สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สาเหตุของอาการท้องผูก

ท้องผูก

ท้องผูก(Constipation)
ท้องผูกคือ การที่มีอุจจาระจำนวนน้อยครั้งลง หรือมีลักษณะแข็งมาก และถ่ายลำบาก

สาเหตุ
ท้องผูกเป็นผลมาจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการคือ

1 . Defects in filling of the rectum

1.1 Nutrition : underfeeding, lack of dietary fibre, inadeguate fluid intake, severe hypo¬kalemia

1.2 GI : intestinal obstruction, Hirschprung’s disease, paralytic ileus (peritonitis, post operation)

1.3 Extraintestinal causes : reflex ileus associated with pneumonitis or other acute illness, diabetes insipidus, renal tubular acidosis

1.4 Others : drugs (opiates)

2. Defects in emptying of the rectum

2.1 CNS : spinal (sacral) cord lesion, cerebral palsy, poliomyelitis, Guillain-Barre syndrome

2.2 Psychomotor : voluntary inhibition of defecation

2.3 Excessive use of laxatives and enemas

2.4 Anal defects : anal stenosis, anal fissure, anorectal anomalies

2.5 Hypothyroidism

แบ่งตามกลุ่มอายุจะมีสาเหตุดังนี้ ในกลุ่มทารกแรกคลอด ท้องผูกเกิดจาก organic diseases เป็นส่วนมาก เช่น congenital intestinal obstruction, Hirschprung’s disease เป็นต้น

หลังจากนั้น organic diseases เป็นสาเหตุของท้องผูกน้อยมาก ระยะ early infancy ส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาจากการให้อาหารที่พบได้บ่อยคือ เมื่อเปลี่ยนจากน้ำนมแม่เป็นนมผงทารกจะถ่ายอุจจาระแข็งขึ้นและน้อยครั้ง การผสมนมไม่ถูกต้องตามอัตราส่วน ในกรณีเลี้ยงด้วยนมผสมเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ในระยะ late infancy มักจะเป็นปัญหา functional เช่น ปัญหาการปรับตัวของเด็ก เป็นต้น ท้องผูกเรื้อรังในเด็กอายุมากกว่า 3 ขวบอาจกลายเป็น encopresis (fecal soiling) ซึ่งแสดงว่าเป็นรุนแรงมาก ต้องปรึกษาจิตแพทย์ด้วย

ประวัติ
-เกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ จำนวนครั้ง ปริมาณ ลักษณะ
-เกี่ยวกับการให้นม วิธีผสมนม และอาหารที่รับประทานเป็นประจำ บริโภคนิสัย
-เกี่ยวกับสภาพทางครอบครัวและสิ่งแวดล้อม เหตุการณ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในระยะใกล้กับอาการ
-ประวัติ toilet training เกี่ยวกับอายุที่เริ่ม วิธีการ
-อาการร่วมอื่นๆ เช่น อาเจียน ในรายที่เป็น gut obstruction

ตรวจร่างกาย
เน้นการตรวจทางทวารหนักและบริเวณรอบๆ นอกจากการตรวจร่างกายทั่วไป

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ในกรณีที่มีประวัติท้องผูกเรื้อรังในเด็กวัยทารกและวัยก่อนเรียน และตรวจพบว่าท้องอืดมาก มี empty rectal vault จากการ PR ควรทำ barium enema โดยไม่ต้องให้ bowel preparation ก่อน และทำ delayed film หลังจาก 24 ถึง 48 ชั่วโมงด้วย

ในกรณีที่มี chronic fecal impaction ควรทำ IVP ด้วย เนื่องจากมี hydronephrosis และ vesicoureteral reflux ร่วมด้วยบ่อย

การรักษา
1. ในกรณีที่ไม่มี organic diseases ควรให้การรักษาดังนี้

1.1 อาหาร ให้อาหารที่มีกาก ดื่มน้ำมากๆ ผลไม้ เช่น มะละกอสุก อาจช่วยได้ในบางราย น้ำผึ้ง น้ำมะขาม หรือน้ำลูกพรุนมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ

1.2 ถ้ามี anal fissures ต้องรักษาให้หายก่อน เนื่องจากเป็นตัวการทำให้เด็กกลั้นอุจจาระไว้ โดยการสวนอุจจาระที่ค้างอยู่ออกก่อน แล้วให้ stool softener ร่วมกับให้มารดาใช้ glycerine suppository ถ่าง anal sphincter วันละ 1-2 ครั้ง ทาแผลรอบ anus ด้วย anesthetic agent และนั่งแช่น้ำอุ่น

1.3 ยา stool softener ที่ได้ผลดี และราคาถูกคือ milk of magnesia ให้ค่อยๆ ปรับขนาดยา โดยรอดูผลประมาณ 2-3 วัน จนได้ soft stool ตามต้องการ เริ่มจากขนาด 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง สำหรับเด็กวัยก่อนเรียน อีกชนิดหนึ่งที่ได้ผลดี และปลอดภัยคือ dioctyl sodium sulfosuccinate (Laxi- beneE) 5-10 มก./กก./วัน โดยค่อยๆ เพิ่มขนาดเช่นกัน หรือ psyllium hydrophilic mucilloid (MetamucilR) เริ่มจากขนาด 1 ช้อนชาต่อวัน แล้วค่อยเพิ่มขนาดจนลักษณะอุจจาระเป็นที่พอใจ

2. ในกรณีที่มี organic disease ให้รักษาตามสาเหตุนั้น

3. ในกรณีที่มี encopresis ให้ปรึกษาจิตแพทย์

ที่มา:ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า