สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ปวดข้อและข้ออักเสบ (Arthralgia and Arthritis)

ข้ออักเสบ
ปวดข้อ (Arthralgia) เป็นอาการที่เป็นสาเหตุนำมาหาแพทย์ ที่พบได้ บ่อย ส่วนใหญ่มักเป็นระยะสั้น ซึ่งเกิดหลังจากการออกกำลังกาย ถูกกระทบกระแทก หรือบาดเจ็บ การตรวจอาจไม่พบความผิดปกติชัดเจน

ข้ออักเสบ (Arthritis) หมายถึง การที่มีข้อบวม และเจ็บปวดเมื่อเคลื่อน ไหว การตรวจรอจะพบว่ามีการบวม คลำได้ร้อนกว่าข้ออื่นที่ปกติ จะปวดเมื่ออยู่นิ่งๆ หรือเมื่อจับให้เคลื่อนไหว มีการเคลื่อนไหวของข้อนั้นไม่เต็มที่ เมื่อผู้ป่วยมาด้วยอาการข้อบวม และปวดข้อ มีสาเหตุใหญ่ๆ ที่ควรนึกถึงดังต่อไปนี้

1. Rheumatic disease เช่น juvenile rheumatoid arthritis, rheumatic fever, SLE. โดยมากเป็นหลายๆ ข้อ และมีอาการแสดงอื่นๆ ร่วมด้วย

2. โรคติดเชื้อ
-Septic arthritis มักจะเป็นข้อเดียว และปวดมาก สาเหตุจากเชื้อ staphylococcus, gonococcus, TB.

-viral infection มักจะพบร่วมกับ rubella ในเด็กโต และ hepatitis B virus หรือเกิดจากการได้รับ rubella vaccine

3. Neoplasm เช่น leukemia, lymphoma, neuroblastoma เด็ก มักจะมาด้วยอาการปวดข้อหลายๆ ข้อ, ซึ่งการตรวจร่างกายโดยละเอียด และการตรวจเลือดมักจะช่วยในการวินิจฉัย

4. Hemophjlia  ซึ่งได้รับการกระแทกบริเวณข้อแล้วมีเลือดออก จะได้ ประวัติเลือดออกง่ายในครอบครัว มีจ้ำเขียวบ่อยๆ วินิจฉัยโดยการสั่งตรวจ coagula¬tion study

5. Trauma มักจะเป็นข้อเดียว และเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด และมักจะมีประวัติการถูกกระแทกหรือบาดเจ็บ

ลักษณะเฉพาะของข้ออักเสบ และปวดข้อที่พบบ่อย
Pull elbow พบในเด็กต่ำกว่าอายุ 5 ปี เด็กจะมีอาการปวดแขนทันที ส่วนใหญ่ปวดที่ข้อศอก (elbow) หรือข้อมือ (wrist)

ไข้รูห์มาติค (Rheumatic fever) มีประวัติปวดข้อใหญ่ๆ หรือข้อบวม ซึ่งจะย้ายไปตามข้อต่างๆ โดยการปวดข้อและข้อบวมนั้นจะเป็นอยู่ 2-3 วัน และเลื่อนไปข้ออื่น อาจจะได้ประวัติเจ็บคอมาก่อน ถ้ามีข้ออักเสบจริงๆ จะปวดมากจนเดินหรือเคลื่อนไหวไม่ได้ ให้การวินิจฉัยได้โดยอาศัย Jones’ criteria อาจตรวจพบว่ามี carditis หรือ erythema marginatum ร่วมด้วย

Juvenile Rheumatoid Arthritis (JRA) พบบ่อยในเด็กอายุ 2-4 ปี บางรายอาจจะเริ่มมีอาการก่อนนั้น พบในเด็กผู้หญิงบ่อยกว่าเด็กผู้ชาย อาการนำมักจะเป็นอาการปวดข้อ และมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ และเป็นอยู่นาน อาการปวดข้อบวมอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อก็ได้ ถ้าเป็นข้อ เดียวมักเป็นที่เข่าหรือข้อเท้า และมักจะบวมชัดเจน มีอาการปวดข้อ บางรายอาจเป็นที่ข้อเล็ก เช่น ที่นิ้ว ทำให้เห็นลักษณะเป็น fusiform fingers บางรายอาจมีผื่นขึ้น มีม้ามและต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะรายที่มีไข้ ลักษณะข้อบวมอาจแยกยากจากไข้รูห์มาติคในกรณีที่เป็นข้อใหญ่ ประวัติที่จะช่วยแยกคือ

-ประวัติปวดข้อ หรือตึงๆ (stiffness) ในตอนเช้า มักจะพบบ่อยใน JRA
-ถ้าอาการทางข้อเป็นนานกว่า 1 เดือนน่าจะเป็น JRA เพราะ rheumatic fever มักมีอาการไม่กี่วัน
-อาการปวดต้นคอ และปวดข้อเล็กๆ ที่นิ้ว มักจะบ่งถึง JRA
-ถ้า ESR ปกติ Aso ไม่สูง ไม่ควรคิดถึง rheumatic arthritis
-Iridocyclitis พบใน JRA ราวร้อยละ 10
-เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ค่อยพบว่าเป็น rheumatic arthritis

Septic arthritis หรือ osteitis ใกล้ข้อ อาจจะคิดว่าเป็นไข้รูห์มาติด ถ้าสงสัยให้ส่ง blood culture และอาจจะพบว่ามี leukocytosis ร่วมด้วย

Tuberculosis of joints อาจจะวินิจฉัยจาก tuberculin test และ chest x-ray และประวัติวัณโรคในครอบครัว

Hemophilia มีข้อบวม และอาจจะเห็นจ้ำเขียวที่ข้อหรือที่อื่น

การตรวจร่างกายและการส่งตรวจ
สิ่งที่ต้องเน้นคือ ประวัติที่นำมา และการตรวจพบอื่นๆ ที่ร่วมด้วยกับการปวดข้อ จึงจำเป็นต้องตรวจให้ละเอียดทุกระบบ และตรวจที่ข้อบวมการวินิจฉัยมักจะได้จากประวัติ การส่งตรวจเพิ่มเติมแล้วแต่สาเหตุ

การรักษา ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและสาเหตุ
-Rheumatic disease อาจจะใช้ anti-inflammatory agents เช่น ASA และนัดดูต่อเนื่องในคลินิกโรคหัวใจ
-ถ้าสาเหตุจากโรคติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ควรจะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพราะต้องการยาปฏิชีวนะระยะยาว
-ถ้าสาเหตุจากโรคเลือดควรรับไว้ในโรงพยาบาล ปฏิบัติการเพิ่มเติม และรักษา

ที่มา:พันธ์ทิพย์  สงวนเชื้อ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า