สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ลักษณะการโตของตับ

ตับโต

ตับโต (Hepatomegaly)

การคลำตับได้ต่ำกว่าชายโครงไม่ได้หมายความว่าตับโตเสมอไป ในทารกแรกคลอดและเด็กอ่อนที่ปกติ จะคลำขอบตับได้ถึง 2 ซม. ต่ำกว่าชายโครงขวา และในเด็กวัยก่อนเรียนอาจคลำขอบได้ 1 ซม. ในเด็กที่มีปัญหาในช่องอก มีอาการหอบ ตับจะถูกดันลงมาได้ ต้องเคาะหาขอบตับด้านบน ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ช่อง 5 หรือ 6 ทาง mid clavicular line ช่องที่ 7 ที่ mid axillary line และช่องที่ 9 ทางด้านหลัง และวัดออกมาเป็น liver span

โดยปกติตับมีขอบเรียบ ค่อนข้างแหลม นุ่มและไม่เจ็บ ตับทีโตจาก conges¬tive cardiac failure หรือ acute hepatocyte infiltration จะ firm ขอบมนเรียบและเจ็บถ้าเป็น acute swelling ใน cirrhosis ตับจะแข็ง ขอบและผิวขรุขระ

สาเหตุ   จะแบ่งตามลักษณะการโตของตับเป็น

Asymmetrical enlargement หรือตับโตเฉพาะที่ นึกถึงก้อนในตับ ซึ่ง อาจจะเป็นจาก abscess, tumor เช่น hepatoblastoma, hematoma จาก trauma เป็นต้น

Diffuse hepatomegaly เกิดได้จาก

1. Vascular congestion จาก congestive cardiac failure, Budd-Chiari syndrome เป็นต้น

2. Kupffer cell hyperplasia จาก septicemia, hepatitis, infection เช่น มาลาเรีย, enteric fever เป็นต้น

3. Hepatocellular infitrative disease ได้แก่    storage diseases เช่น glycogenosis หรือ lipid storage เป็นต้น, fatty infil¬tration ใน PEM หรือ inborn error of metabolism

4. Cellular infiltration จากโรคติดเชื้อ,    inflammation,

malignancy ของ hematologic system เช่น leukemia, lymphoma เป็นต้น และ extramedullary hematopoiesis

5. การอุดตันของทางเดินน้ำดี โดยมากจาก extrahepatic tract obstruction

ในกรณีที่มีม้ามโตร่วมด้วยพบได้ในกลุ่มข้อ 2, 3 และ 4 massive hepa¬tomegaly มักเกิดจาก congestive cardiac failure และ storage diseases

ประวัติ

คลำได้มานานเท่าไร โตขึ้นเร็วหรือไม่ อาการอื่นๆ เช่น ตัวเหลือง อุจจาระซีด ปัสสาวะเหลืองเข้ม ไข้ หอบลึก (hyperpnea) หายใจลำบาก ซีด จ้ำเลือดตามตัว เป็นต้น ประวัติการให้อาหาร ประวัติครอบครัว

ตรวจร่างกาย ได้กล่าวแล้วตอนต้น

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
นอกจาก CBC, UA และ liver function tests แล้ว การทำ ultrasonography และ liver scan ช่วยแยกโรคที่มีก้อนในตับและโรคการอุดตันของท่อน้ำดีได้

การรักษา
รักษาตามสาเหตุ บ่อยครั้งจะพบว่าคลำได้ตับโตในเด็กที่ติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน เมื่อติดตามเป็นระยะๆ ตับจะยุบไปเองได้

รับไว้ในโรงพยาบาล เมื่อหาสาเหตุไม่พบจากการตรวจดังกล่าวและ/หรือ ต้องการทำการตรวจเป็นพิเศษที่ invasive เช่น liver biopsy เป็นต้น

ที่มา:ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า