สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เวลาและสถานที่ในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท

เวลาและสถานที่ รวมทั้งการเริ่มต้นชั่วโมงการรักษา การจบการรักษา จะต้องดัดแปลงจากการรักษาคนไข้โรคประสาท ถ้าผู้ป่วยมาสาย เนื่องจาก Resistances การจะวิพากษ์ วิจารณ์เรื่องนี้ จะต้องดูว่าความสัมพันธ์ระหว่างนักจิตบำบัดกับผู้ป่วยดีเพียงพอหรือไม่ Ego’s Functions ของผู้ป่วยดีมากน้อยเพียงใด ถ้าทุกอย่างดีพอสมควร จึงจะแตะต้อง Resistances ได้ จะทำเช่นเดียวกับคนไข้โรคประสาท โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ไม่ได้!! สำหรับวิธีพูดกับผู้ป่วยก็จะต้องระมัดระวังมาก ควรใช้ถ้อยคำที่นิ่มนวลมากพอที่คนไข้จะ “ทน” ได้ ถ้าผู้ป่วยต้องการจบการรักษา ทั้งๆ ที่ยังมีเวลาเหลืออยู่ และผู้ป่วยเองก็อึดอัดมาก นักจิตบำบัดอาจจะต้องยินยอม จะใช้การเผชิญหน้าเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคประสาท “ไม่ได้” !!

ถ้าจบการรักษาแล้ว แต่ผู้ป่วยยังอยู่ในสภาวะมึนงงสับสน หรือยังไม่เข้าใจเรื่องราวที่ได้พูดกัน นักจิตบำบัดอาจจะต้องสรุปเรื่องราวให้คนไข้ฟังใหม่จนหายสับสน

ผู้ป่วยบางคนอาจสงสัยว่า นักจิตบำบัดซ่อนเร้นวัตถุบางอย่าง เช่น เครื่องบนทึกเสียง กล้องถ่ายรูป เครื่องรับส่งวิทยุ ฯลฯ ในกรณีเช่นนี้ นักจิตบำบัดจะต้องยินยอมให้ผู้ป่วยเปิดดู หรือสำรวจจนแน่ใจว่า ไม่มีสิ่งซ่อนเร้นที่อาจเป็นอันตราย หรือเปิดเผยความลับของผู้ป่วย นอกจากนี้ นักจิตบำบัดจะต้องไม่ใช้เก้าอี้นอน หรือ Couch เพราะว่า จะยิ่งทำให้ ผู้ป่วยสงสัยเพิ่มขึ้น ในเมื่อต้องพูดกับนักจิตบำบัด ซึ่งผู้ป่วยมองไม่เห็น เพราะว่านั่งอยู่เบื้องหลังคนไข้

ที่มา:ปราโมทย์  เชาวศิลป์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า