สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure)

โรคหัวใจ2
เด็กที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาจจะมาด้วยอาการตามระบบต่างๆ ดังนี้

1. ระบบทางเดินหายใจ : หายใจเร็ว หายใจหอบ wheezing เป็น หวัดปอดบวมบ่อยๆ
2. ระบบหัวไจ : หัวใจเต้นเร็ว กินนมแล้วเหนื่อยง่าย เป็นลม
3. อาการทั่วๆ ไป และอาการในระบบอื่นๆ : อ่อนเพลีย ไม่ว่องไว กินนมช้า ไม่ค่อยดูดนม กินนมไม่หมดขวดในครั้งเดียว สำลักหรืออาเจียนหลังดูดนม จู้จี้ ร้องกวน เหงื่อออกมากไม่ว่าหนาวหรือร้อน เลี้ยงยากเลี้ยงไม่โต ตัวเล็กกว่าเพื่อน

สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว แยกตามอายุที่เริ่มมีอาการได้ดังนี้
แรกเกิดถึง 2 สัปดาห์ : Hypoplastic left heart syndrome, Coarctation syndrome, Complex anomalies, Transposition of the great vessels (TGV), Erythroblastosis fetalis

2-4 สัปดาห์ : Coarctation syndrome, Complex anomalies,
VSD

4-24 สัปดาห์ : VSD, PDA, AV canal defect ซึ่งมักจะมีอาการเมื่อมีภาวะติดเชื้อของปอด), myocarditis, pericarditis, endocardial fibro¬elastosis, beriberi, glycogen storage disease, paroxysmal atrial tachycardia

12 เดือนขึ้นไป – 5 ปี : myocarditis (non rheumatic), infec-tive endocarditis, pericarditis, terminal feature of complex lesion of congenital heart diseases, AGN, anemia

5 ปี : rheumatic heart disease, AGN, anemia, cardiomyo-pathy, pericarditis, infective endocarditis, tumor

การตรวจร่างกายและการส่งตรวจ
การตรวจร่างกายมีความสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งผิดกับปัญหาอื่นที่อาจจะให้ข้อมูลในการวินิจฉัยจากประวัติมากกว่า ก่อนที่จะให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ ควรจะตรวจร่างกายให้ครบตามระบบ และเน้นที่ระบบหัวใจ
และระบบหายใจ จะวินิจฉัยภาวะดังกล่าวเมื่อตรวจพบความผิดปกติต่อไปนี้

1. Dyspnea or tachypnea at rest อาจได้ยิน crepitation หรือ wheezing ซึ่งบ่งชี้ถึง pulmonary venous congestion

2. Tachycardia and/or gallop rhythm อาจจะได้ยิน organic
heart murmur, pericardial friction rub, distant heart sound ซึ่งบ่งชี้ถึงการมี underlying heart disease

3. คลำได้ตับโต และมักจะกดเจ็บจาก congestion แสดงถึง systemic venous load

4. Cardiomegaly บ่งถึง overload ต่อหัวใจ ซึ่งได้จากการตรวจร่างกาย หรือเอ็กซเรย์ และอาจจะเห็น pulmonary venous congestion จากฟิล์มเอ็กซเรย์ด้วย

นอกจากนี้อาจจะตรวจพบว่าตัวเย็นขึ้น, ชีพจรเบาเร็วจาก sympathetic overtone

ควรจะทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยด้วย ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่ให้การวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล เพื่อการรักษา และการวินิจฉัยต่อไป

การรักษา
ในเด็กที่เริ่มมีอาการไม่รุนแรงนัก และผู้ปกครองสามารถจะปฏิบัติตามคำแนะนำได้ถูกต้อง อาจจะให้กินยาที่บ้าน โดยเริ่มให้ maintenance digoxin เลย (1/4  ของ Total digitalizing dose หรือ 0.01 มก./กก./วัน) ซึ่งจะได้ full digitalizing effect ภายใน 1 สัปดาห์ ควรจะนัดมาดูบ่อยๆ และนัดเข้าคลินิกโรคหัวใจ หรือส่งต่อ เพื่อให้การวินิจฉัยเบื้องต้น ให้คำแนะนำที่ถูกต้องและให้การติดตามที่ต่อเนื่องต่อไป

ที่มา:พันธ์ทิพย์  สงวนเชื้อ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า