สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

วิธีเลือกหูฟังออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นเรื่องต้องทำติดต่อกันเป็นประจำทุกวันจึงจะเห็นผล ไม่ว่าจะเป็นผลทางด้านสุขภาพ
หรือการลดน้ำหนัก ซึ่งการที่ต้องออกกำลังกายทุกวัน อาจทำให้รู้สึกเบื่อหรือท้อแท้ได้

การฟังเพลง ในขณะออกกำลังกาย เป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยให้เรารู้สึกสนุกไปกับการออกกำลังกาย
จังหวะดนตรีที่เร้าใจจะช่วยสร้างความครึกครื้น ทำให้ไม่เบื่อ
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายในที่สาธารณะ เช่น ในยิม หรือ สวนสาธารณะ
การเปิดเพลงอาจเป็นการรบกวนผู้อื่น ดังนั้นทางเลือกที่เหมาะสม คือ การใช้หูฟังออกกำลังกาย

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาหูฟังออกกำลังกายดี ๆ มาใช้ เราขอแนะนำให้คุณพิจารณาถึงแนวทางดังต่อไปนี้
ซึ่งจะทำให้ได้หูฟังที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

วิธีเลือกหูฟังออกกำลังกาย

 

1. สวมแล้วไม่หลุดง่าย
คุณสมบัติที่สำคัญสำหรับหูฟังออกกำลังกาย ที่ต่างไปจากหูฟังเพลงทั่วไป ไม่ใช่คุณภาพเสียงที่ดี
แต่เป็นสวมใส่แล้วต้องไม่หลุด

เนื่องจากการออกกำลังกายจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายไปมาอยู่ตลอด ลองนึกสภาพดู
หากว่าคุณกำลังวิ่งออกกำลังกายอยู่ ประเดี๋ยวหูฟังก็หลุด ต้องใส่ใหม่ อีกเดี๋ยวก็หลุดอีก
เป็นแบบนี้ไปตลอดการออกกำลังกาย คุณยังจะอยากที่จะใช้หูฟังอันนั้นฟังเพลงขณะออกกำลังกายอีกหรือไม่ ?

แน่นอนว่า หูฟังที่สวมแล้วหลุดอยู่ตลอดเวลาเมื่อออกกำลังกาย จะทำให้การฟังเพลงขณะออกกำลังกาย
น่าเบื่อ แทนที่จะรุ้สึกสนุก

หูฟังสำหรับออกกำลังกายแต่ละยี่ห้อจะออกแบบมาแตกต่างกัน ในการที่จะทำให้หูฟังไม่หลุดง่าย
ซึ่งมีทั้งแบบมีที่เกี่ยวหู คาดท้ายทอย คาดศีรษะ และ อื่น ๆ

2. กันน้ำหรือไม่
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่คุณออกกำลังกาย หากคุณออกกำลังกายในโรงยิม ตามฟิตเนสต่าง ๆ
คุณสมบัติในการกันน้ำอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็น

แต่ถ้าคุณออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง เช่น วิ่งที่สวนสาธารณะ หรือ ปั่นจักรยาน
มีความเป็นไปได้สูงที่คุณอาจจะต้องเจอฝนตก ในขณะที่ออกกำลังกาย

หากเป็นเช่นนี้แล้ว ควรเลือกหูฟังออกกำลังกาย ที่กันน้ำได้ จะดีกว่า

3. มีสาย หรือ ไร้สาย
ทั้งสองแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

สำหรับคนที่รำคาญกับสายของหูฟัง รู้สึกว่าสายหูฟังเป็นปัญหาอย่างมาก
ก็มีทางเลือกที่จะซื้อหูฟังที่เป็นบลูทูธ (Bluetooth)
แต่ก็ต้องเสียเงินที่แพงกว่า ขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงระยะเวลาของแบตเตอรี่ในการใช้งานแต่ละครั้ง
ว่าเพียงพอกับระยะเวลาที่คุณออกกำลังกายหรือไม่

แต่หากเลือกหูฟังออกกำลังกายแบบมีสาย ก็จะซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่า และก็ไม่ต้องกังวลกับ
ปริมาณแบตเตอรี่

4. คุณสวมแว่นตา หรือ แว่นกันแดดด้วยหรือไม่
เป็นเรื่องที่หลายคนอาจนึกไม่ถึงตอนที่เลือกซื้อ
แต่กลายมาเป้นปัญหาได้ในภายหลัง

หากต้องสวมแว่น หูฟังประเภทครอบหูทั้งหมด หรือ เกี่ยวกับหูในตำแหน่งเดียวกับขาแว่นตา
อาจทำให้คุณสวมแว่นตาไม่ได้ หรือ ไม่สะดวกในการสวม

5. ราคา
หูฟังสำหรับออกกำลังกาย มีหลากหลายยี่ห้อ หลายรุ่น และหลายราคา
ราคาที่สูงกว่า จะมีลูกเล่นเพิ่มเติมที่มากกว่า แต่บางครั้งสิ่งที่เพิ่มเติมมาอาจไม่จำเป็นสำหรับคุณเลยก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่คุณมี หากมีมากหน่อยก็ซื้อหูฟังเกรดพรีเมี่ยมคุณภาพสูง
แต่ถ้างบประมาณมีจำกัดและไม่ได้ออกกำลังกายบ่อยนัก เลือกซื้อหูฟังที่มีราคาเหมาะสม
ครอบคลุมฟังก์ชั่นที่ต้องการก็พอแล้ว

ทั้งหมดนี้คือข้อแนะนำในการเลือกซื้อหูฟังออกกำลังกายที่เรานำมาบอกกล่าว
อย่างไรก็ตามด้วยความรักและปรารถนาดี อยากแนะนำทิ้งท้ายสำหรับผู้ออกกำลังกาย
ในสถานที่ซึ่งอันตราย เช่น ปั่นจักรยานบนถนน
ควรจะระมัดระมังด้วย เพราะหากคุณฟังเพลงเสียงดัง จะทำให้ไม่ได้ยินเสียงรถที่วิ่งผ่านไปมา

ขอให้ออกกำลังกายอย่างมีความสุขและปลอดภัย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า