักจะพบในเด็ก เล็กอายุ 1-3 ปี เด็กมักจะร้องงอหายเมื่อถูกขัดใจหรือได้รับบาดเจ็บ หลังจากร้องก็หยุดหายใจ ปากเขียว หรือปากซีด มักจะหายไปเองไม่เกินอายุ 5 ปี ถ้าเป็นบ่อยๆ อาจจะต้องทำคลื่นไฟฟ้าสมอง เพื่อแยกสาเหตุจาก psychomotor epilepsy

5. Hyperventilation มักพบในเด็กโต โดยจะมีอาการหอบลึกนำมาก่อน แล้วอ่อนปวกเปียกไปเลย ร่วมกับมีลักษณะ carpopedal spasm มักพบในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์

6. Convulsion (epilepsy) พบในเด็กโต มักจะมีอาการนำมาก่อน (aura) เช่น ร้องขึ้นทันที เกิดความหวาดกลัวก่อนที่จะเป็นลมนิ่งไป (sudden col¬lapse) อาจจะเป็น major หรือ minor convulsion ก็ได้ เด็กที่เป็น petitmal อาจไม่มีอาการเตือนมาก่อน (aura) และ เด็กมักจะรู้ว่าเกิดอาการ ซึ่งเป็นระยะสั้น เด็กที่ชักกระตุกจาก epilepsy มักจะไม่รู้สึกตัวขณะชัก เมื่อหยุดชักแล้วก็หลับไป หลังจากตื่นขึ้นเด็กมักจะสับสน เด็กพวกนี้มักเป็นซ้ำๆ กันหลายครั้ง

7. สาเหตุอื่นที่อาจทำให้เป็นลม ไอติดๆ กันในพวก asthma หรือ pertussis, Cerebral brain stem tumor, Adrenal insufficiency, ซีดมากๆ จากการเสียเลือด หรือขาดเหล็ก, การได้รับยาบางอย่าง เช่น antihista¬mine, amphetamine, ยานอนหลับ

ดังนั้นผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเป็นลม ควรจะพิจารณาถึง 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ
1. อายุของผู้ป่วย
2. สภาวะแวดล้อมที่ร่วมกระตุ้น หรือนำมาก่อนการเป็นลม

การตรวจร่างกายควรจะตรวจให้ละเอียดทุกระบบ วัดความดันโลหิตในท่าต่างๆ เพื่อความ postural hypotension หรือไม่ บางรายอาจจะมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ไม่ทราบแน่ว่าเกิดอะไรขึ้น ให้ตรวจระบบประสาทและส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองด้วย ถ้าคิดว่าอาจจะเกี่ยวกับ epilepsy ในรายที่สงสัยสาเหตุทางหัวใจ ควรส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

แนวทางการรักษา
ขึ้นกับสาเหตุ

เด็กที่เป็นบ่อย และเป็นที่กังวลของบิดามารดามาก อาจจะต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อสังเกตอาการ และสืบค้นหาสาเหตุต่อไป

ที่มา:พันธ์ทิพย์  สงวนเชื้อ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า