สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ลักษณะทางร่างกายของผู้สูงอายุ

1. ลักษณะของร่างการที่มีการเปลี่ยนแปลงในวัยชรา
เนื้อหาเกี่ยวกับความชราในคัมภีร์มรณญาณสูตมีอยู่ว่า ก่อนที่มนุษย์จะพบกับระยะสุดท้ายของชีวิต จะต้องเผชิญกับอะไรบ้างทั้งทางกาย ทางใจ และทางความรู้สึก ว่ากันโดยอุปมาอุปไมยคือ ใจคนก็เหมือนกับมีพระราชาพระราชินีครองเมือง และมีพระธิดาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า นางจิตรกุมารี นางเอาปฏิสนธิในไม้รัง ซึ่งแตกเป็นปัญจสาขาห้ากิ่ง คือ ปัญจอินทรีย์ประสาทห้าแห่ง นั่นก็คือ ประสาททั้ง 5 มีตา หู จมูก ลิ้น และกาย

เนื้อความในคัมภีร์วิเคราะห์ได้ว่า กล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรง และอวัยวะต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมไปตามลำดับ เมื่อมีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป

การแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของผู้สูงอายุ คือ
1. ระบบผิวหนัง (Integumentary system)
2. ระบบประสาทและสมอง (Nervous system)
3. ระบบประสาทสัมผัส (Special sense)
4. ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system)
5. ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system)
6. ระบบทางเดินอาหาร (Digestive system)
7. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)

2. โรคที่เกิดในวัยชรา
โรคที่เกิดในวัยชรากล่าวโดยอุปมาอุปไมยตามคัมภีร์มรณญาณสูตว่า

เมื่อนานมาพระยามัจจุราชจึงใช้นางโรคาให้ไปเล้าโลมนางจิตรกุมารีด้วยกลอุบายต่างๆ อีกพวกหนึ่งเล่า แล้วใช้ให้นางพยาธิ ถือเอาปลวกไปปล่อยไว้ที่ต้นไม้ซึ่งนางอยู่นั้น ให้กัดไม้ให้ผุเป็นเป็นโพรงยับเยิน ไม้ผุแล้วเมื่อใดนางก็จะมาหาเราเมื่อนั้น นางโรคา นางพยาธิก็รับเสาวนาการไปกระทำตามสั่ง ครั้นนางโรคา นางพยาธิ เข้าทำตามสั่งเข้าทำสนิทด้วยนางจิตรกุมารีแล้ว ก็เอาปลวกปล่อยเข้าไว้ในต้นไม้นั้น บรรดาโภชนาหารในที่อยู่แห่งนางจิตรกุมารี นางโรคา นางพยาธิทั้งปวงระคนเข้าเป็นเจ้าเรือน การในที่อยู่แห่งนางจิตรกุมารีนั้นก็ให้ระส่ำระสาย ปลวกก็แพร่งพรายกัดไม้ให้ผุเป็นโพรงผุยับเยิน ครั้นที่อยู่แห่งนางจิตรกุมารีนั้นอยู่มิปกติดีแล้ว นางจำแปรใจไปจากสถานที่นั้น นางชรา นางโรคา นางพยาธิย่อมรู้อัชฌาศัยแห่งใจนางจิตรกุมารี ก็มีข่าวสารไปแจ้งถึงพระยามัจจุราช

เนื้อความในคัมภีร์วิเคราะห์ได้ว่า
ในผู้สูงอายุมีโรคที่พบได้แก่
1. โรคความดันโลหิตสูง
2. โรคเบาหวาน
3. โรคหัวใจและหลอดเลือด
4. โรคสมองเสื่อม
5. โรคข้อเสื่อม
6. ข้ออักเสบรูมาตอยด์
7. โรคเกาท์
8. ภาวะกระดูกพรุน
9. โรคท้องผูก
10. ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง
11. ภาวะต่อมลูกหมากโต(ในเพศชาย)
12. เบื่ออาหาร
13. นอนไม่หลับ
14. โรคทางสายตา-ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก ต้อหิน โรคเบาหวานในจอประสาทตา
15. ปัญหาสุขภาพทางจิต
-ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
-ปัญหาสมรรถภาพทางเพศ

ที่มา:จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
โดยอาจารย์แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ
รองอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า