สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อะนาฟัยแลกซิส (Anaphyl axis)

ภูมิแพ้
เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลัง antigen – antibody reaction เนื่องจากเป็น life threatening condition จึงต้องอาศัยความรวดเร็วในการวินิจฉัย และการรักษา เพราะยิ่งรีบรักษาให้เร็วเท่าใด โอกาสรอดของผู้ป่วยก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น

สาเหตุ
สารที่เป็นสาเหตุของ anaphylaxis มีหลายชนิด อาจเข้าสู่ร่างกายทางการ ฉีด, การรับประทาน, การหายใจ หรือการสัมผัสได้ ตัวอย่างสารที่ทำให้เกิด anaphylaxis ได้บ่อยในเด็ก ได้แก่

1. ยาที่สำคัญ ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะพวก penicillin และ synthetic penicillin analogs.

2. Heterologous antiserum เช่น antiserum ต่อ diphtheria, tetanus, rabies, พิษงู

3. Diagnostic agents เช่น    iodinated contrast media, sulfobromophthalein (BSP)

4. อาหาร เช่น ไข่, นม, ถั่ว, อาหารทะเล เป็นต้น

5. Stinging insects เช่น ผึ้ง, ต่อ, แตน, แมลงหมาร่า, มดแดงไพ,
มดตะนอย

6. การได้รับ allergenic extracts เช่น การทา    e skin test, immunotherapy overdose เป็นต้น

อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยจะแสดงอาการออกมาตามระบบใหญ่ๆ 4 ระบบ ได้แก่

ระบบผิวหนัง    : อาจเกิดผื่นลมพิษ และแองจิโออิดีมา
ระบบการหายใจ : มีอาการแน่นหน้าอก, หอบหืด, กล่องเสียงบวม, ตัวเขียว และอาจถึงแก่ความตายได้
ระบบทางเดินอาหาร : มีอาการปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง ระบบไหลเวียนโลหิต : มีอาการหน้ามืด, เป็นลม, ความดันโลหิตต่ำ, ชีพจรเบาเร็ว, ช็อค และหัวใจหยุดเต้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย

การรักษา
การรักษาภาวะนี้ต้องการความรวดเร็ว ควรทำตามขั้นตอนดังนี้

1. ฉีด Adrenalin 1 : 1,000 ในขนาด 0.01 มล./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม subcutaneously ในกรณีที่ไม่ทราบน้ำหนักตัว ใช้ขนาด 0.2 มล. ในเด็กเล็ก, 0.3 มล. ในเด็กโต สามารถซ้ำได้ทุก 15 นาทีอีก 2 ครั้ง โดยระลึกเสมอว่า “adrena¬lin เป็น drug of choice”

2. ถ้าอาการดังกล่าวเกิดจากการฉีดยาหรือแมลงต่อยบริเวณแขนขา ให้ทำ tourniguet รัดเหนือบริเวณนั้น

3. ฉีด antihistamine เข้าหลอดเลือดดำช้าๆ ถ้าไม่สามารถหาเส้นได้ ใช้ฉีดเข้ากล้ามแทน โดยอาจใช้
Chlorpheniramine (PiritonR) 5-10 มก. หรือ
Diphenhydramine (BenadrylR) 2540 มก. แล้วต่อน้ำเกลือเข้าเส้น
ตามมา

4. ให้หายใจออกซิเจน

5. ถ้ามีอาการหอบหืด ให้ aminophylline 5 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เข้าหลอดเลือดช้าๆ ในเวลา 15 นาที

6. ให้ corticosteroid 7-10 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในรูป
hydrocortisone เข้าเส้น ตามด้วย 5 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 6 ชั่วโมง

7.ในรายที่มีอาการรุนแรง รักษาตามขั้นตอนข้างบนแล้ว ความดันโลหิตยังคงต่ำ ให้พลาสม่าหรือสารพวก vasopressors เช่น metaraminol (Aramine) หรือ levarterenol (Levophed)

8. หากมีอาการของ upper airway obstruction จาก laryngeal
edema ให้ทำ tracheostomy หรือถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ

การป้องกัน
1. ซักประวัติการแพ้ยาต่างๆ อย่างละเอียดก่อนที่จะสั่งยาให้ผู้ป่วย โดย เฉพาะอย่างยิ่งยาที่มีอุบัติการของการแพ้สูง

2. พยายามบริหารยาทางการรับประทานก่อน ยกเว้นจำเป็นจึงบริหารทางการฉีด

3. หลังฉีดยาควรให้ผู้ป่วยนั่งพักรอประมาณ 30 นาที

4. เมื่อตรวจพบว่าผู้ป่วยแพ้อะไร ต้องบอกให้ผู้ปกครองทราบทุกครั้ง

ที่มา:อารียา  เทพชาตรี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า