สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การทำจิตบำบัดในคนไข้ Borderline

คนไข้ประเภทนี้ เป็นคนไข้ที่รักษายากที่สุด ท้าทายภูมิปัญญา และความสามารถของนักจิตบำบัดอย่างยิ่ง นักจิตบำบัดที่อ่อนหัด หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการรักษาแบบยาวนาน หรือ Long Term นั้น ขอเรียนแนะนำว่าไม่ควรรักษาคนไข้ประเภทนี้ โดยวิธีจิตบำบัด เพราะว่า จะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวนักจิตบำบัดเอง และคนไข้ด้วย

Ego ของคนไข้ประเภทนี้ อ่อนแอและหวั่นไหวมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถอดทนต่อปัญหาของชีวิตประจำวันได้ คนไข้มักจะไล่ต้อนนักจิตบำบัดให้เข้าตาจนตลอดเวลา นอกจากนี้ คนไข้มักจะเข้าใจอะไรผิดๆ ได้ง่ายและมักจะทำเรื่องเล็กน้อย ให้เป็นเรื่องใหญ่เสมอ

Grinker (1968) ได้อธิบายลักษณะของคนไข้ประเภทนี้ ดังต่อไปนี้
1.  คนไข้จะมีอารมณ์โกรธเคือง เป็นลักษณะของอารมณ์พื้นฐาน
2. มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี เห็นแก่ตัวจัด ต้องพึ่ง หรือเป็นภาระของญาติมิตรตลอดเวลา ชอบเอาแต่ได้โดยไม่มีการตอบแทน รวมทั้งเจ้าเล่ห์ มายาสาไถย
3. ไม่มีเอกลักษณ์ที่แน่นอน หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ขาด Self-Identity
4. มีอารมณ์เศร้าจากความว้าเหว่ หรือ Loneliness ซึ่งผู้ป่วยประเภทอื่นๆ มัก จะมีอารมณ์เศร้าจาก Guilt

สำหรับสาเหตุนั้น เชื่อกันว่ามีความผิดปกติในวัยเด็กที่ใช้สำนวนภาษาอังกฤษ ว่า The basic defects in maturation and early development expressed in ego dysfunction.

ปัจจุบันนี้ จิตแพทย์พบว่า มีผู้ป่วยประเภทนี้มากขึ้นเรื่อยๆ การรักษาก็ยากมาก จิตแพทย์ส่วนใหญ่มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ยอมรักษาคนไข้ประเภทนี้โดยวิธีจิตบำบัด คนไข้มักจะมีประวัติว่า เคยได้รับการรักษาทุกชนิดมาก่อน แต่ล้มเหลว จิตแพทย์บางคนถึงกับเรียกผู้ป่วยประเภทนี้ว่า เป็นพวก “Addict” เหมือนกับพวกติดยาเสพติด รักษาไม่ได้ สมควรขังผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโรคจิตจนตลอดชีวิต เพื่อป้องกันการสร้างปัญหาให้สังคม

นายแพทย์ Chessick (1969) ได้ให้ความเห็นว่า ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเป็นโรคจิตเวชที่มีลักษณะไม่แน่นอน มักมีปัญหากับผู้เกี่ยวข้องด้วยเสมอ ผู้ป่วยหลายรายเคยต้องคดีติดคุกติดตะรางมาแล้ว มีเรื่องกับตำรวจและชาวบ้านเสมอ บางรายก็เข้าๆ ออกๆ โรงพยาบาลจิตเวชจนนับครั้งไม่ถ้วน

การวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยประเภทนี้ บางครั้งทำได้ยากมาก เพราะไม่รู้จะเรียกว่า ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เพราะว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน บางครั้ง เปลี่ยนจาก Psychotic มาเป็น Neurotic หรือเปลี่ยนจาก Neurotic มาเป็น Psychotic ภายในวันเดียว ผู้ป่วยมักจะใช้ Defenses ทุกชนิด สับเปลี่ยนไปมาอย่างสบสน ยากแก่การเข้าใจ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ที่มีประวัติแบบอันธพาล มารยาสาไถย โกหกตอแหล บางคนก็ใช้ยาเสพติดร่วมด้วย

ในผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติด จะมีลักษณะแตกต่างกับผู้ติดยาเสพติดแท้ๆ คือ ผู้ป่วยจะเลิกใช้ยาเสพติดได้เองเป็นระยะๆ ไม่ใช้ติดต่อกันตลอดเวลาเหมือนพวกติดยาเสพติดแท้ๆ นอกจากนี้ ผู้ป่วยหลายรายยังมีอาการแบบ Psychosomatic ร่วมด้วย

ถ้าได้รับการรักษาโดยวิธีจิตบำบัด ผู้ป่วยจะสร้างปัญหาอย่างร้ายแรง คือ มีอารมณ์ ไม่คงที่ ยากที่จะเดาได้ นอกจากนี้ ยังไม่มาตามเวลานัดหมาย ไม่ยอมจ่ายค่ารักษา ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ยั่วยวนทางเพศ ก้าวร้าวเกินกว่าที่จะทนได้ นักจิตบำบัดจะต้องพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงกฎเกณฑ์การรักษาอย่างน่าเบื่อหน่าย เมื่อรักษาไปได้เป็นเวลานาน นักจิตบำบัดส่วนมากมักจะยอมรับว่า หมดความสามารถ และในที่สุด ทั้งนักจิตบำบัดและผู้ป่วยมักจะมีความเห็นตรงกันว่า การรักษาไม่ได้ผลอะไรเลย ! ! !

ขณะนี้ ผู้เขียนเองกำลังพยายามรักษาคนไข้ประเภทนี้อยู่รายหนึ่ง ได้ใช้เวลารักษาไปแล้วเกือบ ๒ ปี ยังไม่ได้ผลคืบหน้าเท่าที่ควร ผู้เขียนได้รับคำแนะนำจากนายแพทย์ Ernest S. Wolf นักจิตวิเคราะห์ผู้เป็นอาจารย์ ท่านได้ให้ความเห็นว่า โรคนี้เกิดจาก Self- Object Relation Disorder และวางหลักเกณฑ์ในการรักษา ดังนี้

1. Allowing and facilitating the emergence of the archaic self-object needs in the treatment situation by providing a proper ambiance of non-interference ;

2. The emerging self-object needs will spontaneously focus on the therapist i.e. a self-object transference develops ;

3. This transference will be disrupted, often very painfully, when inevitably the therapist somehow fails to respond in precisely the manner required by the patient ;

4. This disruption is explained and interpreted in all its dimensions but particularly with reference to analogous early and presumably etiological situations with the significant persons of the past ;

5. Explanation and interpretation restore the previous harmonious self-object transference, but the mutual understanding achieved and experienced has served to replace the previously frustrated archaic self-object need with a reciprocal empathic resonance which strengthens the self.

The therapeutic process outlined above is predicated, among other factors, on the self being suffciently strong to withstand the process, and, especially, the painful disruptions of the transference, without undue regression or total and perhaps irreversible fragmentation of the self.

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังว่า นักจิตบำบัดหัดใหม่ทั้งหลาย คงจะได้รับความรู้ แนวทาง และประโยชน์ตามสมควร

ที่มา:ปราโมทย์  เชาวศิลป์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า