สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาหารมังสวิรัติและโรคกระดูกเสื่อม

โรคกระดูกเสื่อม

ชนิดและปริมาณโปรตีนในอาหารมีผลกระทบต่อปริมาณแร่ธาตุในกระดูก โดยเฉพาะ ในสตรีวัยหมดประจำเดือน จากการศึกษานานถึง 10 ปี ในสตรี 1,600 คน ที่เป็นนักมังสวิรัติ ชนิดกินไข่และดื่มนมนานอย่างน้อย 20 ปี จากการวัดความหนาแน่นของกระดูกโดยวิธี การ direct photon absorptiometry พบว่า มีเพียง 18% ที่มีความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่าค่าปกติ ใกล้เคียงกับกลุ่มบริโภคอาหารทั่วไปซึ่งพบว่า 35% มีความหนาแน่นของกระดูกบาง และอัตราส่วนระหว่างแคลเซียมกับฟอสฟอรัส (Ca:P ratio) ก็ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับ กลุ่มอาหารปกติ

มีการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาแห่งอื่นสนับสนุนว่า การบริโภคอาหารมังสวิรัติ แบบวีแกน (vegan) คือกินแต่พืชผักผลไม้ ไม่ดื่มนมและกินไข่นั้น จะทำให้นักมังสวิรัติวีแกน มีความหนาแน่นของกระดูกน้อยลงกว่าผู้ที่ไม่บริโภคอาหารมังสวิรัติ แต่ไม่สามารถสรุปสาเหตุ ได้ว่าเกิดจากการขาดแคลเซียมหรือวิตามิดี ซึ่งคงต้องมีการศึกษาต่อไปอีก อย่างไรก็ดี โอกาสและความเสี่ยงต่อโรคกระดูกบางพรุนที่อาจเกิดจากอาหารมังสวิรัติแบบวีแกนในระยะยาวนานนั้น จะสามารถป้องกันได้โดยการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุจำเป็น

ที่มา : ศ.เกียรติคุณ , ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ – กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า