สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของบันดูระและวออเตอร์ (Bandura & Walters)

1. แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีนี้คือ:
1.1 พฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากเกิดจากการเรียนรู้
1.2 การเรียนรู้เกิดจากการสังเกต พฤติกรรมผู้อื่น หรือจากการเลียน แบบพฤติกรรมของบุคคลที่ตนถือเป็นแบบ ซึ่งอาจเป็นบุคคลในชีวิตจริง บุคคลในวรรณกรรม นิทาน นวนิยาย ละครก็ได้
1.3 การเรียนรู้ที่เป็นพฤติกรรมถาวร เกิดจากการได้แรงเสริม (Reinforcement)
1.4 การเรียนรู้โดยการสังเกต อธิบายได้โดยหลักการวางเงื่อนไข

2. ขั้นตอนกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมของทฤษฎีนี้แสดงให้เห็นตามตารางข้างล่างนี้
health-0046
3. การเลียนแบบเชิงสังคม
ทฤษฎีนี้เน้นการเลียนแบบทางสังคม ซึ่งมีคำอธิบายหลายประการ เช่น
3.1 Inhibiting effect – การเก็บกดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง
3.2 Disinhibiting effect – การแสดงพฤติกรรมที่เก็บกดเอาไว้
3.3 Eliciting effect – การเลียนแบบทางอ้อม

ตัวอย่าง (1) เด็กวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวชั้นกลางเป็นเด็กที่ได้รับการอบรมมาดี เห็นเพื่อนสูบกัญชา ซึ่งรู้อยู่ว่าพ่อแม่ไม่ชอบ แต่ก็สูบกัญชาตามเพื่อน (Disinhibiting effect) แต่ต่อมาได้พบว่าเพื่อนมีปัญหาทางสุขภาพหรือและกฎหมายจึงเลิกสูบ (Inhibiting effect)

ตัวอย่าง (2) เด็กชายกุ้งทำการก่อกวนในห้องเรียน (ส่งเสียงดัง) เด็กอื่นๆ ก็ทำการก่อกวนบ้าง โดยการหยิก ต่อย กัด ตัวอย่างนี้เป็นการเลียนแบบทางอ้อม คือไม่ได้ทำเหมือนกับต้นแบบโดยตรง (Eliciting effect)

4. Self efficacy
Self efficacy เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับความเชื่อในสมรรถนะแห่งตนที่จะประกอบกิจใดๆ ได้เป็นผลสำเร็จ แม้ว่าการไปถึงเป้าหมายนี้ อยู่ในสภาพการณ์ที่คลุมเครือ จัดการได้ยาก มีความเครียดสูง การที่บุคคลใดๆ จะเสริมสร้างสมรรถนะนี้ได้ มีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
4.1 ตนเชื่อว่าตนสามารถจัดการกับเรื่องราวนั้นๆ ได้จนลุล่วง
4.2 การสังเกตการประสบผลสำเร็จจากบุคคลอื่นและเรียนรู้วิธีการจากบุคคลนั้นๆ
4.3 ชักจูงตนเองด้วยคำที่ให้กำลังใจต่างๆ เช่น “ฉันต้องทำได้” “ฉันมั่นใจ” หรือจากคำให้กำลังใจจากผู้อื่น เช่น “คุณทำได้แน่ๆ” “เราเชื่อว่าคุณทำได้”
4.4 ระดับการถูกกระตุ้นพอเหมาะ
(เก็บความจาก Lefrancois, 1990)

ที่มา:ศรีเรือน  แก้วกังวาน
สาขาจิตวิทยา คณะศิลปะศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า