สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ท้องร่วงเรื้อรัง (Chronic diarrhea)

ท้องร่วงเรื้อรัง
หมายถึง การที่ผู้ป่วยมีอาการท้องร่วงมานานกว่า 2 สัปดาห์ หรือ 1 สัปดาห์ ในเด็กที่มีทุพโภชนาการร่วมด้วยปัญหาหลักที่จะตามมาคือ ภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งยังผลให้อาการท้องร่วงรุนแรงขึ้นจนถึงแก่ชีวิตจากโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ เป็นต้น

สาเหตุ มีมากมาย ได้แก่

1. โรคติดเชื้อ

1.1 แบคทีเรีย เช่น
salmonellosis, intestinal tuberculosis

1.2 โปรโตซัว เช่น
giardiasis, amoebiasis

1.3 ปรสิต เช่น
capillariasis, trichuriasis

1.4 เชื้อรา

2. Dietary factors เช่น overfeeding, food allergy

3. ภาวะพร่องเอนซัยม์ เช่น lactase deficiency, pancreatic insufficiency เป็นต้น

4. Decreased absorptive surface เช่น short bowel syndrome

5. Anatomical lesions เช่น Hirschprung’s disease, blind loop syndrome, enteric fistula

6. Metabolic and endocrine disorders เช่น adrenal insuf¬ficiency, endocrine tumor, neuroblastoma, hyperthyroidism

7. Intractable diarrhea of infancy เป็นกลุ่มอาการท้องร่วงเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์ ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน ซึ่งรักษาด้วยวิธี conventional แล้วไม่ได้ผล

8. Irritable colon of childhood พบบ่อยในเด็กอายุ 6-36 เดือน ผู้ป่วยถ่ายประมาณ 5-7 ครั้ง/วัน โดยที่มีภาวะโภชนาการปกติ และจะได้ประวัติเช่นเดียวกันในครอบครัว

9. อื่นๆ เช่น hypogammaglobulinemia, IgA deficiency, cys¬tic fibrosis, intestinal lymphangiectasia, หรือจากยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ โรคติคเชื้อและ secondary lactase deficiency ซึ่งจะมีประวัติท้องร่วงมาก่อน อาการดีขึ้นเมื่องดนม และจะกลับท้องร่วงเมื่อได้รับนมใหม่ ลักษณะของอุจจาระจะเป็นฟองจำนวนมาก เป็นหลังจากให้น้ำนม และท้องอืด

การวินิจฉัย
ประวัติ มีประวัติท้องร่วงมาเกินกว่า 2 สัปดาห์ ซักถามประวัติการให้อาหาร ประวัติท้องร่วงในครอบครัว ลักษณะของอุจจาระ

การตรวจร่างกาย ในผู้ป่วยท้องร่วงเรื้อรัง อาการทางคลินิกของการขาดน้ำ จะดูรุนแรงกว่าที่เป็นจริงขณะนั้นถ้าใช้หลักของท้องร่วงเฉียบพลัน ในรายที่เป็นมานานจะมีอาการของภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เน้นการตรวจอุจจาระโดยตรวจ pH และ
reducing sugar ต้องเก็บอุจจาระหลังจากที่ได้นมผสมความเข้มข้นปกติบนผ้ายาง หรือพลาสติก นำส่วนที่เป็นน้ำอุจจาระ 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน นำมา 15 หยดใส่หลอดทดลอง ทดสอบกับ clinitest tablet ถือว่าให้ผลบวก เมื่อได้ค่ามากกว่าร้อยละ 0.5 และตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ดู leucocytes, parasitic ova, protozoa และ fat globules (ผิดปกติเมื่อพบว่ามากกว่า 40 globules/HPF) และส่งอุจจาระเพาะเชื้อ การส่งตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้จากประวัติ และการตรวจร่างกาย

การรักษา
1. การรักษาตามสาเหตุ

2. รักษาทางโภชนาการในกรณีที่อาการ และการตรวจทางอุจจาระเข้าได้กับ lactase deficiency คือ stool pH < 6    พวก low lactose และ lactose free formula จะมีบทบาทมากในผู้ป่วยเหล่านี้ ได้แก่ นมถั่วเหลือง ทั้งที่ทำเอง และ commercial (ProsobeeR, IsomilR) Low lactose formula เช่น AlmironR เป็นต้น

3. รักษาตามอาการ

3.1 Antidiarrheal drug ที่ได้ผลคือ loperamide (ImodiumR) 1หยด/น้ำหนักตัว 2 กิโลกรัม ทุก 8-12 ชั่วโมงทางปาก แต่ต้องระวังอย่างมากในการให้กับผู้ป่วย ambulatory เพราะถ้าให้ขนาดผิดจะมีอันตรายกดการหายใจได้

3.2 Cholestyramine (QuestranR) เป็น chloride salt ของ anion exchange resin ออกฤทธิ์จับกับ bile salts มีประโยชน์ในพวก cholerheic enteropathy จากการที่ ileum ส่วนปลายถูกตัดออกไป หรือเยื่อบุลำไส้ส่วนนี้อักเสบมาก จนถูกทำลาย และดูดซึม bile salt กลับไม่ได้ หรือจากการที่มี bacterial overgrowth เกิด deconjugation ของ bile salt ให้ขนาด 4-8 กรัม แบ่งเป็น 4 มื้อ ก่อนอาหารหรือน้ำนม

รับไว้ในโรงพยาบาล
เมื่ออาการไม่ดีขึ้นหลังจากให้การรักษาข้างต้นประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือผู้ป่วยเริ่มมีภาวะทุพโภชนาการและยังหาสาเหตุไม่ได้

ที่มา:ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า