สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การให้อาหารทารก (INFANT FEEDING)

อาหารทารก
เป็นหัวข้อหนึ่งที่สำคัญใน Well child care เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็ก หรือป้องกันไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการขึ้น แพทย์ควรจะซักประวัติเกี่ยวกับการให้อาหารทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเด็กป่วยหรือเด็กดีที่มาตรวจที่คลินิกเด็กดี (well baby clinic) เพื่อที่จะได้ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง คำแนะนำที่ให้แก่มารดานี้ยังมีประโยชน์สำหรับลูกคนต่อไปอีกด้วย

ในทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และมีภูมิป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคท้องร่วงและโรคของระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังประหยัดและสะดวกอีกด้วย เมื่อทารกอายุมากกว่า 6 เดือน ต้องการสารอาหารมากขึ้น นมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับทารก และทารกยังต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เปลี่ยนแบบแผนการกินอาหารไปกินอาหารเป็นมื้อๆ วันละ 3 มื้อ การให้อาหารเสริม ซึ่งมีลักษณะเป็น semi-solid ตั้งแต่อายุได้ 3 เดือนจึงเป็นการหัดให้เคยชินกับอาหารอื่น ซึ่งมีรสและลักษณะแปลกออกไปจากของเหลวคือ น้ำนม อายุ 3 เดือน เป็นอายุที่เหมาะสำหรับการเริ่มอาหารเสริมนี้เพราะระบบน้ำย่อยเริ่มทำงานได้ดีขึ้น และการประสานงานด้านการกลืนอาหารเป็นไปได้ดี การเริ่มอาหารเสริมเมื่ออายุช้ากว่านี้จะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังคือ เด็กไม่ยอมหย่านมและไม่ยอมกินข้าว แม้จะอายุ 1-2 ขวบแล้ว นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการได้

การให้นมแม่ แพทย์มีบทบาทสำคัญมากในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ แม้ในโอกาสที่หญิงนั้นไม่ได้มาฝากครรภ์ เช่น พาลูกมาตรวจ เป็นต้น แพทย์ควรได้ถามว่าจะให้นมอะไรเลี้ยงลูกที่กำลังจะคลอด และควรอธิบายถึงคุณค่าของนมแม่ แนะนำให้ไปฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพื่อสูติแพทย์ จะได้แนะนำวิธีเตรียมตัวในการให้นมลูก การเตรียมหัวนม (nipples) และเต้านม สำหรับแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านควรสนับสนุนให้ได้นมแม่ในช่วงที่ลาหยุดหลังคลอด เมื่อกลับไปทำงานให้นมลูกต่อไปได้ ถ้าทำงานใกล้บ้าน ในกรณีที่กลับบ้านให้นมลูกตอนกลางวันไม่ได้ ควรสนับสนุนให้ให้นมแม่ต่อในช่วงกลางคืน โดยเมื่อใกล้กำหนดกลับไปทำงานประมาณ 2 สัปดาห์ให้แม่งดให้นมลูกในช่วงกลางวัน และให้ดูดนมเฉพาะช่วงกลางคืน ปฏิบัติเช่นนี้แล้วน้ำนมจะไม่ไหลเปื้อนเมื่อกลับไปทำงาน และน้ำนมก็ยังมีให้ลูกในช่วงเย็น เมื่อทารกอายุมากกว่า 6 เดือนนมแม่ก็ยังให้กับทารกได้โดยถือเป็นอาหาร เสริม ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะบอกให้หย่านมแม่และให้นมผสมแทน นมแม่สามารถให้เป็นอาหารเสริมแก่ทารกจนอายุ 7-2 ขวบ แล้วแต่จะต้องการ

ในช่วง 3 เดือนแรกที่ทารกได้รับน้ำนมแม่อย่างเดียวนั้น ไม่จำเป็นต้องเสริมอาหารใดๆ แก่ทารก เพียงแต่แนะนำให้แม่กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนก็เพียงพอแล้ว สำหรับบ้านเรามีแสงแดดมากถ้าแม่ไม่ห่อหุ้มตัวทารกมากเกินไปโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกอ่อนจากการขาดไวตามินดีแทบไม่มีเลย การฉีดไวตามิน เค แก่ทารกแรกคลอด ทำให้ระดับไวตามินในตัวทารกสูงนานหลังคลอดประมาณ 1-2 เดือน ช่วยเสริมกับนมแม่ซึ่งมี ไวตามิน เค ต่ำ ป้องกันภาวะเลือดออกในระยะ newborn ได้ สำหรับน้ำส้มคั้นไม่ได้แนะนำให้ใช้ทั่วไป เนื่องจากไม่สามารถจะหาส้มได้ทุกท้องถิ่น และการเตรียมน้ำส้มคั้นต้องระมัดระวังล้างส้มให้สะอาด ไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อโรค มิฉะนั้นจะเกิดโรคท้องร่วงได้ง่าย (โดยเฉพาะ salmonella ซึ่งปนเปื้อนผิวส้ม)

การให้นมผสม ในกรณีที่มีความจำเป็น ไม่สามารถเลี้ยงทารกด้วยน้ำนมแม่ได้ เช่น เจ็บป่วยเป็นโรคติดต่อรุนแรง ต้องไปทำงานนอกบ้านไม่สามารถกลับมาให้นมลูกได้ เป็นต้น และต้องให้อาหารอื่นแทนนมแม่ แพทย์ต้องให้คำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการและโรคติดเชื้อที่จะตามมา

อาหารแทนนมแม่สำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนคือ นมผงที่ดัดแปลงให้คล้ายนมแม่ (Infant formula) สำหรับทารกอายุมากกว่า 6 เดือนสามารถเปลี่ยนเป็นนมผงธรรมดา (Whole milk powder)ได้ นมสดควรให้ในเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบ

อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการให้นมผสมคือ ขวดนม ซึ่งควรมีจำนวนขวดเท่าจานวนมื้อ (6 ขวด) หัวนมยางต้องมีรูที่มีขนาดพอเหมาะคือ เมื่อใส่น้ำนมแล้วคว่ำขวดน้ำนมจะไหลเป็นหยดติดต่อกัน ไม่ใช่ไหลเป็นทางหรือต้องบีบจึงจะหยด ทั้งขวดนมและหัวนมยางต้องใช้แปรงล้างให้สะอาดทันทีหลังใช้และต้มทำความสะอาด โดยต้มในน้ำเดือด 10 นาทีสาหรับขวดนม และ 3 นาทีสำหรับหัวนม

การผสมนมต้องไม่ผสมข้นไปหรือจางไป ตวงนมด้วยช้อนตวง สำหรับนมผงชนิดนั้น โดยใช้มีดปาดให้พอดีกับช้อนตวง ซึ่งจะผสมได้ 20 กิโลแคลอรีต่อออนซ์ มิใช่อัดจนแน่น หรือตวงแบบช้อนพูน ควรผสมนมให้พอสำหรับแต่ละมื้อ ถ้าดูดไม่หมดให้ทิ้งไปไม่เก็บไว้สำหรับมื้อต่อไป

แพทย์ควรให้เกณฑ์ปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการต่อวัน โดยคำนวณจากความต้องการพลังงานของทารกแต่ละอายุ ดังตารางข้างล่างนี้
health-0009 - Copy

โดยทารกต่ำกว่า 1 เดือนมักต้องการนมวันละ 6-8 มื้อ ทารกต่ำกว่า 6 เดือนต้องการวันละ 6 มื้อ หลังจากนั้นอาหารเสริมจะค่อยๆ เข้ามาแทนที่นมดังจะกล่าวต่อไป

การให้นมผสมยึดหลักเช่นเดียวกันกับการให้นมแม่คือ มีหลักการว่าต้องการวันละ 6 มื้อดังกล่าวข้างต้น (แต่เด็กที่ได้นมแม่มักจะดูดนมถี่กว่า) หรือประมาณทุก 3-4 ชม. แต่ก็สามารถยืดหยุ่นได้คือ ให้ได้ก่อนเวลาถ้าหิว หรือยังหลับเพลินอยู่ไม่ต้องปลุก เป็นต้น โดยตัวบ่งชี้ว่าเด็กทารกได้น้ำนมเพียงพอไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมผสมคือ น้ำหนักของทารก จะต้องขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานสำหรับอายุนั้นๆ

คำแนะนำการให้อาหารทารก
health-0010 - Copy

โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
1. การเริ่มอาหารใหม่ทุกชนิดให้เริ่มทีละอย่าง ครั้งละน้อย เช่นครั้งละ ½ –   ช้อนชา เพื่อให้ทารกค่อยๆ ชินกับอาหารใหม่ และถ้าเกิดอาการแพ้จะได้สังเกตได้ทันที

2. ในการเริ่มอาหารครั้งแรก ทารกยังไมชินจะดุนอาหารออกมาหมด ควรใส่ลึกไปทางด้านหลังของลิ้นเพื่อให้กลืนง่าย

3. อาหารสำหรับทารกไม่ควรปรุงรส ควรให้เป็นรสธรรมชาติ

4. การแนะนำอาหารถือหลักว่า ให้เป็นอาหารที่บริโภคประจำในครอบครัวอยู่แล้ว เพื่อสะดวกแก่แม่ในการเตรียมอาหาร

ที่มา:ลัดดา  เหมาะสุวรรณ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า