สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ประวัติแมคโครไบโอติก

การใช้วิถีชีวิตตามแนวทางของแมคโครไบโอติกนั้นมีความตระหนักรู้ในเรื่องอาหารที่เรากินเข้าไป ไม่เพียงแต่จะช่วยหล่อเลี้ยง บำรุงร่างกาย และช่วยประทังชีวิตเท่านั้น หากยังเป็นพื้นฐานของสุขภาพและความสุขของเราด้วย แนวความคิดเหล่านี้มีมาหลายพันปีก่อน ในปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ได้เรียบเรียงเป็นคำสอนได้แก่ หลักการพระมนูในอินเดีย คัมภีร์เน่ยชิงในจีน อาหารเเบบเซ็น เป็นต้น

พ.ศ. 2340 นายแพทย์คริสตอฟ วิลเฮล์ม ฟอน ฮัฟแลนด์ ใช้คำว่า แมคโครไบโอติก ในงานเขียน ดัส มาโครบิโอติค (Das Makrobiotik) เกี่ยวกับศาสตร์และศิลปแห่งการทำให้ชีวิตมนุษย์ชาติยืนยาว เป้าหมายของการแพทย์คือสุขภาพ เป้าหมายของแมคโครไบโอติก คืออายุยืนยาว กระบวนการทางการแพทย์เป็นการดูสภาวะที่เปลี่ยนแปลง ณ ปัจจุบัน กระบวนการ แมคโครไบโอติกเป็นการดูการเปลี่ยนแปลงที่เป็นหนึ่งเดียว บุคลากรทางการแพทย์จะรู้สึกพอใจ หากสามารถฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยคืนมาได้ แต่มิได้พิจารณาว่ามันฟื้นคืนได้อย่างไร ชีวิตจะสั้นหรือยาวก็ด้วยตัวของชีวิตเอง หรืออาจจากกระบวนการทางการแพทย์ การแพทย์สามารถรักษาความเจ็บป่วยและความทุกข์ทรมานให้หายอย่างรวดเร็วได้ แต่แมคโครไบโอติกสามารถ เเสดงให้เห็นเหตุของความเจ็บป่วยนั้น ทั้งที่ยังป่วยก็สามารถที่จะมีอายุยืนยาวได้ การแพทย์ พยายามที่จะทำให้ร่างกายของมนุษย์สมบูรณ์แข็งแกร่ง แต่แมคโครไบโอติกแสดงให้เห็นว่า ความแข็งแกร่งนั้นหากมากเกินไปก็ทำให้อายุสั้นได้ เวชปฏิบัติทางการแพทย์นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ รองจากแมคโครไบโอติก ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหลักที่ครอบคุมมากกว่า เพราะสามารถที่จะบอกวีธีการที่จะวินิจฉัย รักษา ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นศัตรูต่อชีวิตได้ ซึ่งมากกว่าวิทยาศาสตร์การแพทย์

นายแพทย์ ซาเก็น อิชิซูกะ (Sagen Ishizuka พ.ศ. 2393-2453) ซึ่งเป็น นายแพทย์ทหารเรือ ได้เสนอทฤษฎีอาหารและการแพทย์ซึ่งผสมผสานระหว่างทฤษฎีการแพทย์ ยาพื้นบ้านที่เกี่ยวกับอาหารและทฤษฎีการแพทย์แผนปัจจุบันทางด้านเคมี ชีววิทยา ชีวะเคมีวิทยา เเละสรีรวิทยา นายแพทย์ซาเก็น อิชิซูกะ เกิดมาด้วยร่างกายที่อ่อนแอ ป่วยด้วยโรคไตและ ผิวหนัง เพื่อที่จะรักษาตนเองให้หายจากโรค จึงได้ทุ่มเทการศึกษาทางด้านการแพทย์ทั้งทางตะวัน ตกและทางตะวันออกอย่างจริงจัง จนสามารถแต่งตำราขึ้นมาสองเล่ม คือ ทฤษฏีทางเคมีของการ อายุยืนยาว (Chemical Theory of Longevity) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2439 และอาหารเพื่อสุขภาพ Diet for Health) ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2437

ในปี พ.ศ.2450 กลุ่มลูกศิษย์ของท่านได้จัดตั้งสมาพันธ์โซกุ-โย-ไค (Shoku-Yo-Kai) อิชิซูกะเองเป็นแพทย์ของกองทัพที่มีตำแหน่งสูง มีผู้ร่วมก่อตั้งประกอบไปด้วยผู้สูงศักดิ์สมาชิกสภาองคมนตรี และผู้แทนของพ่อค้าที่ประสบความสำเร็จในยุคนั้น สมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพลทั้งทางวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์จากยุโรป อิชิซูกะได้นำเสนอทฤษฎีอาหารที่ขัดความเชื่อ และความรู้ในยุคนั้น ซึ่งล้วนแต่เป็นความรู้ที่มีทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์ของอาหาร มาจากทางตะวันตกทั้งสิ้น โดยเสนอให้คนญี่ปุ่นรับประทานอาหารพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่ประกอบไปด้วยอาหารครบส่วนที่ไม่ผ่านการขัดสี ไม่ดื่มนม ไม่กินเนื้อสัตว์ หรือดื่มกินในปริมาณที่น้อยมาก อิชิซูกะสามารถเยียวยาผู้ป่วยให้หายขาดได้เป็นจำนวนมาก โดยการแนะนำให้รับประทานอาหารพื้นบ้าน มีข้าวกล้อง ผักและสาหร่ายทะเล ท่านได้เปิดคลินิกรักษา แต่ละวัน มีผู้ป่วยมากมาย แต่ท่านจำกัดเพียง 100 คนต่อวันเท่านั้น จนได้รับสมญานามว่า “คุณหมอพืชผักแห่งโตเกียว คุณหมอหัวไชเท้าแห่งโตเกียว หมอต่อต้านหมอแห่งโตเกียว” หลักการอาหาร ที่ใช้รักษาคือ หลักการอาหารของอิชิซูกะ (Sagen Ishizuka’s diet) มีหลักการ 5 ประการคือ

1. อาหารเป็นพื้นฐานของสุขภาพและความสุข

2. ซเดียม (Na) และโปแตสเขียม (K) เป็นธาตุที่ต่อต้านและเสริมให้    สมบูรณ์ ในอาหาร คือคุณสมบัติหยิน-หยางของอาหาร

3. ธัญพืชเป็นอาหารหลักของมนุษย์

4. อาหารควรเป็นอาหารที่ครบส่วน คงรูปเดิม ไม่ผ่านการขัดสี ปราศจาก การปรุงแต่ง ได้จากธรรมชาติ

5. อาหารต้องปลูกในท้องถิ่น และควรกินตามฤดูกาล

จอร์จ โอซาว่า (Gorge Ohsawa ขณะอายุ 15 ปี ป่วยด้วยโรคที่ไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ คือวัณโรคแพร่กระจาย (Disseminated Pulmonary Tuberculosis) อายุ 18 ปี ได้เรียนรู้สูตรอาหารเพื่อรักษาตนเองจากลูกศิษย์ของอิชิซูกะสองคน คือ มานาบึนิชิบาตะ (Mr.Manabu Nishibata) และโชจิโร่ โกโตะ (Mr.Shojiro Goto) กระทั่งหายขาดและฟื้นฟูสุขภาพ ขึ้นใหม่แล้ว จึงได้เข้าร่วมชมรมโขคุโย-ไค (Shokuyo-Kai) และได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธาน ชมรม และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอาหารและสุขภาพมากมาย ซึ่งเดิมนั้นมีหนังสือ ในแนวนี้ออกมาน้อยมาก รวมทั้งได้ออกวารสารของชมรม ซึ่งมีคุณอากิร่า อิดะ (Mr.Akira lida) เป็นบรรณาธิการ

พ.ศ.2468 จอร์จ โอซาว่า ได้เขียนบทความมากมายตีพิมพ์ในวารสาร พ.ศ. 2471 หนังสือเล่มแรกชื่อ “สรีรวิทยาของวิธีการคิดแบบญี่ปุ่น (Physiology of Japanese Mentality)” และเรื่อง “ชีวประวัติของซาเกน อิชิซูกะ (Biography of Sagen Ishizuka)” ก็ได้รับการตีพิมพ์ เมื่อผลงานต่างๆ มีมากขึ้น ผู้คนเริ่มรู้จักและมีชื่อเสียง จึงเริ่มมีการอิจฉาริษยาและกีดกันอย่างหนัก จึงตัดสินใจออกมาก่อตั้งชมรมของตนเองขึ้นมาใหม่ เน้นการสอนปรัชญาของหยิน-หยางมากกว่า ที่จะเน้นการรักษาเพียงอย่างเดียว นับแต่นั้นมาท่านจอร์จ โอซาว่า ก็ได้อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่ปรัชญาแมคโครไบโอติกและการประยุกต์ใช้ไปทั่วโลก กระทั่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 74 ปี จอร์จ โอซาว่าใช้คำว่าแมคโครไบโอติกครั้งแรกในการแปลหนังสือของอะเล็กซิสคอเรลล์ (Alexis Corell) เรื่อง “มนุษย์ซี่งไม่มีผู้รู้จัก (Man the Unknown)” ซึ่งไม่เคยปรากฏในตำราใดๆ มาก่อน เเละเริ่มใช้แมคโครไบโอติกอย่างจริงจัง ในหนังสือเรื่องแมคโครไบโอติกแบบเซ็น (Zen .acrobiotics) ซี่งท่านได้ประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. 2502 และตีพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษโดยศูนย์อิกนอรามุสของญี่ปุ่น (Nippon Centre Ignoramus หรือ Nippon C.I.) ในปี พ.ศ. 2503

หลังจากที่โอซาว่าถึงแก่กรรม บรรดาสานุศิษย์ได้สืบเนื่องการสอนแมคโครไบโอติก ต่อไปทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ปัจจุบันหลักแมคโครไบโอติกได้รับการ ถือปฏิบัติกันทั่วไปจนเรียกได้ว่าทั่วทั้งโลก รวมทั้งในประเทศต่างๆ แถบยุโรปตะวันออกด้วย ในอเมริกา ผู้คนนับพันคนตามเมืองใหญ่ๆ ทุกเมืองใช้หลักการของแมคโครไบโอติกในชีวิต ประจำวัน และจำนวนคนที่ดำเนินวิถีชีวิตตามแนวนี้กำลังมีเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ ร้านค้าที่จำหน่าย อาหารสุขภาพและอาหารธรรมชาตินับพันๆ แห่งทั่วประเทศ ต่างจำหน่ายอาหารพื้นฐานที่ใช้ เป็นสามัญในแมคโครไบโอติก เช่น ธัญพืช และพืชผลทางเกษตรที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี ผักทะเล และเครื่องปรุงรส

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า