สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ยารักษาวัณโรค

 วัณโรคเป็นโรคที่พบปอยในบ้านเรา ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง นํ้าหนักลด เบื่ออาหาร หรือมีไข้ต่ำๆ ตอนบ่าย และมีเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน ควรที่จะได้รับการฉายเอกซเรย์ปอดทุกราย วัณโรคเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลารักษาติดต่อกันเป็นปี จึงควรติดตามผู้ป่วยภายหลังรักษาด้วยการฉายเอกซเรย์ หรือตรวจเสมหะซ้ำทุก 3-6 เดือน ผู้ป่วยจะต้องได้รับการอธิบายให้เข้าใจอย่างละเอียดถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาเป็นเวลานานติดต่อกัน เพราะถ้าหากรักษาไม่ติดต่อกัน หรือกินยาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา เป็นเหตุให้การรักษาไม่ได้ผล

ในการรักษาวัณโรคด้วยยา จำเป็นจะต้องให้ยา ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป เพื่อทำให้โอกาสที่เชื้อจะดื้อต่อยาเกิดได้น้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการยากมากที่เชื้อจะดื้อยาพร้อมกันทีเดียวถึง 2 ชนิด และยิ่งถ้าให้ร่วมกัน 3 ตัวโอกาสดื้อยาก็ยิ่งน้อยลงมาก อย่างไรก็ดีในการเลือกยารักษาวัณโรคจำเป็นต้องคำนึงถึงอาการพิษของยาด้วย เพราะยาประเภทนี้จำเป็นจะต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ข้อที่ควรคำนึงถึงในการรักษาวัณโรคอีกประการหนึ่งคือ ควรให้การรักษาในเมื่อแน่ใจว่าวัณโรคกำลังอยู่ในระยะทำให้เกิดโรค (Active) ทั้งนี้เพราะถ้าตรวจพบในระยะที่เชื้อสงบลงแล้ว เช่น ในกรณีที่เอ็กซเรย์พบแผลเป็นในปอดก็ไม่จำเป็นต้องให้ยารักษาเพียงแต่ติดตามผู้ป่วย โดยให้ฉายเอ็กซเรย์ซ้ำทุก 6-12 เดือน การที่จะบอกได้ว่าวัณโรคอยู่ใน ระยะทำให้เกิดโรคได้นั้นก็คือ

1. การย้อมหรือเพาะ พบเชื้อวัณโรค

2. เมื่อคนไข้มีอาการแสดงของวัณโรค

3. ภาพที่ได้จากการเอ็กซเรย์ แสดงถึงการติดเชื้อเฉียบพลัน หรือพบว่ามีโพรง (cavity) ในปอด หรือการถ่ายเอ็กซเรย์ซ้ำ พบการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นทั้งในทางที่ดีขึ้น หรือเลวลง

การใช้กลุ่มของยารักษาวัณโรคแบบต่างๆ กัน ซึ่งการจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ฐานะของผู้ป่วยและโรคแทรกซ้อนอื่นถ้ามี โดยทั่วไปมี

1. ไอใสไนอาซิด หรือ ไอ.เอ็น.เอช (Isoniazid หรือ INH)+พี.เอ.เอส. (PAS)+สเตร็ปโตมัยซิน (Streptomycin)

ให้สเตร็ปโตมัยซินฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน ถึง 4 เดือน แล้วแต่ความรุนแรงของโรค ในขนาด 1 กรัม หรือ 0.75 กรัม ต่อวันในคนแก่ และให้กินไอโสไนอาซิด หรือ ไอ.เอ็น.เอช. วันละ 300 มิลลิกรัม ร่วมกับ พี.เอ.เอส. วันละ 9-12 กรัม ผลการรักษาดีมากถ้าคนไข้ร่วมมือดี ในการรักษา

2. ไอเอ็นเอช (INH) + ไธอาเซตาโซน (Thiacetazone) + สเตร็ปโตมัยซิน

ให้ฉีดสเตร็ปโตมัยซินเข้ากล้ามทุกวัน ในขนาด 1 กรัม หรือ 0.75 กรัมในคนป่วยเป็นเวลา 2 เดือนขึ้นไป และให้ ไอ.เอ็น.เอช 300 มิลลิกรัม ต่อวัน ร่วมกับไธอาเซตาโซน ขนาด 300 มิลลิกรัม ต่อวัน กินติดต่อไปจนครบ 1-2 ปี ผลการรักษาสู้แบบ 1 ไม่ได้

3. ไอ.เอ็น.เอช (INH) + อีแธมบิวทอลอล (Ethambutol) +สเตร็ปโตมัยซิน

เป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากขึ้น การใช้ ไอ.เอ็น.เอช และ สเตร็ปโตมัยซิน เหมือนในแบบที่ 1 แต่เปลี่ยนจาก พี.เอ.เอส.มาเป็นอีแธมบิวทอล โดยให้กินในขนาด 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน ผลการรักษาดีเท่ากับแบบที่ 1 โดยมีอาการที่ไม่พึงประสงค์จากยาลดน้อยลง ข้อเสีย คือยาอีแธมบิวทอลมีราคาค่อนข้างแพงและไม่ควรใช้ในคนไข้ที่มีโรคไตเสื่อม เนื่องจากยาตัวนี้ถูกขับถ่ายออกทางไต

4. ไอ.เอ็น.เอช. (INH) + ไธอาเซตาโซน (Thiacetazone)         

ข้อดีของการใช้ยาแบบนี้คือ มีราคาถูกที่สุด แต่เชื้อจะมีโอกาสดื้อต่อยาได้ง่าย เมื่อรักษาไปแล้ว 5-6 เดือน อาการและการตรวจพบไม่ดีขึ้น ควรพิจารณาเปลี่ยนยาใหม่      

5. ไอ.เอ็น.เอช. (INH) + ไรแฟมปิน (Rifampin) + อีแธมบิวทอล        

เริ่มต้นด้วยการให้ ไอ.เอ็น.เอช. ในขนาด 300 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับ ไรแฟมปิน ขนาด 600 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน แล้ว

เปลี่ยนเป็นให้ไอ.เอ็น.เอช.ร่วมกับอีแธมบิวทอล ในขนาดที่ให้ในแบบที่ 2 จนกว่าจะครบ 1-2 ปี แบบนี้ให้ผลในการรักษาดีที่สุด แต่เนื่องจากไรแฟมปินมีราคาแพงมาก จึงควรที่จะใช้เฉพาะในรายที่รักษาด้วยยาตัวอื่นแล้วไม่ได้ผล และในผู้ป่วยที่สู้ราคายาได้เท่านั้น

อาการที่ไม่พึงประสงค์ และข้อน่ารู้เกี่ยวกับยาที่พูดถึงในแบบการรักษาต่างๆ กล่าวคือ

ไอ.เอ็น.เอช (INH)      

ทำให้เกิดอาการเหน็บชา ตับอักเสบ อาจจะมีการชักได้ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแพ้ยา ในรูปของผื่นคัน และมีไข้

ข้อควรระวัง

ในผู้ใหญ่ที่ได้รับขนาดยาเกิน 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อ 1 วัน ต้องให้ไวตามิน บี 6 หรือ พัยริด๊อกซีน (Pyridoxine) ร่วมด้วย

ขนาดและวิธีใช้

ผู้ใหญ่ 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน หรือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน

เด็ก 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อ 1 วัน แต่ขนาดทั้งหมดไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน

พี.เอ.เอส (PAS)        

ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเดินได้บ่อย อาจทำให้เกิดโรคคอหอยพอก และภาวะพร่องฮอร์โมนธัยรอยด์ นอกจากนี้ยังพบอาการแพ้ยาในรูปของผื่นคัน ปวดกล้ามเนื้อ ตับอักเสบ และความผิดปกติของเม็ดเลือดได้บ่อย

ข้อควรระวัง

ควรให้กินยานี้พร้อมกับอาหาร และยาลดกรด

ขนาดและวิธีใช้

ผู้ใหญ่ให้ 200 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อ 1 วัน หรือ 9-12 กรัมต่อวัน

เด็กให้ 200-300 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อ 1 วัน

ไรแฟมปิน (Rifampin)

อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เป็นพิษต่อตับ ทำให้เกล็ดเลือดมีจำนวนลดน้อยลงได้และยังพบมีเม็ดเลือดชนิด อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) ขึ้นสูงได้

ข้อควรระวัง

ควรหยุดยาทันที เมื่อผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

ขนาดและวิธีใช้

ในผู้ใหญ่ 600 มิลลิกรัมต่อวัน

ไธอาเซตาโซน (Thiacetazone)

มีผลระคายเคืองกระเพาะ และทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และทำให้เกิดอาการแพ้ยาในรูปผื่นคันได้บ่อย

ข้อควรระวัง

ควรให้กินยาพร้อมกับอาหาร

ขนาดและวิธีใช้

ในผู้ไหญ่ 300 มิลลิกรัมต่อวัน

อีแธมบิวทอล (Ethambutol)

ทำให้ประสาทตาเสื่อมได้ และเป็นผลทำให้การมองภาพเลวลง นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแพ้ยา ในรูปผื่นคัน

ข้อควรระวัง

ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยซึ่งมีประสาทตาเสื่อมมาก่อน และในคนไข้โรคไตเสื่อม

ขนาดและวิธีใช้

15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน

สเตร๊ปโตมัยซิน (Streptomycin)

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า