สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การรักษาโรคด้วยไวตามิน หรือการเยียวยาโดยใช้หลักออร์โธโมเลกุล(Orthomolecular Therapy)

เป็นการรักษาโรคด้วยการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารต่างๆ ที่คั่งอยู่ในร่างกาย สารดังกล่าวคือ ไวตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน เอ็นไซม์ และอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ในร่างกายของคนเราเป็นปกติอยู่แล้วและทำให้เรามีสุขภาพที่ดี

ออร์โธ(Ortho) เป็นภาษากรีก แปลว่า “ถูกต้อง” และคำว่า “โมเลกุล” หมายถึง หน่วยทางกายภาพที่เล็กที่สุดของธาตุหรือสารประกอบ

แม้การบำบัดรักษาด้วยวิธีออร์โธโมเลคูลาร์ จะถูกนำมาโยงเข้ากับสิ่งที่เรียกว่า การใช้ไวตามินในอัตราสูง แต่ความมุ่งหมายที่แท้จริง คือ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารที่จำเป็นเพื่อสร้างสภาพหรือมีปริมาณโมเลกุลที่จำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดี สารอาหารในอัตราสูงๆ จะจำเป็นในบางกรณีที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งในกรณีอื่นๆ จะใช้สารดังกล่าวเพียงเล็กน้อยหรือพอประมาณเท่านั้น

วิธีการรักษาโรคจิตสคีโซเฟรเนีย ในตอนต้นทศวรรษที่ 1950 มีอยู่ไม่กี่อย่าง ที่นอกเหนือไปจากการใช้ยากล่อมประสาทแรงๆ หรือใช้ยาหรือกระแสไฟฟ้าเพื่อเยียวยาอาการชักในรายที่คลุ้มคลั่ง และจะถูกมัดเอาไว้ด้วยเสื้อสำหรับคนบ้า หรือที่เรียกว่า สเตรท แจ็คเกต(straight jacket)

ดร. อับราม ฮอฟเฟอร์(Abram Hoffer) และ ดร.ฮัมฟรีย์ ออสมอนด์(Humpey Osmond) ซึ่งเป็นจิตแพทย์มีความหนักใจมากเกี่ยวกับการพยายามที่จะบรรเทาทุกข์ทรมานที่เกิดจากโรคสคีโซเฟรเนีย

ออสมอนด์กับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งได้วางแนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะชีวเคมีของโรคนี้ และได้ทำงานในด้านนี้ไปบ้างแล้วก่อนที่จะมาทำงานกับฮอฟเฟอร์

ทฤษฎีที่ว่า ผู้ป่วยเป็นโรคสคีโซเฟรเนียมีอาการป่วยเพราะสภาพเคมีของร่างกาย มีการพัฒนาทฤษฎีนี้จากฮอฟเฟอร์และออสมอนด์ ซึ่งมีความเชื่อว่าร่างกายมีการเผาผลาญฮอร์โมนแอดรีนาลีน(adrenalin)ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดสารที่ชื่อว่า อดรีโนโครม(adrenochrome) ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคนี้ขึ้น

แพทย์ทั้งสองได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า จะช่วยผู้ป่วยโรคสคีโซเฟรเนียได้ด้วยการให้ไนอาซินในปริมาณมากๆ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความรู้เกี่ยวกับโรคเพลลากรา(pellagra)ที่มีสาเหตุมาจากการขาดโปรตีน และทำให้เป็นโรคสคีโซเฟรเนียตามมา ซึ่งการใช้วิตามินบี 3 สามารถรักษาอย่างได้ผล

ผู้ป่วยที่เป็นโรคสคีโซเฟรเนีย ได้มีการทดลองให้ไนอาซิน หรือที่อยู่ในรูปของสารจำพวกอาไมด์ คือ ไนอาซีนาไมด์ niacinamide ในจำนวนมากๆ และให้ไวตามินซีในขนาดพอๆ กัน ผลลัพธ์นั้นให้กำลังใจมาก และต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนด้วยการศึกษาที่ทำกับคนไข้กลุ่มใหญ่ขึ้นในภายหลัง

ไม่ว่าอะไรที่มีปริมาณมากๆ ในสมัยนั้น ก็ล้วนถูกตั้งชื่อเรียกว่า เมกา(mega) ทั้งนั้น จึงได้ถือกำเนิด เมกะไวตามินเธราพี(megavitamin therapy) ขึ้นหากมีการรักษาด้วยไวตามินในปริมาณมากๆ และได้กลายมาเป็นการแพทย์แผนออร์โธโมเลคูลาร์(Orthomolecular Medicine) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตเวชแบบออร์โธโมเลคูลาร์(Orthomolecular Psychiatry)

ในปี ค.ศ.1968 นักเคมีที่ได้รับรางวัลโนเบลอย่าง ไลนัส พอลลิ่ง(Linus Pauling) ก็ได้เขียนบทความที่มีชื่อว่า Orthomolecular Psychiatry โดยใช้คำว่า “ออร์โธโมเลคูลาร์” นิยามถึงการใช้สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเฉพาะสารอาหารต่างๆ ที่ใช้ในการบำรุงรักษาสุขภาพและบำบัดรักษาโรค

ขบวนการออร์โธโมเลคูลาร์ในระยะต้นๆ จะเน้นสำคัญที่การรักษาโรคสคีโซเฟรเนียด้วยการใช้ไนอาซินในปริมาณที่มากๆ และใช้อาหารในการรักษาไฮโปไกลซีเมีย หรืออาการอ่อนเพลียเพราะขาดน้ำตาล

หลักชีวเคมีหรือออร์โธโมเลกุลซึ่งเป็นวิธีการที่จะไปสู่ความมีสุขภาพดี ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ว่า แต่ละคนนั้นมีความแตกต่างและมีความต้องการด้านโภชนาที่แตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างในเมตาโบลิซึ่ม(การเผาผลาญอาหารในร่างกาย) ซึ่งได้ถูกกำหนดมาจากพันธุกรรม จากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ความเครียดและจากสภาพเคมีของร่างกายของแต่ละคนนั้น

การบำบัดรักษาความไม่สมดุลของสภาวะเคมีในร่างกายของคน เป็นการบำบัดรักษาด้านจิตเวชและการแพทย์แบบออร์โธโมเลคูลาร์ ซึ่งมีผลเกี่ยวโยงไปถึงปัญหาความหดหู่ซึมเศร้า ความชรา การติดสุรา ติดยา โรคภูมิแพ้ อาการขาดน้ำตาลในโลหิต อาการตื่นเต้นอยู่ไม่สุข และความไม่สามารถในการเรียนรู้ที่เกิดกับเด็ก กับโรคความเสื่อมของสังขาร เช่น ข้ออักเสบ สคีโซเฟรเนีย เอดส์ และมะเร็ง

ในปี ค.ศ.1971 ได้มีการก่อตั้งสถาบันการวิจัยชีวสังคม ฮักซ์ลีย์ (Huxley Institute for Biosocial Research) ขึ้น ซึ่งเป็นองค์การกุศลที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนหรือกำไร ได้รับการยกเว้นภาษี ใช้หลักชีวเคมีและออร์โธโมเลคูลาร์ในการนำไปสู่ความมีสุขภาพที่ดี มีการจำหน่ายสื่อการศึกษามากมายที่เกี่ยวกับการแพทย์แนวออร์โธโมเลคูลาร์ และยังจัดทำสิ่งพิมพ์รายปักษ์อีก 2 ฉบับ ชื่อ Getting Better และ Journal of Orthomolecular Medicine.

เรียบเรียงโดย:สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิตา

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า