สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

วิธีการรักษาโรคทางกระดูกและข้อโดยไม่ผ่าตัด

วิธีการรักษามี ๒ วิธี คือ วิธีผ่าตัดและวิธีไม่ผ่าตัด, วิธีไม่ผ่าตัดนั้นรวมไปถึงการออกกำลังโดยกายบริหาร ซึ่งเป็นเรื่องของกายภาพบำบัดอันนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งอยู่ด้วย การรักษาโรคทางกระดูกและข้อนี้ โดยมากมักจะใช้วิธีไม่ผ่าตัด ส่วนวิธีการผ่าตัดรักษาอาจจะแก้ไขปัญหาได้หมดสิ้นโดยทันที แต่หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ต้องได้รับการฟื้นสภาพ ลำพังการผ่าตัดอย่างเดียวมักจะไม่ได้ผลดีในทุกแง่เสมอไป

วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัด

การเข้าเฝือก ซึ่งอาจเป็นเฝือกปูน เฝือกสังเคราะห์หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้แทนเฝือกปูน ใช้สำหรับการแก้ไขความพิการผิดรูป และเพี่อทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การดัดและการทำให้เคลื่อนไหวกระทำพร้อมกันได้ วิธีปฏิบัติในการรักษาอาจต้องใช้ยาสลบ หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปวดและยังทำให้กล้ามเนื้อไม่หดเกร็งตัวเกินไปด้วย การรักษาโดยมากจะใช้เฝือกเป็นเครื่องมือ โดยมีความมุ่งหมายหลายอย่างดังนี้

๑. การเข้าเฝือกเพื่อกระชับ มีที่ใช้หลายกรณี เช่น การพันเฝือกเพี่อป้องกันการบวมและการคั่งของน้ำในข้อ ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดดำที่โป่งพอง ทำให้ลดความเจ็บปวดได้ด้วย กรณีต่อไปได้แก่ การพันเฝือกเพี่อให้ส่วนที่เป็นอยู่นิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพวกที่จะต้องแก้ไขการผิดรูปให้อยู่ในท่าที่ต้องการ และใช้รักษาการบาดเจ็บของกระดูก เช่น กระดูกหัก ให้อยู่นิ่ง นอกจากนี้อาจใช้รางพลาสติกหรือแผ่นไม้เพี่อดามให้ส่วนที่เป็นยึดแนบกับแผ่นไม้แล้วใช้ผ้าพันยืด พันกระชับไว้ ซึ่งอาจเป็นการทำชั่วคราวหรือเป็นการรักษาก็ได้

๒. การเขาเฝือกเพื่อดัดอวัยวะให้เข้ารูป มีหลักว่าอย่าพันให้แน่นเกินไป การพันแผลชนิดนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อลดความเกร็งตัวลงหรือลดการผิดรูปที่ข้อ คือ ข้อที่อยู่ในท่างอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาเด็กที่ร่างกายพิการผิดรูป การเข้าเฝือกชนิดนี้อาจต้องใช้วิธีดัดโดยใช้ยางดึงขันชะเนาะทีละน้อย

๓. การเข้าเฝือกดาม ใช้ในการทำให้ข้อที่เป็นโรคอยู่ในท่าที่เหมาะสมเพี่อป้องกันไม่ให้เอ็นหุ้มข้อหรือเอ็นยึดข้อถูกยึด และอาจใช้ในพวกที่ข้อเคลื่อนแต่ดึงเข้าที่แล้ว อาจใช้ร่วมกับวิธีดึงถ่วงขาในท่าเหยียดตรง โดยใช้แถบปลาสเตอร์ติดข้างขาทั้งสองข้าง หรืออาจใช้การดึงถ่วงชนิดเสียบลวดผ่านกระดูก.

๔. เฝือกนอน อาจทำด้วยเฝือกปูน เฝือกพลาสติกหรือโลหะ เพี่อให้ผู้ป่วยสวมในเวลานอนในท่าที่ต้องการ อาจใช้ในโรคข้อสันหลัง โรคกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต เป็นต้น

๕. เฝือกหล่อ เพื่อใช้ในการทำพื้นรองเท้า ต้องใช้เฝือกเป็นแม่พิมพ์โดยใช้เท้าเหยียบลงไปบนเฝือก เพื่อกดรอยเท้าให้ปรากฏบนเฝือก

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า