สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

หมดสติ(coma)

เป็นภาวะร้ายแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วหากไม่ได้รับการการรักษาอย่างทันท่วงทีหมดสติ

สาเหตุ
สาเหตุที่อาจทำให้หมดสติได้ เช่น ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต กินยาพิษ แพ้ยา ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ มาลาเรียขึ้นสมอง หลอดเลือดฝอยในสมองแตก ตับแข็ง เบาหวาน ภาวะไตวาย เป็นต้น

ก่อนจะมีอาการหมดสติผู้ป่วยมักมีประวัติได้รับอุบัติเหตุ หรือตั้งใจกินยาพิษหรือเสพยาเกินขนาด หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง

อาการ
แม้จะปลุกผู้ป่วยอย่างไรก็ไม่ตื่นเนื่องจากหมดความรู้สึกทุกอย่างจากการหมดสติ อาจพบอาการหายใจไม่ปกติ หายใจหอบขัด อัมพาตของแขนขา ปากเบี้ยว ตัวเกร็ง ชักกระตุก คอแข็ง มีไข้สูง หรืออาจหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นได้ในรายที่เป็นรุนแรง

สิ่งตรวจพบ
อาจมีอาการหายใจขัด ชักกระตุก มีไข้ หรือความดันโลหิตสูงในรายที่มีอาการแน่นิ่งหมดสติ และควรตรวจดูลูกตาผู้ป่วยด้วยวิธีดังนี้

1. เมื่อเขี่ยขนตาหรือตาขาวด้วยผ้าก็อซหรือสำลีผู้ป่วยจะไม่กระพริบตาในผู้ป่วยที่หมดสติ

2. สังเกตลักษณะและขนาดของรูม่านตาทั้งสองข้าง ดังนี้
-มักมีสาเหตุจากการเป็นลมธรรมดา ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หมดสติจากเบาหวาน หมดสติจากตับวาย หากพบว่ารูม่านตาทั้งสองข้างปกติและมีปฏิกิริยาต่อแสงคือหดเล็กลงเมื่อถูกแสงไฟส่อง

-มักมีสาเหตุมาจากยาอะโทรพีน เมทานอล หรือผู้ป่วยระยะใกล้ตาย หากพบว่ารูม่านตาทั้งสองข้างขยาย

-มักมีสาเหตุจากฝิ่นหรือมอร์ฟีน ยาฆ่าแมลงพวกพาราไทออน ยาบาร์บิทูเรต ยาหยอดตาที่มีตัวยาไพโลคาร์พีน หรือพบในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองส่วนพอนส์ หากพบมีรูม่านตาทั้งสองข้างหรี่เล็กลง

-มักมีสาเหตุจากมีก้อนในสมอง เช่น ก้อนเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดแตก ฝี เนื้องอก หากพบว่ารูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน และรูม่านตาข้างเดียวกับสมองที่มีก้อนจะขยายโตกว่าอีกข้างหนึ่ง เมื่อถูกแสงก็ไม่หดเล็กลง ควรได้รับการผ่าตัดรักษาทันที

โดยทั่วไปการหมดสติจากพิษยาต่างๆ รูม่านตายังมีปฏิกิริยาต่อแสง ยกเว้นยานอนหลับกลูเททิไมด์ที่มีชื่อการค้าว่า ดอริเดน รูม่านตาจะขยายและไม่หดเล็กลงเมื่อถูกแสงจากพิษยานี้

รูม่านตามักจะไม่มีปฏิกิริยาต่อแสงหากเกิดอาการหมดสติจากการมีก้อนในสมอง หรือใกล้ตาย

การปฐมพยาบาล
ในกรณีผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ผายปอดด้วยวิธีการเป่าปากทันที ดังนี้
1. จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้นแข็งๆ ปลดเสื้อผ้าให้หลวม

2. ใช้นิ้วล้วงเศษอาหาร เสมหะ ฟันปลอม สิ่งแปลกปลอมออกจากปากผู้ป่วย

3. ใช้มือข้างหนึ่งรองใต้คอผู้ป่วยและยกคอขึ้นให้ศีรษะหงายไปข้างหลัง ใช้มืออีกข้างหนึ่งวางที่หน้าผากผู้ป่วยแล้วกดลงแรงๆ เพื่อให้คางของผู้ป่วยยกขึ้น

4. ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างที่วางอยู่บนหน้าผากผู้ป่วยบีบจมูกผู้ป่วยให้แน่น สูดหายใจเข้าแรงๆ แล้วใช้ปากประกบกับปากผู้ป่วยเป่าลมเข้าแรงๆ ในระยะแรกให้ทำการเป่าปากผู้ป่วยติดๆ กัน 4 ครั้ง ต่อไปเป่าประมาณนาทีละ 12 ครั้งหรือทุกๆ 5 วินาที สำหรับทารกและเด็กเล็กใช้ปากประกบคร่อมปากและจมูกเด็กแล้วเป่าลมให้แรงพอที่จะทำให้หน้าอกขยายแต่ไม่แรงจนเกินไป ประมาณ 20 ครั้งต่อนาที หรือทุกๆ 3 วินาที

ถ้าหน้าอกของผู้ป่วยขยายขึ้นและแฟบลงตามจังหวะแสดงว่าวิธีการเป่าปากได้ผล แต่ถ้าหน้าอกไม่ขยาย หรือสงสัยว่าลมไม่เข้าปอดผู้ป่วย ให้สอดนิ้วหัวแม่มือเข้าในปากของผู้ป่วยแล้วจับขากรรไกรล่างให้แน่น พร้อมกับงัดแรงๆ ให้ปากอ้ากว้าง แล้วทำการเป่าปาก ให้ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือจนกว่าจะถึงมือแพทย์

5. ถ้าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นจากการคลำชีพจร หรือฟังเสียงหัวใจไม่ได้ให้ทำการนวดหัวใจประมาณ 100 ครั้ง/นาทีทันที

ถ้ามีผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยคนเดียว ให้นวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน สำหรับผู้ใหญ่ให้นวดหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับเป่าปาก 2 ครั้ง ในเด็กนวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกับเป่าปาก 2 ครั้ง

ในกรณีที่ผู้ป่วยยังหายใจได้เอง ให้ทำการปฐมพยาบาลดังนี้
1. ให้ผู้ป่วยนอนหงาย จับศีรษะให้หงายขึ้นมากๆ ใช้นิ้วล้วงเศษอาหาร เสมหะ ฟันปลอม สิ่งแปลกปลอมออกจากปากผู้ป่วยให้หมด
2. ปลดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้หลวมๆ
3. อย่าให้ผู้ป่วยกินหรือดื่มอะไรทางปาก
4. ต้องระวังในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่กระดูกหัก โดยเฉพาะกระดูคอหรือกระดูกหลัง
5. ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าพักฟื้น โดยจับให้นอนตะแคงข้าง ให้ศีรษะต่ำกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกายเล็กน้อย เพื่อให้หายใจสะดวกและป้องกันการสำลักเศษอาหารหรือเสมหะเข้าปอด ถ้าแน่ใจว่ากระดูกไม่หัก
6. ให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยโดยใช้ผ้าห่มคลุมตัว
7. ขณะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหากมีภาวะขาดน้ำควรให้น้ำเกลือแก่ผู้ป่วย และช่วยฝายปอดถ้าหยุดหายใจระหว่างทาง

การรักษา
แพทย์มักตรวจหาสาเหตุโดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ ตรวจพิเศษอื่นๆ ให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ ให้ออกซิเจน ให้เลือด ล้างท้อง เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย

ข้อแนะนำ
ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหากมีอาการหมดสติ อาจให้การรักษาเบื้องต้นด้วยการฉีดกลูโคสชนิด 50% จำนวน 50 มล. เข้าหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการอดข้าว ดื่มแอลกอฮอล์จัด การใช้ยาเบาหวาน ซึ่งผู้ป่วยอาจฟื้นคืนสติได้ใน 15-30 นาที ควรรีบส่งให้ถึงมือแพทย์ทันทีหากการรักษาเบื้องต้นใช้ไม่ได้ผล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า