สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาการปวดระดูแบบทุติยภูมิ

Secondary dysmenorrheal
อาการปวดระดูแบบทุติยภูมิเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือพยาธิสภาพในอุ้งเชิงกราน โดยมีข้อน่าสังเกตกล่าวคือ
Genital atresia, imperforate hymen with hematocolpos และ cystic duplication of the paramesonephric duct มีอาการปวดระดูได้ตั้งแต่มีระดูครั้งแรก
Uterine hypoplasia, congenital retrodisplacement และ exaggerated anteflexion ov the uterus ไม่เป็นสาเหตุของอาการปวดระดู
Congenital cervical stenosis ไม่ค่อยเกิดอาการปวดระดู นอกจากเกิดการอุดตันของปากมดลูกจากการติดเชื้อหรือมีบาดแผล
Rudimentary uterine horn ซึ่งไม่มีช่องทางต่อกับโพรงมดลูกอาจมีอาการปวดระดูได้
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการปวดระดูแบบทุติยภูมิในกลุ่มอายุมากกว่า 18 ปี
การติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานเกิดอาการปวดระดูได้ พบได้ไม่น้อยในหญิงสาวอายุมากกว่า 16 ปี
เนื้องอกมดลูก ติ่งเนื้องอกของเยื่อบุโพรงมดลูก และ adenomyosis พบน้อยในหญิงวัยรุ่นสาว
Goldstein ศึกษาในผู้ที่มีอาการปวดระดูแบบทุติยภูมิ พบว่าร้อยละ 47 เป็นภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ ร้อยละ 13 เป็นพังผืดหลังการผ่าตัด และร้อยละ 7 เป็นการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ซึ่งการศึกษานี้ศึกษาในหญิงวัยรุ่นสาวที่ปวดระดูเรื้อรังและวินิจฉัยด้วยกล้องส่องตรวจในอุ้งเชิงกราน ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้กล้องส่องตรวจในอุ้งเชิงกรานในหญิงวัยรุ่นสาวที่ปวดท้องน้อยและตรวจภายในพบสิ่งผิดปกติ
หญิงวัยรุ่นสาวที่มีประวัติเพศสัมพันธ์ควรเพาะเชื้อหนองในจากปากมดลูก ผู้ที่มีไข้ร่วมกับปวดท้องน้อยควรสงสัยว่ามีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดมีความเสี่ยงสูงในการเกิดการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใส่ถึง 2-3 เท่า
อาการปวดระดูสัมพันธ์กับการใส่ห่วงคุมกำเนิดถึงร้อยละ 5-10 ของผู้ที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดทั้งหมด ในกรณีที่ไม่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน อาการปวดระดูอาจเกิดจากกล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการหลั่งพรอสตาเกลนดินมาก ในรายที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดแบบไม่มีฮอร์โมน เมื่อมีพรอสตาเกลนดินมากทำให้เลือดระดูมีปริมาณมากตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีพรอสตาเกลนดินน้อยทำให้เลือดระดูน้อยและปวดระดูน้อย อนึ่งรายที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดแบบมีโปรเจสเตอโรนหากมีอาการปวดระดูแบบปฐมภูมิสัมพันธ์กับการใส่ห่วงคุมกำเนิด ควรแนะนำให้เปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด
กรณีที่พบน้อยคืออาการปวดท้องน้อยตามรอบระดูที่เกิดจากการอุดตันของอวัยวะเพศ และข้อบกพร่องของการต่อเชื่อมแต่กำเนิด (fusion defect) ผู้ที่ช่องทางเปิดของอวัยวะเพศอุดตันอย่างสมบูรณ์จะมีอาการปวดท้องน้อยตามรอบระดูแลมีภาวะขาดระดูแบบปฐมภูมิ ควรตรวจทางนรีเวชวิทยาเสมอเพราะหากตรวจดูเผินๆ ที่อวัยวะเพศภายนอกจะไม่พบสิ่งผิดปกติ อาการปวดท้องน้อยตามรอบระดูแลต่อเนื่อง เป็นผลจากเลือดระดูซึ่งไหลออกไม่ได้สะสมในช่องคลอด ปรากฎการณ์นี้จะเริ่มเกิดภายใน 2-3 ปีหลังการเจริญของเต้านม ตัวอย่างข้อบกพร่องของการต่อเชื่อมแต่กำเนิดได้แก่ ภาวะเยื่อพรหมจารีไม่มีรูเปิด หรือมีผนังกั้นช่องคลอดตามขวาง (imperforate transverse vaginalseptum)
การเกิดผนังกั้นช่องคลอดตามขวางบ่งถึงความผิดปกติล้มเหลวในการเกิดช่องเปิด (canalization) ของช่องคลอด 1 ใน 3 ช่วงล่าง ความผิดปกตินี้วินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน
ข้อบกพร่องของการต่อเชื่อมซึ่งเกิดช่องคลอดอุดตันแบบเป็นข้างเดียว โดยอีกข้างหนึ่งยังคงอยู่และไม่อุดตันวินิจฉัยได้ค่อนข้างยากกว่า ช่องคลอดอุดตันแบบเป็นข้างเดียวนี้มักสัมพันธ์กับการพบมดลูกแฝด (uterus didelphys) ส่วนการอุดตันอาจอยู่สูงขึ้นเช่น rudimentary uterine horn ที่ไม่มีทางติดต่อกับช่องคลอด ผู้ป่วยจะปวดท้องน้อยตามรอบระดูแบบปวดมากขึ้นทีละน้อยแต่ยังมีระดูตามปกติ วินิจฉัยได้จากตรวจทางทวารหนักเพื่อคลำช่องคลอดและก้อนในอุ้งเชิงกราน กรณีที่ต้องยืนยันการวินิจฉัยอาจพิจารณาใช้กล้องส่องตรวจในอุ้งเชิงกรานและในโพรงมดลูก
ช่องคลอดอุดตันแบบเป็นข้างเดียวรักษาโดยทำผ่าตัดทางช่องคลอดเพื่อเปิดทางให้เลือดระดูออก ส่วน rudimentary uterine horn ที่ไม่มีทางติดต่อกับช่องคลอดรักษาโดยผ่าตัดเอา uterine horn ออก อนึ่งผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของอวัยวะเพศส่วนล่างควรฉีดสีและและถ่ายภาพรังสีของไต (intravenous pyelography) ว่ามีความผิดปกติของไตร่วมด้วยหรือไม่
ที่มา:วีระพล  จันทร์ดียิ่ง

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า