สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ผลกระทบในการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์

ผลกระทบและปัญหาที่เกิดจากการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นที่ปรากฏนั้นมี 4 ด้าน คือ

–               ด้านสุขภาพ

–               ด้านจิตใจ

–               ด้านสิ่งแวดล้อม และนิเวศวิทยา

–               ด้านเศรษฐกิจ

ปัญหาทั้ง 4 ด้านเป็นเหตุผลของการลดหรือการละเว้นอาหารเนื้อสัตว์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ด้านสุขภาพ

ในหลายประเทศทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนา มีการระบาด ของโรคติดต่อแต่เรื้อรัง (chronic diseases) และร้ายแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคมะเร็งหลายชนิด และกลุ่มโรคทางเมตะบอลิสม์ (metabolic syndrome) ซึ่งได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน เป็นต้น ทำให้คนอเมริกันสามในสี่ตาย ด้วยโรคใดโรคหนึ่งดังกล่าวเป็นประจำทุกปี

สาเหตุหลักที่สำคัญของการระบาดกลุ่มโรคเมตะบอลิสม์ในประชากรมีสองสาเหตุ คือ เกิดจากการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์มากจนเกินความจำเป็นของร่างกายทำให้ สุขภาพเสื่อมและเสี่ยงต่อการเกิดโรค และการบริโภคอาหารจากพืชผักผลไม้ในปริมาณที่ไม่มากเพียงพอ จึงทำให้ขาดสารสำคัญทางชีวภาพที่ป้องกันการเกิดโรคและช่วยให้สุขภาพแข็งแรง

อาหารเนื้อสัตว์มีปริมาณของสารไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง การเลี้ยงดูแลสัตว์ ในฟาร์มมักจะใช้สารเคมีหลายชนิด จึงอาจมีสารเคมีตกค้าง ผู้ที่บริโภคอาหารเนื้อสัตว์จะมีโอกาส ได้รับสารเคมีที่ใช้ปรุงแต่งอาหาร เช่น ไนเตรท ไนไตรท์ สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมนเร่งการเติบโต ยาปฏิชีวนะ สารกระตุ้นการเจริญอาหาร ยากล่อมประสาท ฯลฯ รวมทั้งยาฆ่าแมลงเหลือสะสม ในไขมันสัตว์ สารพิษตกค้างเหล่านี้อาจก่อมะเร็งได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  นอกจากนี้ การระบาดของโรคไม่ติดต่อแต่เรื้อรังยังเกิดจากการกินอาหารเนื้อสัตว์ ตามนิสัยส่วนตัว ตามอาชีพ ตามฐานะรายได้ และตามกระแสความนิยม ซึ่งเราจะมีอาหาร ไทย-จีนประเภทเนื้อสัตว์และไขมันสูงที่มีจำหน่ายอยู่ในร้านอาหารทั่วไปในประเทศไทยมานานแล้ว เช่น

อาหารที่เป็นเนื้อทอด-ปิ้ง-ย่าง อาหารจานเดียวที่เป็นข้าวขาหมู หมูพะโล้ ข้าวมันไก่ และข้าวหน้าเป็ด เป็นต้น ในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ มีบริษัทใหญ่ๆ จากนอกประเทศได้รณรงศ์ และโฆษณาชักชวนคนรุ่นใหม่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้บริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไขมันสูง นม เนย และไข่ เพิ่มมากขึ้น โดยสร้างกระแสนิยมอาหารใหม่ดังกล่าวในทุกรูปแบบและรสชาติ ทั้งอาหารคาว-หวาน เช่น อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน (fast foods) ไก่ทอด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ฮ็อทดอก พิซซ่า เนื้อเกาหลี หมูกะทะ โดนัท และไอศกรีม เป็นต้น ทำให้ คนรุ่นใหม่สนใจทดลองบริโภคและติดใจในรสชาติอาหารจนเป็นนิสัยชอบกินเป็นประจำ และด้วยสาเหตุนี้ ทำให้มีการกินอาหารเนื้อสัตว์มากขึ้นในประเทศไทยเป็นเงาตามตัว

มีงานวิจัยและระบาดวิทยามากมายในต่างประเทศ ได้ยืนยันว่าการบริโภคอาหารสำเร็จรูปที่ผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมและอาหารจานด่วนดังกล่าว ซี่งเปรียบเทียบว่า เป็นอาหารขยะ (junk foods) ซึ่งขาดคุณสมบัติทางโภชนาการที่ดี มีแป้ง นํ้าตาล ไขมัน และ โปรตีนมากเกิน แต่ขาดเส้นใยอาหาร วิตามิน และสารสำคัญทางชีวภาพอื่นๆ จะทำให้คนบริโภคอาหารดังกล่าวเป็นประจำเสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น จนโรคมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือดกลายเป็นสาเหตุสำคัญอันดับที่ 1 ของการตายในประชากรหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทย

ได้มีการอภิปรายปัญหาและความวิตกกังวลในวงการขององค์กรและกลุ่มวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและโภชนาการ เนื่องจากผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและคนป่วยยังขาดองค์ความรู้ในด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพที่แท้จริงในหลายด้าน รวมทั้งคุณประโยชน์ ต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของอาหารมังสวิรัติและอาหารจากพืชผัก แสดงว่าการส่งเสริม ความรู้และความเข้าใจในเรื่องอาหารสุขภาพและอาหารมังสวิรัติยังไม่กระจายทั่วถึงประชาชน ทั่วไป

เช่นเดียวกันกับประเทศทางตะวันตก หลายประเทศในเอเชียก็มีปัญหาด้านสุขภาพ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านอาหารและพฤติกรรมในการบริโภคของประชากรเช่นกัน จาก การสำรวจสุขภาพขาวเกาหลีในประชากรวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-19ปีในปี ค.ศ.1998 (n = 1317 และ 2001 (n = 848) ใช้ดัวชี้วัดความอ้วนและความเสี่ยงในโรคหัวใจและหลอดเลือด และ โรคเบาหวาน และโดยวัดเส้นรอบเอว ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์และไลโปโปรตีนในเลือด และระดับนํ้าตาลกลูโคสโนเลือด พบว่า ตัวชี้วัดดังกล่าวมีแนวโน้มสูงมากขึ้นอย่างชัดเจน อัตราเสี่ยงโรคอ้วนและโรคทางเมตะบอลิสม์เพิ่มมากขึ้น อัตราการเกิดโรคทางเมตะบอลิสมีในวัยรุ่นเหล่านี้ก็เพิ่มจาก 6.8% ในปี 1998 เป็น 9.2% ในปี 2001 และมีความสัมพันธ์กับความรุนแรง ของโรคอ้วนด้วย

 

นอกจากปัญหาพฤติกรรมในการบริโภคอาหารเนื้อสัตว์มากเกินดังกล่าวแล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อจุลินทรีย์ พยาธิจากเนื้อสัตว์ที่กินดิบ เช่น เชื้อซาลมอเนลลา อีโคไล ตัวจิ๊ด วัณโรค โรคเท้าเปื่อย โรคแอนแทรกซ์ (anthrax) พยาธิตัวตืด-ตัวแบน ตัวปรสิตอื่นๆ และตัวพยาธิใบไม้ในตับ เป็นต้น  และเสี่ยงต่อการติดโรคที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย ยิ่งปัจจุบันมีโรคระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนโดยการบริโภคมากขึ้น และทำให้คนป่วยและตายจำนวนมาก เมื่อประมาณ ปี 1980 โรควัวบ้า (mad cow disease) หรือโรคเนื้อสมองพรุน (bovine spongiform encephalopathy, BSE) เกิดขึ้นในวัวที่เลี้ยงด้วยอาหารทำมาจากเครื่องในสัตว์ แล้วทำให้เกิดโรคพรีออน (prion diseases) หรือโรคครูท์ซเฟลด์-จาคอบ (Creutzfeldt-Jakob disease หรือ CJD) ในคนอังกฤษหลายพันคนที่กินเนื้อวัวและดื่มนมวัว และทำให้วัวในฟาร์มถูกฆ่าทิ้งจำนวนกว่าแสนตัว

 

โรคที่กำลังระบาดและทำให้คนจำนวนมากตายในประเทศเอเชีย ได้แก่ โรคหวัดนก และไก่ (avian influenza) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส H5N1 และโรคร้ายแรงอื่นๆ จากสัตว์ โรคห่วงโซ่อาหารเหล่านี้จะเพิ่มปัญหาของการทำปศุสัตว์ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพเนื่องจาก การบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้น

ด้านจิตใจ

ในศาสนาฮินดูได้มีการบันทึกไว้ว่า ในกระบวนการฆ่าสัตว์และการบริโภคเนื้อสัตว์ เป็นการเบียดเบียน (himsa) ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจที่ค่อนข้างจะซับซ้อน เคยมีการศึกษาว่า คนฆ่าสัตว์เป็นประจำมีส่วนทำให้เป็นคนมีจิตใจในทางดุร้าย ก้าวร้าว โหดเหี้ยม อาจมีผลกระทบ ต่อการฆ่ากันได้ง่าย และคนที่กินเนื้อสัตว์มากทำให้สังคมอาจวุ่นวายได้  การให้คนที่ก่อความ เดือดร้อนแก่คนอื่นและต่อสังคม เช่น เด็กวัยรุ่นและผู้ถูกคุมขังในเรือนจำ เป็นต้น หันมากินอาหารมังสวิรัติ อาจทำให้คนลดความก้าวร้าวและความวุ่นวายได้ด้วย เพื่อความสงบสุขของสังคมน่าจะมีการวิจัยด้านผลกระทบของชนิดอาหารต่อจิตใจนี้ให้มากขึ้น ถ้าเราทำให้มนุษย์มีความเมตตาต่อกัน ลดความรุนแรงทางจิตใจ ความก้าวร้าวและความวุ่นวายทางสังคมได้อีกด้วย ศาสนาฮินดูและพุทธศาสนามีการสอนว่า การฆ่าสัตว์เป็นบาปและได้รับผลกรรมในภายหลัง ทั้งด้านศีลธรรมและด้านโภชนาการ จึงเป็นแรงกระตุ้นจิตใจให้ชาวฮินดูปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตมังสวิรัติ

ในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกซ์นิกายนามธารี คริสเตียนนิกาย คริสตจักรวันเสาร์ และนิกายโบสถ์ออร์โธดอกซ์ตะวันออก (Eastern Orthodox Church) จึงสอนศาสนิกชนให้มีอหิงสา หรือไม่เบียดเบียนชีวิต คือไม่ให้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เช่น ศีลข้อที่หนื่งในศาสนาพุทธ เป็นต้น และบางศาสนาไม่ส่งเสริมการบริโภคเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นการลดการฆ่าสัตว์ โดยทางอ้อม นักบวชและศาสนิกชนที่ปฏิบัติเคร่งครัดจึงบริโภคอาหารมังสวิรัติเนื่องจากเหตุผล ทางจริยธรรมและศีลธรรมทางศาสนา เพราะว่าจิตใจเขามีความสงสารและเมตตาต่อสัตว์ ผู้ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย ไม่ต้องการให้มีการฆ่าและเบียดเบียนสรรพสัตว์ ในอดีตมีผู้นำทางจิตวิญญาณ นักคิด จิตรกร นักเขียน นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายท่านที่ส่งเสริมและ ปฏิบัติตนเป็นนักมังสวิรัติ เช่น พระพุทธเจ้า พลาโต (Plato) โสเครตีส (Socrates) ปิธาโกรัส (Pythagoras) ลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo Da Vinci) อัลเบิร์ต ชไวเซอร์ (Albert Schweitzeal จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) และ มหาตมะ คานธี รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ดังๆ เช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) โธมัส เอดิสัน (Thomas Edison) อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เป็นต้น ต่างก็เป็นนักมังสวิรัติด้วย

เนื่องจากเมื่อสัตว์ถูกฆ่าและมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง มันจะตกใจ หวาดกลัว แล้วจะหลั่งอะดรีนาลิน (adrenalin) และสารแห่งความเครียดอื่นๆ ออกมาในปริมาณสูงมากอย่าง อัตโนมัติในเนื้อสัตว์ หากรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีฮอร์โมนอะดรีนาลินที่ตกค้างประจำ ผู้บริโภคจะ ได้รับฮอร์โมนอะดรีนาลินเพิ่มด้วย ฮอร์โมนในอาหารมีผลกระตุ้นที่อาจจะทำให้ควบคุมจิตใจได้ยาก ผู้ละเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์จะไม่ได้รับฮอร์โมนอะดรีนาลินซึ่งหลั่งออกมาและติดมากับเนื้อสัตว์ ศาสดาทุกศาสนาได้สอนให้มนุษย์เรารักผู้อื่น มีเมตตา ลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละเพื่อผู้อื่น พุทธศาสนาได้สรรเสริญการไม่เบียดเบียนสัตว์เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม (สังคสูตร คาถา) และเมตตาเป็นธรรมคํ้าจุนโลก ถ้าเราอยู่ด้วยความรู้ว่าควรได้รับอะไรเท่าไรจึงจะพอ ก็ย่อมอิ่มกาย อิ่มใจ เจริญเติบโตสมบูรณ์ แข็งแรง มีสติปัญญาดี สามารถทำประโยชน์และความดีได้เต็มที่

ด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยา

การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์หรือการทำฟาร์มปศุสัตว์ เช่น วัว ควาย แกะ แพะ หมู ไก่ เป็ด กุ้ง และปลา เป็นต้น เพื่อนำเนื้อสัตว์มาเป็นอาหารแก่มนุษย์จำนวนมากได้บริโภคนั้น จะต้องมีการใช้พื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลเพื่อปลูกพืชจำนวนมากและนำพืชมาเป็นอาหาร เลี้ยงสัตว์ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวเป็นการสร้างความเสียหายของสิ่งแวดล้อมและ นิเวศวิทยาได้โดยทางตรงและทางอ้อม ในการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่จะมีการทำลายป่าไม้ มีการใช้พื้นที่และนํ้า มีการทำลายผิวดิน ทำให้มีการชะล้างปุ๋ยบนหน้าดินออกไป มีการใช้สารเคมี สารฆ่าหญ้าและสารกำจัดศัตรูพืชที่อาจตกค้างและเพิ่มสารมลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อม มีการใช้ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1908 สมาคมมังสวิรัติในประเทศต่างๆ รวมตัวกันกลายเป็นสหพันธ์มังสวิรัตินานาชาติ (International Vegetarian Union) ขึ้นมา ซี่งมีสมาชิกและเครือข่ายไปทั่วทวีปเกือบทุกประเทศทั่วโลก เช่น มีการรวมตัวเป็น สหพันธ์มังสวิรัติเอเชีย(Asian Vegetarian Union) สหพันธ์มังสวิรัติไทย (Thai Vegetarian Union) สมาคมมังสวิรัติแห่งญี่ปุ่น (Japanese Vegetarian Society) และสมาคมมังสวิรัติแห่งสิงคโปร์ (Singapore Vegetarian Society) เป็นต้น สหพันธ์มังสวิรัตินานาชาติมีการประชุมวิชาการใหญ่ของกรรมการ และสมาชิกทุก 2-3 ปี

สรุปว่า นอกจากเหตุผลทางศีลธรรมในศาสนาต่าง ๆ แล้ว เหตุผลสำคัญอื่นที่เกี่ยวข้อง การกินอาหารมังสวิรัติคือ สุขภาพทางกาย ทางจิตใจ ด้านจริยธรรม การหลีกเลี่ยงและละเว้น การฆ่าสัตว์ การเบียดเบียน ความทารุณและความโหดร้ายต่อสัตว์ ลดการส่งเสริมฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะทำให้สามารถนำอาหารธัญพืชที่เหลือจากการเลี้ยงสัตว์ไปเป็นอาหารเลี้ยง ประชากรที่ขาดแคลนอาหารและหิวโหยอีกจำนวนมาก ประหยัดทั้งทางเศรษฐกิจ และช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า