สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ฤดูสมุฏฐานในการแพทย์แผนปัจจุบัน

1. สมุฏฐานฤดู 3 สมุฏฐานฤดู 6
สมุฏฐานฤดู 3 คือ คิมหะสมุฏฐาน วัสสานะสมุฏฐาน เหมันตะสมุฏฐาน

สมุฏฐานฤดู 6 คือ คิมหันตะสมุฏฐาน วสันตะสมุฏฐาน วัสสานะสมุฏฐาน สรทะสมุฏฐาน เหมันตะสมุฏฐาน ศิศิระสมุฏฐาน

2. ธาตุและตัวคุมธาตุทั้ง 4 ในฤดูสมุฏฐาน
การสังเกตในรอบหนึ่งปีจากธรรมชาติของคนโบราณ ซึ่งในไทยมีอยู่ 3 ฤดู จะใช้การดูดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นหลัก เมื่อเห็นดวงจันทร์เต็มดวงจะเรียกว่า วันเพ็ญ เป็นเวลาที่โลกได้รับแรงดึงดูดเต็มที่ เมื่อเกิดครบ 12 เดือน นับได้ประมาณ 360 วัน หรือ 365 วัน

จะสังเกตฤดูที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ไปเป็นวงรี ซึ่งมีอยู่ 3 ฤดูคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ธาตุทั้ง 4 ในสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ จตุกาลเตโช(ร้อน) ฉกาลวาโย(ฝน) ทวาทศอาโป(หนาว) แต่ในความเป็นจริงโลกจะเคลื่อนที่ไปทุก 40 วัน ซึ่งจะส่งผลต่อตัวคุมสุขภาพหรือธาตุทั้ง 4 ได้แก่ พัทธะ อพัทธะ กำเดา หทัยวาตะ สัตถกวาตะ สุมนา ศอเสมหะ อุระเสมหะ คูถเสมหะ 9 ประการ

สุขภาพจะดีหรือไม่ดีนั้น โบราณว่าขึ้นอยู่กับ กำเดา สุมนา และคูถเสมหะ ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่ตามลำพัง แต่มีตัวอื่นระคนสมทบอยู่ด้วย โดยมีระยะเวลาที่ละเอียดขึ้นอีกเป็นทุก 20 วัน

3. สัดส่วนการกระทำโทษของธาตุต่างๆ ในฤดูสมุฏฐาน
การสังเกตที่ละเอียดจะตีค่าได้เป็นรูปธรรมของสัดส่วนการกระทำโทษของธาตุต่างๆ หรืออิทธิพลของภูมิอากาศ เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก ทำให้เกิดอะไรขึ้น เกิดอย่างไร มีค่าเป็นตัวเลขกี่ส่วน ค่าระคนเท่าไร ในโบราณอาจใช้หลักการประมาณก็ได้ โดยเชื่อว่าตรงกับรอยต่อระหว่างฤดู จะมีอากาศของฤดูที่ผ่านไปเจือกันอยู่ เช่น ในฤดูหนาวความหนาวเย็นจะค่อยๆ เจือจางไปในฤดูร้อน และความร้อนในฤดูร้อนก็จะค่อยๆ เจือเข้ามาปลายฤดูหนาว ซึ่งต้องมีการปรับตัวอย่างมากในภาวะเช่นนี้ และมักทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้

ที่มา:จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
โดยอาจารย์แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ
รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า