สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal hemorrhage)

ระบบทางเดินอาหาร
ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร แสดงออกได้เป็นอาเจียนเป็นเลือด (hematemesis) ซึ่งอาจออกมาเป็นเลือดสดหรือเลือดสีน้ำตาลแดง เนื่องจากถูกกรดในกระเพาะ, ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด (hematochezia) ซึ่งแสดงว่าเลือดออกจากส่วนปลาย colon หรือ rectum หรือเลือดออกอย่างมากจากส่วนใดก็ได้ของทางเดินอาหาร และถ่ายเป็นสีดำ (melena) บ่งถึงเลือดออกจากลำไส้ส่วนต้น

เมื่อตรวจผู้ป่วยที่มาด้วยปัญหาอาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด ควรพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่าเป็นเลือดจริง โดยการทำ guiac test นอกจากนี้ยังต้องซักว่าเลือดนั้นมาจากส่วนบนของทางเดินหายใจหรือจากปากหรือไม่เพราะบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยมีเลือดกำเดาไหล (epistaxis) หรือไอมาก และเลือดที่อาเจียนออกมาเป็นเลือดที่กลืนเข้าไป เลือดสดที่ไหลออกมาจากปากโดยไม่มีอาการอาเจียนร่วมด้วยมักเป็นจาก esophageal varices เลือดแดงสดที่หยดออกมาหลังถ่ายอุจจาระเสร็จ หรือเคลือบมาบนอุจจาระ แสดงถึงเลือดที่ออกมาจากส่วน rectum หรือ anus

สาเหตุ แบ่งเป็น 2 ตอนคือ เลือดออกมาจากทางเดินอาหารส่วนต้น และเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนปลาย

สาเหตุของเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้นเป็นได้จาก

1. เลือดออกเฉพาะที่ตามระบบอวัยวะ ได้แก่

1.1 การกลืนเลือดเข้าไป เช่น กลืนเลือดแม่เราไปในทารกแรกคลอด กลืนเลือดกำเดา เป็นต้น

1.2 หลอดอาหาร เช่น esophagitis จากยา gastroesophageal reflux, ruptured esophageal varices

1.3 กระเพาะอาหาร เช่น acute gastritis จากยา peptic ulcer, stress ulcer เป็นต้น

1.4 Duodenum เช่น peptic disease, duplications

2. เลือดออกทั่วไป (systemic) ได้แก่

2.1 โรคเลือดกลุ่ม bleeding disorders ซึ่งจะตรวจพบจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือเลือดออกที่อวัยวะอื่นนอกระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย

2.2 โรคติดเชื้อ เช่น โรคไข้เลือดออก เป็นต้น

สาเหตุของเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนปลาย

1. เลือดออกเฉพาะที่ ได้แก่ Meckel’s diverticulum, juvenile polyps, duplications, anal fissure, hemorrhoids, volvulus, intussusception  เป็นต้น

2. เลือดออกทั่วไป ได้แก่

2.1 โรคเลือด ดังข้างต้น

2.2 โรคติดเชื้อ ได้แก่ enteric fever, acute colitis รวมทั้ง necrotizing enterocolitis ในทารกและ necrotizing enteritis ในเด็กโต ซึ่งอาจจะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้

2.3 อื่นๆ ได้แก่ intestinal parasites, Henoch-Schonlein syndrome, milk allergy,hemolytic-uremic syndrome

ถ้าแบ่งสาเหตุตามอายุจะได้ดังนี้
ทารกแรกคลอด มักจะพบจากกลืนเลือดแม่ลงไป หรือเป็น hemorrhagic disease of the newborn

ทารก (อายุ 1-12 เดือน) มักเป็น rectal bleeding จาก anal fissure, intussusception (ซึ่งจะปวดท้องร่วมด้วย) cow milk allergy, infectious diarrhea และเลือดออกจาก Meckel’s diverticulum

เด็กวัยก่อนเรียน ส่วนใหญ่เป็น polyps, infectious diarrhea, Meckel’s diverticulum และ intestinal parasites

เด็กวัยเรียน นอกจากท้องร่วงและปรสิตแล้ว จะพบ peptic disease ได้

การซักประวัติ ต้องถามข้อมูลดังต่อไปนี้

สีของ vomitus หรืออุจจาระ, onset, ระยะเวลา, ปริมาณของเลือด, ประวัติเลือดออกที่ส่วนอื่นของร่างกายและประวัติครอบครัว อาการอื่นของระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องร่วง อาการเลือดออกที่ส่วนอื่นของร่างกายในอดีตและปัจจุบัน

การตรวจร่างกาย
เน้นการตรวจหน้าท้องและหาอาการแสดงของเลือดออกที่ส่วนอื่นของร่างกาย การใส่ NG tube และดูด gastric aspirate ถ้าได้เลือดแสดงว่าน่าจะมีเลือดออกจากส่วนที่ proximal ต่อ ligament of Treitz การทำ rectal exam มีความสำคัญมาก เพื่อทราบให้แน่ชัดว่ามีเลือดออกมาทางส่วนล่างหรือไม่ เพื่อให้ได้อุจจาระส่งตรวจ และในบางครั้งสามารถให้การวินิจฉัยได้จากการพบ anal fissure, hemorrhoids หรือ polyps ต้องระลึกไว้เสมอว่า fissure หรือ hemorrhoids ที่พบนั้นอาจไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของเลือดออก การทำ proctoscopy (หรือใช้ test tube สอดทาง rectum แทน) ช่วยในการวินิจฉัย rectal polyp และ hemorrhoids ได้

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, platelet count และ stool exam ส่ง screening B.T., V.C.T และ coagulogram เมื่อพบเลือดออกที่อื่นร่วมด้วย การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น Barium enema, upper GI studies, endoscopic studies นั้น แล้วแต่กรณีที่สงสัย

การรักษา
ต้องรักษาตามสาเหตุ สำหรับรายที่จะรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกได้นั้น ได้แก่ peptic disease, intestinal parasites, anal fissure และ hemorr¬hoids ได้มีกล่าวไว้แล้วในบทอื่น สำหรับ juvenile polyps ที่พบในส่วน rectum อาจดึงออกได้จากการทำ rectal exam ถ้าอยู่ไม่ลึกนัก

รับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อมีเลือดออกรุนแรง และเฉียบพลันจน compromise perfusion และในกรณีที่มีเลือดออกเรื้อรังจนเกิดอาการซีดมาก และ/หรือต้องการการตรวจพิเศษอื่นๆ

ที่มา:ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า